Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67989
Title: ดนตรีไทยร่วมสมัยกับอัตลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Thai contemporary music and identnity of social obligation of ChulalongkornUuniversity's students
Authors: กรพินธุ์ จารุวร
Advisors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Orawan.P@Chula.ac.th
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นักศึกษา
ดนตรีไทย
การรับรู้ตนเอง
อัตลักษณ์
ปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์
Chulalongkorn University -- Students
Identity (Philosophical concept)
Symbolic interactionism
Self-perception
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้ประโยชน์จากดนตรีของผู้รับสารและอัตลักษณ์ของบุคคล โดยมุ่งประเด็นอัตลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การวิจัยครั้งนี้มีพื้นฐานมาจากกรอบแนวคิดของทฤษฎี ปฏิสังสรรค์สัญลักษณ์ (Symbolic interactionism) และทฤษฎีการใช้สื่อเพื่อประโยชน์และความพึงพอใจ (Media Uses and Gratification) ในการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากแทบทุกคณะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยวิธีสุ่มแบบโควต้า ทั้งคนที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมจำนวน 32 คน ทั้งนี้เชื่อว่ากลุ่มแรกมีแนวโน้มที่ตระหนักในอัตลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของตนเองสูงกว่ากลุ่มที่สอง และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยตอบคำถามการวิจัยว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีแนวโน้มของระดับ อัตลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมแตกต่างกันเปิดรับดนตรีหลายหลายประเภทไม่แตกต่างกัน เขานำดนตรีมาใช้ประโยชน์ทั้งเพื่อความบันเทิง, การบูรณาการและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ข้อมูลข่าวสารและเพื่อสนับสนุนอัตลักษณ์ส่วนบุคคล นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างใช้ประโยชน์จากดนตรีในแง่เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจ เช่นเพื่อความบันเทิง เพื่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากกว่าเพื่อการสร้างหรือสนับสนุนอัตลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม งานวิจัยชิ้นนี้ไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการใช้ดนตรีเพื่อสุนทรียภาพและเพื่อวัตถุประสงค์เชิงสังคมกับ อัตลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคคล
Other Abstract: The purpose of this research was to investigate the relationship between the audience’s use of music and his/her identity. particularly on the social obligation identity. This study was based on two theoretical frameworks: (1) Symbolic interactionism, and (2) Media uses and gratification. In this qualitative study. 32 participants at Chulalongkorn University were chosen by quota sampling technique. They specifically were those who had participated and those who had not participated in social development activites. The former were believed to be more concerned about social obligation identity. while the latter were believed not to be concerned as much as the former. The data were gathered by survey questionnaires and in-depth interviews. The result answered the research questions that both groups of participants who differed in social obligation identity were exposed to the same kinds of music. Reportedly they utilized music for certain purposes: (1) entertainment, (2) social interactions with others, (3) information collection, and (4) personal identity enhancement. Particularly, they, however, were exposed to music to fulfill their other needs and satisfactions (i.e. entertainment and social integration) rather than “social obligation” identity construction / enhancement. Hence, music uses for esthetic and social purposes were found to be hardly related to “social obligation” identity of the participants.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67989
ISBN: 9746397869
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Korapin_ch_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ984.47 kBAdobe PDFView/Open
Korapin_ch_ch1_p.pdfบทที่ 11.51 MBAdobe PDFView/Open
Korapin_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.74 MBAdobe PDFView/Open
Korapin_ch_ch3_p.pdfบทที่ 31.21 MBAdobe PDFView/Open
Korapin_ch_ch4_p.pdfบทที่ 44.72 MBAdobe PDFView/Open
Korapin_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.09 MBAdobe PDFView/Open
Korapin_ch_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.