Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68335
Title: ปัจจัยทางด้านครอบครัวกับการสูบบุหรี่ของนักเรียนชาย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Family factors and cigarette smoking among male students in senior high school of central education in Bangkok Metropolis
Authors: พรศรี วรรธนะวลัญช์
Advisors: อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ.พัทลุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีช้อมูล
Subjects: ครอบครัว
การสูบบุหรี่
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Domestic relations
Smoking
High school students
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยทางด้านครอบครัวกับการสูบบุหรี่ของนักเรียนชาย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 4,5,6 จำนวน 415 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของสมฤดี มอบนรินทร์ จำนวน 25 ข้อ แบบสอบถามสัมพันธภาพ ในครอบครัวของลักขณา ฤทธิสนธิ์ จำนวน 40 ข้อ แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูของฐิติมา โรจไพฑูรย์ จำนวน 28 ข้อ แบบสอบถามรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวของวาริศา พลายบัว จำนวน 20 ข้อ แบบสอบถามการตัดสินใจในครอบครัวของสามีภรรยาของของเรวัติ แสงสุริยงค์จำนวน 9 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าไค-สแควร์ (Chi- square) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยทางครอบครัวระหว่างสัมพันธภาพภายในครอบครัวระหว่างบิดากับบุตรกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่า สัมพันธภาพภายในครอบครัวระหว่างบิดากับบุตรในกลุ่มระดับต่ำ นักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีพฤติกรรมสูบบุหรี่สูง 2. ปัจจัยทางครอบครัวระหว่างรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวแบบปล่อย นักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมี พฤติกรรมการสูบบุหรี่สูง
Other Abstract: The purpose of this study was to determine and to compare the family factors and cigarette smoking among male students in Bangkok Metropolis. The subjects consisted of 415 students who were studying in senior high school. The questionaires used in this research were Somrudee Mobnarin’s smoking behavior (25 items), Thitima Rojjanapaitoon's child rearing patterns (28 items), Lakkana Rittison’s family relationship (40 items), Warisa Plaibua’s family communication patterns (20 items) including Rawat Sangsuriyoung’s husband-wife power relations (9 items). The SPSS/PC+ program were analyzed by using percentage and chi-square. The results were found as the following: 1. Family - factor about father - child relationship and smoking behavior of male students were correlates with statistical significance of p < .01. The study shows that the male senior high school students of father - child relationship in the low level group has high smoking behavior. 2. Family - factor about family communication and smoking behavior of male students were correlated with statistical significance of p < .05. The smoking behavior of male senior high school students in random family communication group is high smoking behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68335
ISSN: 9746352547
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornsri_wa_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ480.4 kBAdobe PDFView/Open
Pornsri_wa_ch1.pdfบทที่ 1369.96 kBAdobe PDFView/Open
Pornsri_wa_ch2.pdfบทที่ 22.12 MBAdobe PDFView/Open
Pornsri_wa_ch3.pdfบทที่ 3619.73 kBAdobe PDFView/Open
Pornsri_wa_ch4.pdfบทที่ 41.15 MBAdobe PDFView/Open
Pornsri_wa_ch5.pdfบทที่ 5382.77 kBAdobe PDFView/Open
Pornsri_wa_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.