Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68220
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคิริจันทร์ ทองประเสริฐ-
dc.contributor.advisorมานิจ ทองประเสริฐ-
dc.contributor.authorอนันต์ จันทร์สคราญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-09-28T03:17:48Z-
dc.date.available2020-09-28T03:17:48Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743333878-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68220-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542-
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคึกษาการใช้ชานอ้อยในอุตสาหกรรมน้ำตาล เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังเสนอทางเลือกที่มีในการนำชานอ้อยใปใช้ประโยชน์นอกเหนือจากในอุตสาหกรรมน้ำตาล ในการวิจัยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลการใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมน้ำตาล พบว่ามี 2 ปัจจัยที่ทำให้หม้อไอน้ำมีประสิทธิภาพต่ำ ปัจจัยแรกคือ ปริมาณอากาศทางทฤษฎีที่ใช้ในการเผาไหม้มากเกินไป จากการศึกษางานวิจัยในต่างประเทศพบว่าปริมาณอากาศทางทฤษฎี ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 140-150% ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งคือ ชานอ้อยที่เป็นเชื้อเพลิงมีความชื้นสูง (ประมาณ 50%) ซึ่งการปรับปรุงทำได้โดยใช้ก๊าซร้อนทิ้งมาอบแห้งชานอ้อย จากข้อมูลของโรงงานน้ำตาลที่ทำการสำรวจ พบว่าพลังงานในก๊าซร้อนทิ้งสามารถใช้อบแห้งชานอ้อยให้มีความชื้นเหลือเพียง 35% จากทั้ง 2 ปัจจัยข้างต้นได้คำนวณปริมาณชานอ้อยที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยกำหนด ให้ปริมาณอากาศทางทฤษฎีเป็น 150% (และ 161% สำหรับโรงงาน ก) และการอบแห้งชานอ้อย ให้เหลือความชื้น 40% และ 35% พบว่า สามารถลดปริมาณการใช้ชานอ้อยลงได้สูงสุด 20-30% ของชานอ้อยที่ใช้ทั้งหมดในฤดูหีบอ้อย สำหรับการใช้ประโยชน์จากชานอ้อย โรงงานน้ำตาลสามารถนำชานอ้อยที่เหลือใช้มาขายให้กับอุตสาหกรรมกระดาษ และอุตสาหกรรมแผ่นใยไม้อัด ซึ่งจะขายได้ในราคา 250 บาทต่อตัน ที่ความชื้น 50% นอกจากนี้โรงงานน้ำตาลสามารถทำการผลิตไฟฟ้าขายโดยใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะให้ผลตอบแทนเทียบเท่ากับ 294 บาทต่อตัน-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the benefits of bagasse utilization in the sugar industry and to propose the alternation of bagasse utilization in the sugar and other industries. The research will be conducted to assess the amount of bagasse used in sugar mills and to consider two factors that reduce the boiler efficiency. The first factor is that boilers use a theoretical high by air in the combustion chamber, but the theoretical air of efficiency boiler is around 140-150%. The second factor is that bagasse use as fuel has a high moisture content of about 50%. Sugar mills need to control these two factors to save more bagasse. From the study, sugar mills should be able to save 20-30% of the bagasse if the theoretical air control and dried bagasse is reduced to 35% moisture content. Sugar mills can take advantage of the bagasse by selling it to the pulp and fiber board industry at the price of 250 baht per ton. Another possibility is that sugar mills can generate electricity by using bagasse as fuel and sell to EGAT. The benefit derived from the bagasse is 294 baht per ton.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectชานอ้อย-
dc.subjectการอบแห้ง-
dc.subjectเชื้อเพลิง-
dc.subjectการใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์-
dc.titleการจัดการการใช้ชานอ้อยในอุตสาหกรรมน้ำตาล-
dc.title.alternativeBagasse utilization management in the sugar mill industry-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anan_ch_front_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ch_ch1_p.pdf772.3 kBAdobe PDFView/Open
Anan_ch_ch2_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ch_ch3_p.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ch_ch4_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Anan_ch_ch5_p.pdf907.22 kBAdobe PDFView/Open
Anan_ch_ch6_p.pdf674.42 kBAdobe PDFView/Open
Anan_ch_back_p.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.