Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67874
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรา พงศาพิชญ์ | - |
dc.contributor.author | อุษา ศรีพานิช | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-09-14T02:24:04Z | - |
dc.date.available | 2020-09-14T02:24:04Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.isbn | 9746395114 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67874 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 | - |
dc.description.abstract | การศึกษา เรื่อง ประวัติชีวิตของชายแปลงเพศนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึกว่าพวกเขามีการให้ความหมาย การยอมรับในความเป็นกะเทยและลำดับขั้นของการพัฒนาไปเป็นชายรักร่วมเพศที่ต้องการแปลงเพศได้อย่างไรโดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ประวัติชีวิตแบบเจาะลึกและสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความคิดทัศนคติ ของพวกเขามากที่สุด ในส่วนของการวิเคราะห์นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 หลักใหญ่ๆ คือ 1. การให้ความหมายแก่ตนเอง ชายแปลงเพศจะได้รับการนิยามการเป็นกะเทยของตนเองจากการปฏิสังสรรค์กับบุคคลรอบข้าง ที่มีพฤติกรรมเป็นกะเทยเหมือนกับพวกเขาเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับการยอมรับของบุคคลอื่นที่มีต่อการเป็นกะเทยของพวกเขาทำให้พวกเขามีความแน่ใจและมั่นใจที่จะดำรงความเป็นกะเทยของตนเองไว้ จนกระทั่งตัดสินใจแปลงเพศ 2. กระบวนการพัฒนาไปสู่การเป็นชายแปลงเพศ เป็นกระบวนการที่แสดงให้เห็นขั้นตอนของการพัฒนาไปเป็นชายแปลงเพศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนของการเกิดความรู้สึกว่าตนแตกต่างจากผู้อื่น เป็นขั้นตอนแรกที่ชายแปลงเพศรู้สึกว่าตนเองมีพฤติกรรมไม่เหมือนกับผู้ชายคนอื่นๆ แต่ยังไม่ให้ความสนใจมาก 2) ขั้นตอนการแยกความรู้สึกและการกระทำออกจากเอกลักษณ์ ในขั้นนี้ชายแปลงเพศจะรู้แล้วว่าพวกเขามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องต่อการมีเอกลักษณ์ทางเพศเป็นชาย แต่พวกเขาก็ได้มีสิ่งที่ช่วยให้พวกเขาเกิดความพึงพอใจในการมีพฤติกรรมนั้นต่อไป คือมีการปฏิสังสรรค์กับบุคคลที่มีความโน้มเอียงไปทางการเป็นรักร่วมเพศเหมือนตนเองเป็นประจำสม่ำเสมอหรือในบางรายอาจจะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ชายในขั้นตอนนี้ด้วย ซึ่งทำให้พวกเขาประทับตราการเป็นรักร่วมเพศของตนเองต่อไป 3) ขั้นตอนของการเปิดเผยตัว เมื่อชายรักร่วมเพศมีความแน่ใจในการเป็นรักร่วมเพศของตนเองแล้ว พวกเขาจึงเริ่มให้นิยามตนเองว่าเป็นผู้รักร่วมเพศ และเริ่มเข้าสู่วัฒนธรรมย่อยของผู้รักร่วมเพศ มีการแสดงออกทางพฤติกรรมชัดเจนขึ้นเป็นที่เปิดเผยต่อคนรอบข้าง ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาทั้งให้การยอมรับและไม่ยอมรับแต่จากการศึกษานี้กลุ่มชายรักร่วมเพศจะให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่ให้การยอมรับพวกเขามากกว่า จึงทำให้พวกเขามีความพอใจในความเป็นรักร่วมเพศ และยอมประทับตราตนเองเป็นชายรักร่วมเพศที่ต้องการแปลงเพศ 4) ขั้นตอนของการยึดมั่นผูกพัน เมื่อถึงขั้นตอนนี้ ชายรักร่วมเพศได้มีการใช้ชีวิตในฐานะของการเป็นชายรักร่วมเพศที่ต้องการแปลงเพศมาระยะหนึ่งแล้วโดยมีบทบาทเป็นผู้หญิงในทุกด้าน และได้รับการยอมรับจากบุคคลรอบข้าง จึงมีความมั่นใจที่จะดำเนินชีวิตในลักษณะของผู้หญิงคนหนึ่งต่อไป และเมื่อมีความพร้อมแล้วจึงได้เข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศ | - |
dc.description.abstractalternative | The objective of the study is to understand the perspectives and feelings of male transsexuals. Particularly, it focuses on how they think and accept transsexualism and developmental processes of becoming homosexuals with a desire of having their sex change. Qualitative methods was used for data collection through in-depth interviews and participant observation. The analyses is divided into 2 dimensions. 1. In term of self-perception, male transsexuals define their homosexuality through socializing with acquaintances who act like them. In addition, other people's acceptance of their homosexuality encourages them to keep their transsexual characteristics until the decision to have their sex change is made. 2. Developmental process of becoming male transsexuals is classified into 4 steps. 1) The step of differentiating from others. It is the phase when male homosexuals perceive themselves as different from other men. However, they do not pay much attention to their behavior. 2) The step of distinguishing the feeling and behavior from male identity. In this phase, these male homosexuals realize that their behavior do not fit their male identity. But they are satisfied to continue to socialize with homosexuals. Some may have homosexual relationship with men. 3) The step of identification. When they are confident of their homosexuality, they start to define themselves as homosexuals and get into the subculture of homosexual groups. Their homosexual personality become more obvious to others. This results in positive and negative reactions. However the informants in this study are satisfied with their identification of homosexuality. 4) The step of commitment. These homosexuals are committed and satisfied with women identity after getting acceptance from others. This stage is followed by transsexual surgery. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ผู้แปลงเพศ | - |
dc.subject | การแปลงเพศ | - |
dc.subject | กะเทย | - |
dc.subject | รักร่วมเพศ | - |
dc.subject | เอกลักษณ์ทางเพศ | - |
dc.title | ประวัติชีวิตของชายแปลงเพศ | - |
dc.title.alternative | Life histories of male transsexuals | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | มานุษยวิทยามหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | มานุษยวิทยา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
U-sa_sr_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 862.21 kB | Adobe PDF | View/Open |
U-sa_sr_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 848.86 kB | Adobe PDF | View/Open |
U-sa_sr_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
U-sa_sr_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 845.4 kB | Adobe PDF | View/Open |
U-sa_sr_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
U-sa_sr_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
U-sa_sr_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 711.02 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.