Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68021
Title: | รูปแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ : วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง |
Other Titles: | Modern Thai architecture : construction materials and technology |
Authors: | เชษฐา พลายชุม |
Advisors: | วิมลสิทธิ์ หรยางกูร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรม -- ไทย วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากการพยายามสืบสานเอกลักษณ์ไทยในงานสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ พบว่ารูปแบบของสถาปัตยกรรมมีแนวโน้มเป็นสากลมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาแทนวัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีเก่า เพื่อให้มีความสอดคล้องกับยุคสมัยและวิถีชีวิตในสังคมปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนในแนวทางการออกแบบเพื่อการพัฒนาสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ที่เหมาะสม โดยเฉพาะในแง่การใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องควบคู่กับ "รูปแบบ" สถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ที่เหมาะสม และเป็นที่ยอมรับของสถาปนิกและบุคคลทั่วไปซึ่งมีประสบการณ์ทางสถาปัตยกรรมแตกต่างกัน การวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาทฤษฎีและเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ควบคู่กับการสำรวจรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ ในแง่การใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีทั้งในอดีตและในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดประเด็นการศึกษาและการสร้างภาพจำลองโดยคอมพิวเตอร์ สำหรับใช้ในการจัดทำแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มสถาปนิกและกลุ่มบุคคลทั่วไปกลุ่มละ 150 คน โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบลักษณะไทยและความเหมาะสมที่ปรากฎในภาพระหว่างภาพจจริงกับภาพจำลอง ตลอดจนการศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้และการยอมรับลักษณะไทยระหว่างกลุ่มสถาปนิกกับกลุ่มบุคคลทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า การใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในงานสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ เฉพาะที่มีลักษณะไทยเด่นชัด ล้วนมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับรูปแบบที่มีการใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีอย่างที่ปรากฎในอดีตทั้งจากการใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีเก่าและจากการใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีใหม่ ที่มีการประยุกต์หรืออิงหลักการใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีอย่างในอดีต ซึ่งโดยรวมเรียกว่า "การใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแบบเก่า" ส่วนการใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแบบใหม่ (แบบสากล)จะไม่แสดงลักษณะไทยที่เด่นชัดนัก เมื่อพิจารณาในแง่ความเหมาะสมพบว่า การใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นแบบเก่าหรือแบบใหม่ ขึ้นอยู่กับรูปแบบอาคารที่สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยและประเภทของอาคาร ที่ตั้ง เป็นต้นแสดงว่าแนวทางพัฒนาสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ จำเป็นต้องพัฒนารูปแบบการใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการสืบสานและสอดคล้องกับลักษณะไทยในอดีตและควรพัฒนาควบคู่ไปกับรูปแบบอาคารในภาพรวม ในขณะเดียวกันพบว่า ทั้งกลุ่มสถาปนิกและกลุ่มบุคคลทั่วไปยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันในลักษณะไทยจากการใช้วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีบางประการ ย่อมแสดงว่า ทั้งสองกลุ่มมีประสบการณ์ที่เป็นตัวกำหนดการรับรู้และยอมรับลักษณะไทยที่แตกต่างกัน ดังนั้นการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของสถาปนิกควรคำนึงถึงความแตกต่างดังกล่าว เพื่อให้รูปแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่เป็นที่ยอมรับทั้งในวงการสถาปนิกและบุคคลทั่วไปได้มากยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | In the endeavor to conserve the uniqueness of Thai architecture and to apply it into modern Thai architecture, it was found that the current Thai architecture has a trend to move towards modern, global architecture. One of the reasons is due to the use of new construction materials and technology in order to meet the need of modern living and lifestyle. Nevertheless, there is still ambiguity in terms of the development of modern Thai architecture. This is partly due to the different levels of perception and acceptance when applying Thai architectural characteristics to buildings with modern construction materials and technology. This research has studied the theory and relevant-topics together with a survey focusing on the use of construction materials and technology in both past and current Thai architectures. The result of the survey is then used to make simulated models to be applied with questionnaires targeting architects and general people (150 each). The aim of this research is to compare Thai characteristics and its related suitability value arising from using construction materials and technology between the actual and virtual perception of Thai architecture. It is also aimed at comparing the perception and acceptance of the Thai characteristics between the two target groups. The study has shown as follows: Firstly, when construction materials or technology that have prominent Thai characteristics are used in modern Thai architecture, the "style" of architecture tends to be similar to the "old-style" Thai architecture regardless of "new" or "old" construction materials and technology being used. This design may be called "the relevant use of old-style construction materials and technology." On the other hand, the use of new (modern) construction materials and technology does not have obvious results in terms of expressing the Thai characteristics. Secondly, the suitability value of Thai architecture depends on the functionality of the design. This means that in modern Thai architecture, the design will have to be developed such that the Thai style features of using "old-style" construction materials and technology and its functionality are harmonized in the final design. Thirdly, it was found that architects and general people share different opinions towards the Thai characteristics with regards to the use of construction materials and technology. The "perception and "acceptance" between the two target groups are governed by their past experiences. Finally, it is concluded that while designing modern Thai architecture, architects should be aware of these differences so that modern Thai architecture will be widely accepted by both architects and general people. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68021 |
ISBN: | 9743314903 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chetha_pl_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chetha_pl_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 942.13 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chetha_pl_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 3.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chetha_pl_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 3.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chetha_pl_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 689.98 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chetha_pl_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 6.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chetha_pl_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chetha_pl_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 3.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.