Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66274
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุ่นตา นพคุณ-
dc.contributor.advisorสัญญา สัญญาวิวัฒน์-
dc.contributor.authorพรทิพย์ โภไคยอุดม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-06-12T03:58:55Z-
dc.date.available2020-06-12T03:58:55Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740316247-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66274-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยทรัพยากรบริหารสี่ประการในองค์การบริหารส่วนตำบลภาคกลาง ชั้น 1 ชั้น 3 ชั้น 5 ที่มีผลต่อเทคนิควิธีการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนในศูนย์การเรียนชุมชน ศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยทรัพยากรการบริหารสี่ประการเช่นเดียวกันของศูนย์การเรียนชุมชนที่อยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น 1 ชั้น 3 ชั้น 5 โดยศึกษาเน้นเรื่อง คน คือ คุณลักษณะครูศูนย์การเรียนชุมชน และการบริหารจัดการ คือ เทคนิควิธีการสอนนอกระบบโรงเรียนที่เสริมพลังอำนาจแก่ชุมชนให้เกิดการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน รวมถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการเสริมพลังอำนาจแก่ผู้เรียนในศูนย์การเรียนชุมชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น I ชั้น 3 ชั้น 5 ศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปัจจัยทรัพยากรการ บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลกับทรัพยากรการบริหารของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนทั้งสี่ด้าน ศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของคุณลักษณะครูศูนย์การเรียนชุมชนและเทคนิควิธีการสอนนอกระบบโรงเรียนกับการเสริมพลังอำนาจแก่ผู้เรียน และศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปัจจัยทรัพยากรการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการเสริมพลังอำนาจแก่ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น 1 ชั้น 3 และ ชั้น 5 กลุ่มตัวอย่างอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วน ตำบลจำนวน 92คน ครูศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 40 คน และประชาชน จำนวน 135 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสนทนากลุ่ม และแบบวิเคราะห์เอกสาร ข้อมูลแบบสอบถามใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างงและการสนทนากลุ่มใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารจากองค์การบริหารส่วนตำบลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร สมมติฐานการวิจัยข้อ 1 คือองค์การบริหารส่วนตำบลยิ่งชั้นสูงมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีอิทธิพลมากต่อศูนย์การเรียนชุมชนในการเสริมพลังอำนาจแก่ชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนเพียงนั้น ข้อ 2 คือ ศูนย์การเรียนชุมชนที่อยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลยิ่งชั้นสูงมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีอิทธิพลมากต่อการเสริมพลังอำนาจแก่ชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนเพียงนั้น และข้อ 3 คือ ความสัมพันธ์ของปัจจัยทรัพยากรการบริหารในศูนย์การเรียนชุมชนกับในองค์การบริหารส่วนตำบลยิ่งมีมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งมีอิทธิพลต่อการเสริมพลังอำนาจแก่ชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนเพียงนั้น ผลการวิจัยพบว่า ไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยทั้ง 3 ข้อ และผลการวิจัยยังพบว่า ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น 1 ชั้น 3 ชั้น 5 ประชาชนได้รับการเสริมพลังอำนาจ ให้มีความรู้ ได้รับข้อมูลข่าวสาร โดยครูศูนย์การเรียนชุมชนควรมีมนุษยสัมพันธ์ดี และเทคนิควิธีการสอนนอกระบบโรงเรียนในศูนย์การเรียนชุมชนที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบล ครูศูนย์การเรียนชุมชน และประชาชน มีความเห็นตรงกันว่าช่วยเสริม พลังอำนาจให้แก่ผู้เรียน เพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน คือ การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนการฝึกอบรม-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the differences of necessary administrative resources 4Ms’ of Tambol Administration Organization (TAO) level 1. 3, 5, on non-formal education teaching techniques for sustainable community development; to study the differences of necessary resources 4Ms’ of Community Learning Centre (CLC) in TAO’s area level 1, 3, 5, focus on CLC - teacher characters and teaching techniques in non-formal education for sustainable community development; to study the CLC - teacher characters, non-formal education teaching techniques, and desirable teacher characters of CLC in TAO’s area level 1, 3, 5, on non-formal education for sustainable community development, and also study the relations : between necessities of administrative resources of TAO and necessities resources of CLC in 4 dimensions, between CLC – teacher characters and non-formal education teaching techniques for sustainable community development, between necessities of administrative resources of TAO and empowered people in TAO’s area level 1. 3, 5. Samples are in the Central Region. There are 92 TAO - officers, 40 CLC - teachers and 135 people. Tools are questionnaires, semi-structured interview, focus group discussion and documentary research. One-way ANOVA is used to analyze necessities of administrative resources. Data from semi-structure interview and focus group discussion are analyzed by content analysis. And to analyze TAO’s document by documentary research. Hypothesis No. 1 is the higher level of TAO, the more influence to CLC on empowering for sustainable community development. Hypothesis No. 2 is the CLC in the higher level of TAO. the more influence on empowering tor sustainable community development. And hypothesis No.3 is the more relation of necessary administrative resources of CLC and TAO, the more influence on empowering for sustainable community development. The data of this research do not confirm all hypotheses. And in TAO’s area level 1, 3, 5, good human relations character of CLC - teacher is important factor for empowering people to have knowledge and information; TAO - officers, CLC - teachers, and people agree together that non-formal education teaching technique by participation is important factors for sustainable community development.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาชุมชน -- ไทยen_US
dc.subjectการพัฒนาแบบยั่งยืน -- ไทยen_US
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียน -- ไทยen_US
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย (ภาคกลาง)en_US
dc.subjectCommunity development -- Thailand-
dc.subjectSustainable development -- Thailand-
dc.subjectNon-formal education -- Thailand-
dc.titleการเสริมพลังอำนาจด้วยการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลภาคกลางen_US
dc.title.alternativeNon-formal education empowerment for sustainable community development in Tambol Administration Organization, the central regionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornthip_po_front_p.pdf915.58 kBAdobe PDFView/Open
Pornthip_po_ch1_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Pornthip_po_ch2_p.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Pornthip_po_ch3_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Pornthip_po_ch4_p.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Pornthip_po_ch5_p.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Pornthip_po_back_p.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.