Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68230
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนภดล นพคุณ-
dc.contributor.advisorอริยา จินดามพร-
dc.contributor.authorชุลีกร ทาบโลกา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-09-28T06:33:08Z-
dc.date.available2020-09-28T06:33:08Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743321578-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68230-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและลักษณะทางคลินิกของโรคราที่เล็บจาก Candida โดยใช้ criteria ในการระบุว่า yeasts หรือ molds เป็นเชื้อก่อโรคของ Haneke ได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยนอก คลินิกโรคผิวหนังของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2540-2541 รวม 43,444 ราย ในจำนวนนี้ ผู้ป่วย 117 ราย (ร้อยละ 0.26) มีลักษณะทางคลินิกเข้าได้กับโรคราที่เล็บ นำแผ่นเล็บของผู้ป่วย 117 ราย นี้มาตรวจโดยน้ำยาโปตัสเชียมไฮดรอกไซค์ เพาะเชื้อ และตรวจทางจุลพยาธิวิทยา ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วย 36 ราย เป็นโรคราที่เล็บจาก Candida ตาม criteria ดังกล่าว ความชุกของโรคราที่เล็บจาก Candida ในผู้ป่วยนอก คลินิกโรคผิวหนังของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คิดเป็นร้อยละ 0.08 ความชุกในเพศหญิง (ร้อยละ 0.09) สูงกว่าความชุกในเพศชาย (ร้อยละ 0.06) ความชุกคิดตามกลุ่มอายุพบว่าสูงสุดในกลุ่มอายุ 61-70 ปี (ร้อยละ 0.9) โรคราที่เล็บจาก Candida พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มอาชีพแม่บ้าน (ร้อยละ 63) ลักษณะทางคลินิกที่พบทั้งหมดเป็นการเปลี่ยนแปลงของเล็บแบบ distal and lateral subungual onychomycosis การบวมแดงข้างเล็บพบในโรคราที่เล็บจาก Candida (ร้อยละ 94) บ่อยกว่าโรคราที่เล็บจาก dermatophytes (ร้อยละ6 ) โรคราที่เล็บจาก Candida พบบ่อยในเล็บมือ (ร้อยละ 84 ) ส่วนใหญ่ของผู้ป่วย (ร้อยละ 80) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีของเล็บ แต่การเปลี่ยนแปลงของเล็บเป็นสีดำพบได้ในผู้ป่วยร้อยละ 17 สายพันธุของ Candida ที่ก่อโรค ได้แก่ c. albicans (ร้อยละ 61) c. tropicalis (ร้อยละ 25) c. parapsilosis (ร้อยละ 14) จากผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยาพบว่าเชื้อ Candida ทั้งสามสายพันธุ์สามารถกินเข้าไปในเนื้อเล็บได้รวม 15 ราย (ร้อยละ 12.8 ของผู้ป่วยที่มีลักษณะทางคลินิกเข้าได้กับโรคราที่เล็บ) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเชื้อ Candida เป็นเชื้อก่อโรคที่พบได้ไม่น้อยในโรคราที่เล็บ ดังนั้นในการรักษาโรคราที่เล็บนอกจากจะให้ยาครอบคลุมเชื้อ dermatophytes แล้ว ยังควรคำนึงถึงเชื้อ Candida ด้วย-
dc.description.abstractalternativeTo determine the prevalence and clinical manifestation of Candidal onychomycosis as defined by Haneke’ s criteria, we studied 43,444 patients at out-patient skin clinic of Chulalongkorn hospital in 1997-1998. Of the total population examined, 117 cases (0.26%) had clinical manifestation compatible with onychomycosis. KOH preparation, culture and histological examination of the nails were done in these 117 cases. Our results showed that 36 cases were satisfied with Haneke’s criteria. Prevalence of Candidal onychomycosis among the total population was 0.08%. Prevalence in females (0.09 %) was higher than in males (0.06 %). The highest prevalence in age distribution was in the. 61-70 years group (0.9%). The most common occupation was the housewife group (63%). The clinical type in all patients with Candidal onychomycosis was distal and lateral subungual onychomycosis. Paronychia was more common in onychomycosis caused by Candida (94%) than dermatophytes (6%). Finger nails were commonly involved (84%). Most cases (80%) had no nail discoloration, but fungal melanonychia was seen in 17%. The species of Candida that met Haneke’s criteria were c. albicans (61%), c. tropicalis (25%), c. parapsilosis (14 %). Histopathologic ally, all three species were demonstrated to invade the nail plates in 15 cases (12.8% among cases clinically compatible with onychomycosis). This study has documented that Candida is not a rare pathogen in onychomycosis. Therefore, we recommend that the treatment of onychomycosis should cover not only dermatophytes but also Candida.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectเล็บ -- โรค-
dc.subjectแคนดิดา-
dc.subjectOnychomycosis-
dc.titleความชุกและลักษณะทางคลินิกของโรคราที่เล็บที่เกิดจากแคนดิดาในผู้ป่วยนอกคลินิกโรคผิวหนังของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2540-2541-
dc.title.alternativePrevalence and clinical manifestation of onychomycosis from Candida in out-patient skin clinic of Chulalongkorn Hospital in 1997-1998-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chuleekorn_th_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ983.47 kBAdobe PDFView/Open
Chuleekorn_th_ch1_p.pdfบทที่ 1865.65 kBAdobe PDFView/Open
Chuleekorn_th_ch2_p.pdfบทที่ 21.28 MBAdobe PDFView/Open
Chuleekorn_th_ch3_p.pdfบทที่ 31.43 MBAdobe PDFView/Open
Chuleekorn_th_ch4_p.pdfบทที่ 4861.23 kBAdobe PDFView/Open
Chuleekorn_th_ch5_p.pdfบทที่ 52.37 MBAdobe PDFView/Open
Chuleekorn_th_ch6_p.pdfบทที่ 6882.99 kBAdobe PDFView/Open
Chuleekorn_th_ch7_p.pdfบทที่ 7681.46 kBAdobe PDFView/Open
Chuleekorn_th_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก876.7 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.