Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68303
Title: การพัฒนาโปรแกรมการเพิ่มการเรียนรู้สองภาษา เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการพูดภาษาไทยกลาง และภาษาไทยถิ่นเหนือของเด็กวัยอนุบาล
Other Titles: Development of an additive bilingual program to promote the Central Thai and Northern Thai dialect speaking ability of preschool children
Authors: อรวรรณ วงค์คำชู
Advisors: บุษบง ตันติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การเรียนรู้ภาษา
เด็ก -- ภาษา
ภาษาไทยถิ่นกลาง
ภาษาไทยถิ่นเหนือ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดลองใช้โปรแกรมการเพิ่มการเรียนรู้สองภาษาเพื่อส่งเสริม ความสามารถทางการพูดภาษาไทยกลางและภาษาไทยถิ่นเหนือ ด้านการสื่อความหมายด้วยการใช้คำศัพท์ การใช้รูปประโยคและการเลือกปรับใช้ภาษา ด้านความชัดเจนในการออกเสียง และด้านความคล่องในการพูด ให้แก่เด็กวัยอนุบาล ตัวอย่างประชากรคือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ที่มีอายุ 3 - 5 ปี จำนวน 11 คน ของโรงเรียนบ้านแม่ตะมาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ วิธีดำเนินการวิจัย มี 4 ขั้นตอน คือ (1) ชั้นเตรียมการ (2) ชั้นสร้างโปรแกรมฯและเครื่องมือการวิจัย (3) ชั้นทดลองใช้โปรแกรมฯ (4) ชั้นปรับปรุง โปรแกรมฯ ประสิทธิภาพของโปรแกรมฯ ประเมินจาก 1)ความสามารถทางการพูดภาษาไทยกลางและภาษาไทย ถิ่นเหนือของเด็กก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ ด้วยการสัมภาษณ์รายบุคคลในบริบทการพูดที่มีความ หมาย โดยครูที่พูดภาษาไทยกลาง ( ผู้วิจัย ) และครูที่พูดภาษาไทยถิ่นเหนือ ( ครูประจำชันของเด็ก ) 2)ความ พึงพอใจในการเช้าร่วมโปรแกรมฯ ของผู้ปกครองซึ่งวัดจากแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของผู้ปกครองในการ เช้าร่วมโปรแกรมฯ และ3)การติดตามผลการใช้โปรแกรมฯ โดยแบบบันทึกการใช้โปรแกรมฯของครู ( ผู้วิจัย ) ระหว่างการดำเนินการใช้โปรแกรมฯ ผลการวิจัยปรากฎว่า 1)โปรแกรมฯที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถส่งเสริมความสามารถทางการพูดภาษา ไทยกลางและภาษาไทยถิ่นเหนือ ของเด็กวัยอนุบาล กล่าวคือหลังการเช้าร่วมโปรแกรมฯเป็นเวลา 1 ภาคเรียน เด็กที่เข้าร่วมโปรแกรม ฯ มีความสามารถทางการพูดภาษาไทยกลางและภาษาไทยถิ่นเหนือ ด้านการสื่อความ หมายด้วยการใช้คำศัพท์ การใช้รูปประโยค และการเลือกปรับใช้ภาษา ด้านความชัดเจนในการออกเสียง และ ด้านความคล่องในการพูด เพิ่มขึ้นทุกด้านอย่างน้อยหนึ่งระดับ 2)จากการสัมภาษณ์พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ ที่เช้าร่วมโปรแกรม ฯ มีความพึงพอใจในระดับมากขึ้นไป ผลผลิตของการวิจัยครั้งนี้คือ คู่มือการใช้โปรแกรมการเพิ่มการเรียนรู้สองภาษาเพื่อส่งเสริมความ สามารถทางการพูดภาษาไทยกลางและภาษาไทยถิ่นเหนือของเด็กวัยอนุบาล
Other Abstract: This study is to construct an additive bilingual program to promote the Central Thai and Northern Thai dialect speaking ability of preschool children in terms of fluency, clarity and communication with the use of vocabulary, sentence structure and choice of contextually proper language. The subjects were eleven children aged three to five who enrolled in the first level of preschool in the first semester of 1999 academic year at Banmaetaman School, Chiangmai province. The program development was divided into four phases, i.e., preparation, construction, field testing and revision. To evaluate the program, the children's Central Thai language and Northern Thai dialect speaking ability was individually measured by informal interview s in meaningful speaking contexts by a Central Thai speaking teacher (the researcher) and a Northern Thai dialect speaking teacher (the class teacher). The program satisfaction was appraised by parent unstructured group interviews. The program implementation was assessed by the researcher. The study revealed that after the program (1) the preschool children had higher Central Thai and Northern Thai speaking ability by at least one level in all aspects, (2) all parents were highly satisfied with the program. The product of this study was a Handbook of Additive Bilingual Program to Promote the Central Thai and Northern Thai Dialect.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68303
ISBN: 9743333533
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orawan_wo_front_p.pdf920.26 kBAdobe PDFView/Open
Orawan_wo_ch1_p.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_wo_ch2_p.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_wo_ch3_p.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_wo_ch4_p.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_wo_ch5_p.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_wo_back_p.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.