Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67127
Title: วัฒนธรรมการบรรเลงฆ้องวงเล็ก
Other Titles: The performing culture of Khong Wong Lek
Authors: วิทยา ศรีผ่อง
Advisors: พิชิต ชัยเสรี
ฉลาก โพธิ์สามต้น
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pichit.C@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ฆ้องวง
เครื่องดนตรีไทย
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ฆ้องวงเล็กเป็นผลผลิตจากความคิดของบรรพบุรุษไทย ที่ถ่ายทอดในอนุชนรุ่นต่อมาได้ใช้ประโยชน์ มีวิวัฒนาการและพัฒนาต่อเนื่องจนเป็นวัฒนธรรมประจำชาติแขนงหนึ่งพบว่าเริ่มสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนองที่ทำมาจากโลหะ มีวิวัฒนาการโดยอาศัยโครงสร้างมาจากฆ้องวงใหญ่แต่แตกต่างกันที่ขนาดซึ่งจะเล็กกว่าและมีจำนวนของลูกฆ้องมากกว่า ทำให้เกิดเสียงด้วยการตีโดยใช้ไม้ 2 ชนิด คือ ไม้นวม และไม้หนัง มีบทบาทหน้าที่และวิธีบรรเลงคือบรรเลงร่วมไปกับวงดนตรีและทำหน้าที่คอยเป็นผู้ช่วยให้กับระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่ใช้วิธีการบรรเลงโดยการแบ่งมือให้มีความสมดุล และเท่าๆ กัน ประกอบกับใช้กลวิธีพิเศษได้หลายชนิด เช่น กรอด กรุบ ปริบ โปรย เพื่อให้เกิดอรรถรสในการบรรเลงเพิ่มมากขึ้น จากการวิจัยพบว่าฆ้องวงเล็กมีระเบียบวิธีการแปรทำนองโดยมีหลักให้แปรทำนองโดยใช้การตีเก็บในลักษณะสับ-ซอย และสะบัด ขยี้ เป็นบรรทัดฐานในการสร้างทางของตนเอง การแปรทำนองสำนวนวรรคถามและวรรคตอบต้องเป็นชนิดเดียวกัน สามารถใช้การแปรทำนองแบบขึ้นสุดลงสุด หรือแบบเกาะเกี่ยวไปกับเนื้อทำนองหลัก หรือแบบอิสระตามความเหมาะสมของประเภทเพลง ส่วนวิธีในการแปรทำนองของฆ้องวงเล็กพบว่ามีขอบเขตให้แปรทำนอง 1 วรรคต่อ 1 สำนวนกลอน การผูกกลอนในแต่ละวรรคใช้สำนวนกลอนผูกขึ้น สำนวนกลอนผูกลง หรือสำนวนกลอนผูกขึ้นและผูกลง ตามโอกาสและความเหมาะสมกับทำนองของเนื้อทำนองหลักเป็นสำคัญ
Other Abstract: The Performing Culture of Khong Wong Lek was produced from the Thai Ancestor's conception which given to the new generation for advantage. There has been changed and developed to continue until to be a national culture. It is found that beginning to build during Rama 3 of Ratanakosin as a melodic instrument in which is made of metal. It has been changed under Khong Wong Yai’s structure. It is different from its dimension which will be smaller and more Khongs and caused the strike’s sound with 2 kinds of hard and soft mallet provided the role and produced music with assisted the Ranad-Ek and Khong Wong Yai. The use of producing music divided the hand to equilibrium and equally with a strategy in variety of skill such as the Grod, Grup, Prip and Proey for more pleasure. It is found that Khong Wong Lek follows up its procedure of melody interpretation in Sub-Soi and Sabud-Kayee as self-performative criteria. The antecedent and consequence must be the same category and abled to interpret a manner up and down or complied with a main context or independent with regard to its appropriation of the song. Whereas, the method in interpretating a melody of the Khong Wong Lek is found that it has a limitation manner phrase per phrase of its usage with upward, downward and fluctuation as to the opportunity and consistency with a main melody.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67127
ISBN: 9746378023
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vittaya_sr_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ992.2 kBAdobe PDFView/Open
Vittaya_sr_ch1_p.pdfบทที่ 11.21 MBAdobe PDFView/Open
Vittaya_sr_ch2_p.pdfบทที่ 21.97 MBAdobe PDFView/Open
Vittaya_sr_ch3_p.pdfบทที่ 34.63 MBAdobe PDFView/Open
Vittaya_sr_ch4_p.pdfบทที่ 44.1 MBAdobe PDFView/Open
Vittaya_sr_ch5_p.pdfบทที่ 51.21 MBAdobe PDFView/Open
Vittaya_sr_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก753.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.