Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66369
Title: การพัฒนาดัชนีวัดสมรรถนะหลักภายใต้หลักการของ ISO 9000 และ GMP : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการผลิตไส้กรอก
Other Titles: Key performance indicators development based on ISO 9000 and GMP : case study of sausage industry
Authors: สุรชัย สานติสุขรัตน์
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.R@Chula.ac.th
Subjects: การควบคุมคุณภาพ
ไอเอสโอ 9000
อุตสาหกรรมอาหาร -- การควบคุมคุณภาพ
Quality control
ISO 9000 Series Standards
Food industry and trade -- Quality control
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาดัชนีวัดสมรรถนะหลักสำหรับสถานประกอบการด้านอาหารที่ต้องการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000:2000 และ GMP หรือสถานประกอบการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000:1994 เป็น ISO 9000:2000 และ GMP ในการพัฒนาดัชนีวัดสมรรถนะหลักนั้นไต้ใช้ข้อกำหนดของ ISO 9001:2000 ตั้งแต่ข้อที่ 5 ถึง 8 แล้วมาผนวกกับข้อกำหนดของ GMP โดยอาศัย Key Result Area หรือ KRA และจัดแบ่งเป็นระดับการบริหารออกเป็น 3 ระดับอันได้แก่ระดับสูง ระดับกลาง และระดับปฏิบัติการหลังจากนั้นได้นำ KRA ที่ได้ในแต่ละระดับมาจัดทำเป็นดัชนีวัดสมรรถนะหลักตามระดับการ บริหาร ซึ่งได้ดัชนีวัดสมรรถนะหลักสำหรับผู้บริหารระดับสูงจำนวน 14 ดัชนีวัดจาก 4 KRA ดัชนีวัดสมรรถนะหลักสำหรับผู้บริหารระดับกลางจำนวน 45 ดัชนีวัด จาก 11 KRA และดัชนีวัดสมรรถนะหลักสำหรับผู้บริหารระดับปฏิบัติการจำนวน 73 ดัชนีวัด จาก 13 KRA รวมทั้งสิ้น 132 ดัชนีวัด จาก 28 KRA โดยนำดัชนีวัดที่ได้นี้ไปทดลองใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตไส้กรอก จำนวนทั้งสิ้น 10 โรงงานเป็นระยะเวลา 1 เดือน และทำการทดสอบเพื่อรับรองดัชนีวัดเหล่านี้ (Validation) ด้วยการให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน ISO 9000:2000 และ GMP เป็นผู้ทบทวนจำนวน 5 คน โดยใช้ค่าเฉลี่ยระหว่างฐานนิยมของโรงงานและผู้เชี่ยวชาญนั้นเป็นตัวแทนทางสถิติ ซึ่งผลปรากฏว่าดัชนีวัดสมรรถนะหลักทั้ง 132 ดัชนีวัดนั้นมีความเหมาะสมกับอุตสาหกรรมการผลิตไส้กรอก
Other Abstract: The objectives of this thesis are to develop Key Performance Indicators (KPIs) for food industry that would like to install ISO 9000:2000 and GMP by continual improvement and to replace ISO 9000:1994. This thesis, 4 clauses of ISO 9001:2000 requirements (5 to 8) were merged with GMP requirements by Key Result Areas (KRAs) that can be divided into 3 levels of management as top, middle and operation. KRAs at each level were transformed into KPIs. There were 14 KPIs at top level (4 KRAs), 45 KPIs at middle level (11 KRAs) and 73 KPIs at other level (13 KRAs) or 132 KPIs from 28 KRAs. These KPIs were implemented for 10 sausage factories and 5 ISO 9000:2000 and GMP experts for 1 month. Questionnaires were used to collect data from factories and experts’ implementation. The implementation results showed that all KPIs were suitable for sausage industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66369
ISBN: 9740309212
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surachai_sa_front_p.pdf905.22 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_sa_ch1_p.pdf684.94 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_sa_ch2_p.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_sa_ch3_p.pdf747.68 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_sa_ch4_p.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_sa_ch5_p.pdf794 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_sa_ch6_p.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_sa_ch7_p.pdf909.58 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_sa_back_p.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.