Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68216
Title: | สภาพการอยู่อาศัยในเรือในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Living condition in boat houses in Bangkok Metropolis |
Authors: | ชาติชาย อังอรุณกร |
Advisors: | สุปรีชา หิรัญโร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | เรือ ชาวเรือ ที่อยู่อาศัย การขนส่งทางน้ำ บ้านเรือ |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการอยู่อาศัยและข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม ปัญหา การอยู่อาศัยต่าง ๆ ตลอดจนการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยของผู้ที่อยู่อาศัยในเรือที่มีส่วนพักอาศัย ที่จอดอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งประเภทที่เป็นเรือยนต์ลากจูง และเรือลำเลียงแม่น้ำ เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนาด้านที่อยู่อาศัย โดยเน้นการศึกษาเชิงสำรวจด้วยการแจกแบบสอบถาม จำนวน 303 ตัวอย่าง ผลการศึกษามีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้ ผู้อยู่อาศัยในเรือส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย กล่าวคือ รายได้ ต่อเดือน 7,000-10,000 บาท รายจ่ายต่อเดือน 5,000-7,000 บาท และไม่มีเงินออม มีสมาชิกครอบครัวที่อยู่อาศัยในเรือ เฉลี่ยเพียง 2 คน แต่ที่จริงมีสมาชิกในครอบครัวมากกว่านั้น กล่าวคือยังมีบุตร ที่ต้องนำไปฝากญาติเลี้ยงบนฝั่ง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง มีการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น พักอาศัยในเรือมาเป็นเวลามากกว่า 25 ปี มีลักษณะเป็นลูกจ้างหรือคนงานมากกว่าเจ้าของเรือเอง ไม่มีบ้านพักอาศัยบนฝั่ง ขนาดพื้นที่อยู่อาศัยในเรือเฉลี่ย 15-20 ตารางเมตร ซึ่งแม้มีขนาดเล็กกว่าขนาดที่อยู่อาศัยมาตรฐานขั้นต่ำ แต่เพียงพอกับการอยู่อาศัยเพียง 2 คน แม้จะไม่มีความสะดวกสบายในเรื่องไฟฟ้าและประปาภายในเรือ แต่ผู้อยู่อาศัยไม่เห็นเป็นปัญหาเนื่องจากมีความเคยชิน ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยในทรัพย์สินและที่จอดเรือในเขตชุมชน ส่วนแนวโน้มการอยู่อาศัยในอนาคต ต้องการขึ้นไปอยู่บนฝั่ง ไปอยู่ในภูมิลำเนาเดิม มีเพียงส่วนน้อยที่คิดจะซื้อบ้านในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า สภาพการอยู่อาศัยในเรือในเขตกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นทั้งที่อยู่อาศัย ประเภทเคลื่อนที่และเป็นสถานที่ประกอบอาชีพพร้อม ๆ กัน มีข้อดีในส่วนของผู้อยู่อาศัยเองหลายประการ เช่น ต้นทุนการอยู่อาศัยต่ำ ประหยัดค่าน้ำค่าไฟ และไม่เลยเวลาในการเดินทางระหว่างที่ทำงานและที่อยู่อาศัย แต่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของการขับถ่ายของเสียลงแหล่งน้ำ การจอดเรือกีดขวางการสัญจรทางน้ำ ปัญหาสังคมในเรื่องครอบครัวต้องแยกกันอยู่ ไม่สามารถนำที่อยู่อาศัยในเรือไปจดทะเบียนบ้านเหมือน บ้านบนฝั่งได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการพัฒนาที่อยู่อาศัยในเรือให้เป็นที่อยู่อาศัยแบบถาวร จำนวนที่อยู่อาศัยในเรือ ยังมีจำนวนน้อย อย่างไม่มีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนครัวเรือนโดยรวมทั้งระบบ และปัญหาที่อยู่อาศัย ในอนาคตสำหรับลูกจ้างหรือคนงานในเรือ หลังจากที่ไม่ได้ทำงานในเรือแล้ว เนื่องจากคนเหล่านี้ไม่มีเงินออม และการวางแผนการอยู่อาศัย เป็นต้น ฉะนั้น แนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยในเรือ จึงควรทำในลักษณะของที่อยู่อาศัยชั่วคราวสำหรับช่วงทำงาน โดยมีการปรับปรุงมาตรฐานให้ถูกสุขลักษณะ พร้อมกับการสนับสนุนให้มีที่ อยู่อาศัยแบบถาวรบนฝั่ง ตามความต้องการของผู้อยู่อาศัยในเรือ |
Other Abstract: | This research aims to study the living conditions, the fundamental economic and social problems and the housing plans of boat-house dwellers anchoring along the banks of the Chao Phraya River in Bangkok Metropolis in order to set up some guidelines for housing development. It has been conducted by using statistical random samplings with a sample size of 303 who were presented with questionnaires. The main points of the study can be concluded as follows. Most boat-house dwellers have relatively low incomes; most of them earn 7,000-10,000 Baht a month while their monthly expenses are about 5,000 - 7,000 Baht, and they have no savings. From the survey, the average member in each family is two although the actual size of the family is bigger since some of the children are sent to study on land with their relatives. Most of the samples came from the central part of Thailand. They only have primary school education and have lived on board for over 25 years. Most of them are workers, not owners of the boats and they have no house on land. The average living space on board, which is 15-20 sq.m., is smaller that standard but it is enough to accommodate 2 people. Although boathouse dwellers always face difficulties concerning electricity and water supplies, they find it easy to cope because they are used to the situation. Their common problems are the security of their personal belongings and where to anchor in the center of the municipal area. As for the housing trend in the future, they would like to go back to their hometowns and stay on land. Very few would wish to own a house in Bangkok Metropolis. The outcome of the research shows that a boat is used as a mobile house and a place to conduct business. This benefits the dwellers in many ways. First of all, the cost of living is low because there are no water and electricity bills. Another good point is that one doesn't have to waste time travelling to work. However, living on boat-houses can cause both social and environmental problems. One of the problems is water pollution caused by the dwellers’ dumping of waste into the water. The way boat-house dwellers anchor their boats can also obstruct water traffic. As for social problems, members of families have to live separately as some members need to stay on land. Moreover, the dwellers cannot have their boat-houses registered in the way that owners of houses on land can; thus, making it impossible to develop, their present accommodation into permanent accommodation. The number of families living on boat-house is still small compared to the housing sector as a whole. And lastly, when workers or employees no longer work on board, they tend to have housing problems since they lack housing plan sand have no savings. Therefore, the (government's) development plan for boat-housing should focus on the temporary use of accommodation during the working period. This can be done by improving the standard of living, especially in sanitation. At the same time, boat-house dwellers should be encourage to find opportunities to own a house on land. They should be provided with alternatives and assistance to achieve this. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68216 |
ISBN: | 9743318712 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chatchai_an_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_an_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 731.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_an_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 927.57 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_an_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 4.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_an_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 915.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_an_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_an_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 951.04 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_an_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 900.57 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.