Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66316
Title: ลักษณะพฤติกรรมและรสนิยมการบริโภคข่าวสารของนิสิตนักศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
Other Titles: Information consumption behavior and taste styling among Bangkok students in information-technology age
Authors: สิรีพงศ์ สุวรรณโภคิน
Advisors: พีระ จิรโสภณ
Advisor's Email: Pira.C@chula.ac.th
Subjects: พฤติกรรมข่าวสาร -- ไทย
นักศึกษาปริญญาตรี -- ไทย
Information behavior -- Thailand
Undergraduates -- Thailand
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมและรสนิยมในการบริโภคข่าวสารผ่านสื่อต่าง ๆ ของนิสิตนักศึกษายุคเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน โดยศึกษาจากนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาแบบปิดของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน ลักษณะการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอโดยการแจกแจงค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว one-way AN OVA (F-test) ในกรณีทดสอบความแตกต่างของกลุ่มตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ (Scheffe’ test) ซึ่งประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยในส่วนของลักษณะการบริโภคสื่อและข่าวสารพบว่า นิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครเลือกอ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมากที่สุด อ่านนิตยสาร CLEO เป็นประจำมากที่สุด และฟังวิทยุคลื่นสถานี FM 95.50 VIRGIN มากที่สุด ในส่วนของการใช้บริการอินเทอร์เน็ต มีการเข้าไปใช้บริการเว็บไซด์ www.hotmail.com มากที่สุด และสำหรับบริการออดีโอเท็กซ์ นิสิตนักศึกษาเลือกใช้บริการโหลดเสียงเพลงเรียกเข้า (Ringtone) ของโทรศัพท์มือถือยี่ห้อต่าง ๆ เป็นประจำมากที่สุด สำหรับความบ่อยในการใช้สื่อ นิสิตนักศึกษามีการเปิดรับสื่อโทรทัศน์มากที่สุด โดยมีจำนวนเวลาในการใช้สื่อโทรทัศน์มากที่สุด คือมากกว่า 5 ชม./วัน นอกจากนี้นิสิตนักศึกษายังมีการใช้สื่อข่าวสารและแหล่งบันเทิงในการดูหนังฟังเพลงที่บ้านมากที่สุด โดยนิสิตนักศึกษามีความถี่ในการดูหนังฟังเพลงที่บ้านบ่อยมากเป็นประจำมากที่สุด สำหรับการรับสื่อและการรับเข่าวสารและแหล่งบันเทิงแต่ละประเภทระหว่างของไทยและของต่างประเทศ นิสิตนักศึกษามีการเปิดรับสื่อและรับรู้ข่าวสารทั้งของไทยและต่างประเทศพอๆ กัน ส่วนผลการวิจัยในการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1. นิสิตนักศึกษามีเป้าหมายในการบริโภคสารสนเทศเพื่อประโยชน์ด้านความบันเทิงสนุกสนานมากกว่าด้านสารสนเทศและความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านกำหนดอัตลักษณ์ตนเองน้อยกว่าด้านสารสนเทศและความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และด้านสังคมและวัฒนธรรม ไม่มีความแตกต่างจากเป้าหมายด้านสารสนเทศและความเแต่อย่างใด 2. นิสิตนักศึกษาให้ความสำคัญกับปัจจัยในการบริโภคสื่อโดยมาจากแรงจูงใจของลักษณะตัวสื่อเองซึ่งมีน้ำหนักมากที่สุด มากกว่าอีก 2 ด้าน คือ ปัจจัยจากการโฆษณาและปัจจัยสังคมรอบข้าง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: The objective of this research is to study students’ information consumption behavior and their taste styling during the information-technology age. Research data collected from 400 university students educating in both of state and private universities in Bangkok. This research is a survey research using questionnaire as a tool for gathering information. The results are presented in enumerating frequency, percentage, mean and standard deviation, and one-way ANOVA (F-test), and Scheffe' test, compiling by SPSS computer program. The research outcomes concerning infonnation consumption behavior and taste styling are as follows : The most chosen newspaper which the university students in Bangkok read is Thairath, the most always-read magazine is CLEO, and the most favorite radio station is FM 95.5 VIRGIN. For the Internet, www.hotmail.com is the most Website-service which university students access. For the Audio Text, Ringtone Loading Service for mobile telephones is the most used service for college students. For the frequency of media using, university students consume information through television at the highest frequency up to 5 hours per day. In addition, students tend to expose media information and entertainment at home. The research results in the part of hypothesis testing are as follows : 1. The aims of students' information consuming are more use for entertainment than the use for information and knowledge, as the statistic significance shows at p = .05 level. For the self-identification, this purpose is less than the aim of consuming for information and knowledge, as the statistic significance shows at p = .05 level. For social and cultural aspects, there is no difference from the aim of consuming for information and knowledge. 2. The most significant motivation factor of students' information consuming is from the beneficial aspect of the medium's characteristics more than other two factors which are advertising factor and social factor, as the statistic significance shows at p = .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66316
ISBN: 9745321583
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sireepong_su_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.02 MBAdobe PDFView/Open
Sireepong_su_ch1_p.pdfบทที่ 11.08 MBAdobe PDFView/Open
Sireepong_su_ch2_p.pdfบทที่ 22.54 MBAdobe PDFView/Open
Sireepong_su_ch3_p.pdfบทที่ 3922.17 kBAdobe PDFView/Open
Sireepong_su_ch4_p.pdfบทที่ 42.08 MBAdobe PDFView/Open
Sireepong_su_ch5_p.pdfบทที่ 51.66 MBAdobe PDFView/Open
Sireepong_su_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.