Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67188
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีศักดิ์ บุญเกิด-
dc.contributor.authorชุติมา นิยมดี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialจังหวัดเลย-
dc.date.accessioned2020-07-22T03:17:05Z-
dc.date.available2020-07-22T03:17:05Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67188-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractได้สำรวจความหลากหลายของเทอริโดไฟต์จากเขาหินปูน ที่สวนหินผางาม อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 14.4 กม.2 และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 500-850 ม. โดยกำหนดเส้นทางเก็บตัวอย่างให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดจำนวน 16 เส้นทาง เก็บรวบรวมตัวอย่าง เทอริโดไฟต์ ได้ทั้งหมด 134 ตัวอย่าง สามารถจำแนกได้ 63 ชนิด ใน 29 สกุล 14 วงศ์ ในจำนวนนี้พบ ไลโคไฟต์ เพียง 1 สกุล คือ Selaginella ซึ่งสามารถจำแนกได้ 4 ชนิด ที่เหลือเป็นเฟิร์น จำนวน 59 ชนิด ใน 28 สกุล 14 วงศ์ โดยพบว่า Selaginella meirei, Adiantum capillus-junonis และ Asplenium cardiophyllum เป็นเทอริโดไฟต์ที่พบครั้งแรกของประเทศไทย ที่ผ่านมามีการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศต่อลักษณะกายวิภาคศาสตร์ของพืชน้อยมาก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะกายวิภาคศาสตร์ของแผ่นใบเฟิร์นที่ขึ้นบนเขาหินปูนว่ามีการปรับตัวตอบสนองต่อถิ่นอาศัยที่แตกต่างกันอย่างไร โดยเปรียบเทียบลักษณะกายวิภาคศาสตร์ของเฟิร์นชนิดเดียวกันที่เจริญบนเขาหินปูนในฤดูฝนและฤดูแล้ง และที่เจริญในถิ่นอาศัยอื่นที่มีความชื้นตลอดปี เฟิร์นที่นำมาศึกษาในครั้งนี้มี 5 ชนิด คือ Adiantum malesianum, Antrophyum callifolium, Microsorum punctatum, Pyrrosia lanceolata และ P. stigmosa จากการศึกษาพบว่าความกว้างของคอร์เทกซ์และเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นของเฟิร์นเป็นลักษณะที่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาศึกษาการปรับตัวตอบสนองต่อสภาพแห้งแล้ง แต่พบว่าความหนาของแผ่นใบ ความหนาของผิวเคลือบคิวตินรวมกับผนังเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิว ความหนาของชั้นแพลิเซด รวมถึงค่าดัชนีความหนาแน่นของปากใบของเฟิร์นชนิดเดียวกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติขึ้นกับถิ่นอาศัย P. lanceolata และ P. stigmosa เป็นเฟิร์นเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่เนื้อเยื่อชั้นมีโซฟิลล์ มีลักษณะต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่ารูปแบบและตำแหน่งของปากใบมีความแปรผันขึ้นกับชนิดของเฟิร์นen_US
dc.description.abstractalternativePteridophyte diversity was explored from limestone hills at Suan Hin Pha Ngam, Amphoe Nong Hin, Loei province. The studied area is approximately 14.4 km2 and ranging in altitudes from 500 to 850 m a.m.s.l. Sixteen collecting routes were assigned to cover the whole area. The total of 134 specimens were collected and were sorted into 63 species in 29 genera and 14 families. The only lycophytes in the studied area is Selaginella which include 4 species. The other 59 species from 28 genera and 13 families are ferns. Selaginella meirei, Adiantum capillus-junonis and Asplenium cardiophyllum are new records for Pteridophyte Flora of Thailand. Few studies have been carried out so far to investigate impacts of climate change on plant anatomy. The aim of this research is to examine how leaf anatomy of calciphytes respond to different habitat conditions, comparing anatomical traits of the same fern species growing in limestone hill during rainy and drought seasons and in moist and shady areas of another habitats. Fern species examined in this study include Adiantum malesianum, Antrophyum callifolium, Microsorum punctatum, Pyrrosia lanceolata and P. stigmosa. It was found that width of cortex and rhizome diameter not suitable for further study in the adaptive response to drought. In contrast, thickness of lamina, thickness of cuticle and epidermal cell wall, thickness of palisade cell and stomatal index of the same species are statistically different among different habitat conditions. Pyrrosia lanceolata and P. stigmosa are the only two fern species that have heterogeneous mesophyll. In addition, stomatal types and position of guard cells are varied among the studied species.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความหลากหลายของชนิดพันธุ์ -- ไทย -- หนองหิน (เลย)en_US
dc.subjectเทอริโดไฟตา -- ไทย -- หนองหิน (เลย)en_US
dc.subjectเฟิน -- ไทย -- หนองหิน (เลย)en_US
dc.subjectSpecies diversity -- Thailand -- Nong Hin (Loei)en_US
dc.subjectPteridophyta -- Thailand -- Nong Hin (Loei)en_US
dc.subjectFerns -- Thailand -- Nong Hin (Loei)en_US
dc.titleความหลากหลายของเทอริโดไฟต์และลักษณะกายวิภาคศาสตร์ของเฟิร์นบางชนิดจากเขาหินปูนที่สวนหินผางาม อำเภอหนองหิน จังหวัดเลยen_US
dc.title.alternativePteridophyte diversity and anatomical characters of some ferns from limestone hills at Suan Hin Pha Ngam, Amphoe Nong Hin, Loei Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพฤกษศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutima_ni_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.08 MBAdobe PDFView/Open
Chutima_ni_ch1_p.pdfบทที่ 1669.53 kBAdobe PDFView/Open
Chutima_ni_ch2_p.pdfบทที่ 21.32 MBAdobe PDFView/Open
Chutima_ni_ch3_p.pdfบทที่ 31.11 MBAdobe PDFView/Open
Chutima_ni_ch4_p.pdfบทที่ 49.49 MBAdobe PDFView/Open
Chutima_ni_ch5_p.pdfบทที่ 51.41 MBAdobe PDFView/Open
Chutima_ni_ch6_p.pdfบทที่ 6756.45 kBAdobe PDFView/Open
Chutima_ni_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.