Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67568
Title: การจัดการเพื่อทำให้ไม่มีข้อร้องเรียนจากลูกค้า : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ถุงปัสสาวะ
Other Titles: Zero complaint management : a case study of urine bags
Authors: รุ่งฤดี นนทรีย์
Advisors: ประเสริฐ อัครประถมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การร้องเรียน
ถุงปัสสาวะ
การควบคุมคุณภาพ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การจัดการเพื่อทำให้ไม่มีข้อร้องเรียนจากลูกค้าในงานวิจัยนี้จะมีเป้าหมายเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตรงตามข้อกำหนด โดยไม่เพิ่มของเสียในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดนี้จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ลูกค้า และเมื่อลูกค้าได้รับความเดือดร้อนจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวลูกค้าก็จะไม่ต้องการผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนั้น ๆ อีกต่อไป นอกจากนั้นความเดือดร้อนนี้ยังจะถูกกล่าวขานกันออกไป ทำให้ชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์เสียหาย ดังนั้นในงานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นเพื่อหาวิธีการจัดการเพื่อท้าให้ไม่มีข้อร้องเรียนจากลูกค้า การจัดการเพื่อทำให้ไม่มีข้อร้องเรียนจากลูกค้าในงานวิจัยนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การปฏิบัติการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนที่ได้รับจากลูกค้าเพื่อทำให้ไม่มีข้อร้องเรียนแบบเดิมซ้ำขึ้นอีก และการปฏิบัติการป้องกันเพื่อทำให้ไม่มีข้อร้องเรียนแบบใหม่เกิดขึ้น ในการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนจะท้าโดยการสืบสวนหาสาเหตุที่แท้จริงของข้อร้องเรียนและวางแผนการปฏิบัติการแก้ไข จากนั้นจะนำแผนการปฏิบัติการแก้ไขไปปฏิบัติแล้วติตตามผล วงจร PDCA นี้ จะหมุนไปจนกว่าจะไม่พบปัญหาเดิมซ้ำขึ้นอีก ส่วนการปฏิบัติการป้องกันจะเริ่มที่การทำการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบของกระบวนการ (FMEA) ก่อน ผลที่ได้จากการวิเคราะห์สามารถนำมาปรับปรุงกระบวนการได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำผลการวิเคราะห์มาวางแผนการตรวจสอบและทดสอบได้ สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่ถูกตรวจพบในระหว่างกระบวนการจะต้องทำการปฏิบัติการแก้ไขโดยด่วนเพราะเราจจะทำให้เกิดข้อร้องเรียนแบบใหม่จากลูกค้าได้ เครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกาหนดในการวิจัยนี้ คือ ในตารางตรวจสอบและแผนภูมิแสดงเหตุและผล หรือแผนภูมิก้างปลาส่วนการปรับปรุงกระบวนการจะใช้แนวคิดของ Mistake-proofing เป็นหลัก นอกจากนั้นการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะใช้วิธีการขอการควบคมภาพเชิงสติ ผลงานวิจัยพบว่าสามารถลดข้อร้องเรียนจากลูกค้าที่เกิดเนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกกำหนดลงจาก 10.24 ส่วนในล้านส่วนในช่วงเดือนตุลาคม 2540 ถึงเดือนมีนาคม 2541 ซึ่งเป็นช่วงก่อนทำงานวิจัย จนเป็น 0 ในช่วงเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน 2541 ซึ่งเป็นช่วงที่ทำการวิจัย
Other Abstract: The objective of the research in Zero Complaint Management is to manufacture the conformed products by not increasing defective in the process. Customers will be upset with nonconforming products and will not want to use the same Name brand product anymore Furthermore, bad news will be spreaded which will effect the Name brand in short, the objective of this research to search for the management that will lead to the Zero Complaint. Zero Complaint Management in this research can be divided into 2 parts, First, corrective action against the complaint from customers in order to prevent the recurrence. Second preventive action in order to prevent new complaint from customers. First part, any complaint from customers will be investigated from cause, that corrective action can be planned. Alter such implement and follow up that corrective actions effective. POCA circle will be rotated until the recurrence is not found. Preventive action will be started from failure mode and effect analysis (FMEA). The result of FMEA will lead to process improvement. Inspection and testing plan can be made as needed. Corrective actions must implement immediately in order to prevent any new complaint from customers after the observation during the process. Check sheet and Cause and Effect diagram will be applied for the main cause analysis in this research. Mistake-proofing systems will also be applied to the process for improvement. In addition, SQC will also be applied to control the quality of the products. The result of the research showed the decrease in the complaint from customers, from 10:24 ppm. during October 1998 to March 1999 which is the period before he research, to 0 during April to June 1999, which is the period of our research.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67568
ISBN: 9743342834
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungrudee_no_front_p.pdf998.76 kBAdobe PDFView/Open
Rungrudee_no_ch1_p.pdf679.75 kBAdobe PDFView/Open
Rungrudee_no_ch2_p.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Rungrudee_no_ch3_p.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Rungrudee_no_ch4_p.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
Rungrudee_no_ch5_p.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Rungrudee_no_ch6_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Rungrudee_no_back_p.pdf12.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.