Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68128
Title: | การศึกษาฮีตพัมป์ในการทำน้ำร้อนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์และสารเก็บความร้อนแบบเปลี่ยนสถานะ |
Other Titles: | A study of heat pump in hot water making by using solar energy and phase-change thermal storage |
Authors: | ชายชาญ นาวิกนิเวท |
Advisors: | ฤชากร จิรกาลวสาน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ปั๊มความร้อน ความร้อน พลังงานแสงอาทิตย์ น้ำร้อน |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาฮีตพัมป์ในการทำน้ำร้อน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์และสารเก็บความร้อนแบบ เปลี่ยนวัฏภาคโดยวิธีการจำลองการทำงานในสภาวะเงื่อนไขสม่ำเสมอ และการทดลองโดยใช้อุปกรณ์ซึ่งประกอบไปด้วย คอมเพรสเซอร์ เครื่องควบแน่น เครื่องระเหย ถังสะสมความร้อน (บรรจุกรดพาล์มมิติกในท่อเหล็ก และท่อถูกบรรจุในถังอีกทีหนึ่ง) ตัวเก็บรังสีแบบแผ่นราบ ลิ้นการขยาย ทั้งนี้ระบบดังกล่าวจะนำตัวเก็บรังสีแบบแผ่นราบต่ออนุกรมกับถังสะสมความร้อน และต่ออนุกรมฮีตพัมป์อีกทีหนึ่ง โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระบบ คือ ระบบที่ไม่มีการสะสมความร้อน และระบบมีการสะสมความร้อน ในการศึกษาวิจัยได้ออกแบบและสร้างชุดทดลอง โดยใช้ชุดทำน้ำร้อนด้วยไฟฟ้าแทนตัวเก็บรังสีแบบแผ่นราบ โดยพิจารณาขนาดของอุปกรณ์ทั้งหมดต่อ 0.5 ตารางเมตร ของตัวเก็บรังสีแบบแผ่นราบ การศึกษาฮีตพัมป์แบบไม่มีการสะสมความร้อนในสภาวะเงื่อนไขสม่ำเสมอ จะกำหนดอัตราการไหลโดยมวลของน้ำที่ไหลผ่านเครื่องระเหยคงที่ที่ 25.2 ลิตรต่อชั่วโมง และกำหนดความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์คงที่ อุณหภูมิของน้ำที่ไหลเข้าเครื่องระเหยจะถูกปรับทีละระดับ ทั้งหมด 8 ระดับ โดยให้อุณหภูมิอยู่ในช่วง 30-65 องศาเซลเซียส ผลการทดลองสรุปได้ว่าสามารถทำน้ำร้อนที่เครื่องควบแน่นมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 70.4-84.1 องศาเซลเซียส ที่อัตราการไหลโดยมวลคงที่ที่ 18 ลิตร ต่อชั่วโมง และพบว่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะการทำงานของฮีตพัมป์จะมีค่าอยู่ในช่วง 3.6-4.8 และจากผลการจำลองการทำงาน ในสภาวะเงื่อนไขสม่ำเสมอ พบว่าน้ำร้อนที่เครื่องควบแน่นมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 72.47-91.17 องศาเซลเซียส ที่ระดับนัยสำคัญเชิงสถิติที่สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ 0.89 โดยเปรียบผลกับการทดลอง และสัมประสิทธิ์สมรรถนะการทำงานของฮีตพัมป์มีค่า อยู่ในช่วง 3.64-4.96 ที่ระดับนัยสำคัญเชิงสถิติที่สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ 0.66 โดยเปรียบเทียบกับผลการทดลอง และจากผลการทดลองพบว่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะการทำงานของฮีตพัมป์ไม่มีความสัมพันธ์กับความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของน้ำที่ไหลเข้าเครื่องระเหยและสารทำความเย็นที่ไหลเข้าเครื่องระเหย ที่ระดับนัยสำคัญเชิงสถิติที่สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ 0.276 สำหรับการศึกษาฮีตพัมป์แบบมีการสะสมความร้อนในสภาวะเงื่อนไขไม่สม่ำเสมอ พารามิเตอร์ต่าง ๆ เหมือนกับการศึกษาฮีตพัมป์แบบไม่มีการสะสมความร้อนในสภาวะเงื่อนไขสม่ำเสมอ ยกเว้นอุณหภูมิของน้ำที่ไหลเข้าถังสะสมความร้อน จะถูกกำหนดตามเวลาที่กำหนดขึ้น โดยพิจารณาอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำในถังสะสมความร้อน จากผลการทดลองสรุปได้ว่า สามารถทำน้ำร้อนที่เครื่องควบแน่นมีอุณหภูมิในช่วง 67.3-97.3 องศาเซลเซียส และพบว่าสมรรถนะการทำงานของฮีตพัมป์มีค่าอยู่ในช่วง 3.4-5.7 และพบว่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะการทำงานของฮีตพัมป์ไม่มีความสัมพันธ์กับความแตกต่างระหว่าง อุณหภูมิของน้ำที่ไหลเข้าเครื่องระเหยและสารทำความเย็นที่ไหลเข้าเครื่องระเหย ที่ระดับนัยสำคัญเชิงสถิติที่สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ 0.23 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาฮีตพัมป์แบบไม่มีการสะสมความร้อนในสภาวะเงื่อนไขสม่ำเสมอ และเมื่อพิจารณา อุณหภูมิของน้ำที่ไหลเข้าและไหลออกจากถังสะสมความร้อนพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน ที่ระดับนัยสำคัญเชิงสถิติที่สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ 0.29 |
Other Abstract: | This research was a study of heat pump in hot water making by using solar energy and phase-change thermal storage. It was an experiment and a simulation. The unsteady state condition wasn't simulated. The pilot plant comprised of a compressor, a condenser, an evaporator, a thermal storage tank, a palmitic acid was filled in steel tube and packed in this tank, flat-plate solar collector and thermostatic expansion valve. It was a solar-assisted series heat pump system with thermal storage. The study was divided into 2 system, heat pump with thermal storage and non-thermal storage system. An electric hot water was used instead of a flat-plate solar collector. Heater and all components capacity were selected and designed to suite the equivalent of 0.5 square meter area of flat-plate solar collector. In the experimental of non-thermal storage heat pump, steady sate condition, 25.2 liters per hour of water flow through the evaporator and a speed of compressor were kept constant. The evaporator inlet water temperature was varied step by step from 30 to 65 Celsius. It was an eight number. The experimental result was a hot water leaving the condenser at the temperature varied from 70.4 to 84.1 Celsius at a constant rate of 18 liters per hour. The heat pump coefficient of performance was found to be between 3.6 and 4.8. The simulation result of coefficient of performance was between 3.64 and 4.96 with a coefficient of determination of 0.66, compared with experimental result. The simulation on hot water temperature leaving condenser was found to be between 72.47 and 91.17 Celsius with a coefficient of determination of 0.89, compared with experimental result. As the experimental result, the coefficient of performance unrelated with a different of evaporator inlet temperature. It had a coefficient of determination of 0.276. An experiment of thermal storage heat pump, unsteady condition, had the value of parameter like the non-thermal storage heat pump but the thermal storage tank inlet water temperature was varied to definable time. It was considered by average of water temperature in thermal storage tank. The experimental result was a hot water leaving the condenser at the temperature varied from 67.3 to 97.3 Celsius and a coefficient of performance of 3.4 to 5.7. As the experimental result, the coefficient of performance unrelated with a different of evaporator inlet temperature. It had a coefficient of determination of 0.23. It was in accordant with the non-thermal storage heat pump. In addition, a thermal storage tank outlet water temperature unrelated with a thermal storage tank inlet water temperature following 0.29 of coefficient of determination. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเครื่องกล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68128 |
ISBN: | 9743315675 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chaichan_na_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chaichan_na_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chaichan_na_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 4.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chaichan_na_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 964.14 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chaichan_na_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chaichan_na_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 736.92 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chaichan_na_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 3.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.