Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68343
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยโชค จุลศิริวงศ์-
dc.contributor.authorพาฝัน นิลสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-10-06T07:08:31Z-
dc.date.available2020-10-06T07:08:31Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.issn9743318348-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68343-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ไทย-ลาว ในมิติด้านความร่วมมือในกรณีการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในลาวตั้งแต่ปี 1993 ถึงปี 1997 การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์ปัจจัยผลักดันที่ทำให้ทั้งสองประเทศหันมาสร้างความร่วมมือกัน และลักษณะความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยใช้แนวความคิดว่าด้วยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมาอธิบายความร่วมมือดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของไทย และความต้องการเงินทุนในการพัฒนาประเทศของลาว เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ทั้งสองฝ่ายร่วมสร้างสรรค์ความร่วมมือนี้ขึ้นมา เพราะทั้งสองประเทศไม่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้โดยอาศัยทรัพยากรภายในของตนเพียงลำพัง ทั้งสองประเทศจึงต้องแสวงหาทรัพยากรจากภายนอก ไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า ลาวมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ส่วนลาวพิจารณาแล้วเห็นว่า การพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศที่มี ความต้องการสูงเช่นไทย จะนำมาซึ่งรายได้จำนวนมหาศาล เมื่อทั้งสองฝ่ายมีผลประโยชน์สอดคล้องกัน และต่างพิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสมที่จะร่วมมือกันได้มากกว่าประเทศอื่น ๆ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายหันมาร่วมมือเพื่อพึ่งพาอาศัยในสิ่งที่ตนเองขาด ขณะเดียวกันสภาพแวดล้อมทางการเมืองระหว่างประเทศหลังสิ้นสุดสงครามเย็น ทำให้ความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินความสัมพันธ์อีกต่อไป ความสัมพันธ์ ไทย-ลาวในด้านต่าง ๆ จึงพัฒนาแนบแน่นขึ้นเรื่อย ๆ สภาวะนี้จึงเอื้ออำนวยให้ทั้งสองเห็นช่องทางที่จะพึ่งพา อาศัยซึ่งกันและกันในด้านพลังงานซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง ผลจากแรงผลักดันดังกล่าว ทำให้ทั้งสองประเทศอยู่ในสภาวะที่ต้องพึ่งพากันคือ ไทยต้องพึ่งพาลาวในเรื่องไฟฟ้า ส่วนลาวต้องพึ่งพาไทยในเรื่องการรับซื้อไฟฟ้า ทั้งสองฝ่ายจึงพยายามใช้สภาวะนี้เอื้อประโยชน์เข้าสู่ตนเองมากที่สุด อย่างไรก็ตาม พร้อม ๆกันนี้อีกฝ่ายหนึ่งก็ได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน ในสภาวะการพึ่งพานี้กลไกการปฏิบัติงานของทั้งสองฝ่ายต้องยอมประนีประนอมกันในหลาย ๆประเด็น เพื่อหาจุดร่วมที่ทั้งสองฝ่ายพอใจในผลประโยชน์ที่ได้รับและเพื่อให้สามารถดำเนินความร่วมมือต่อไปได้-
dc.description.abstractalternativeThis study aims at analyzing the relationship between Thailand and Laos from 1993 to 1997. The study examines major factors and procedure of cooperation between the two countries. With a framework of analysis based on concept of interdependence, the study describes the factors which generate the cooperation. The research undertaken reveals that electric consumption in Thailand is higher than its produtive capacity; and the situation, coupled with the need for foreign income of Laos are the major factors which lead to the Thai-Lao Cooperation in this case. Since both countries have not been able to respond to the demands in their own countries, they have to seek solutions from outside. Thailand regards Laos as a potential for hydropower development; likewise, Laos considers exporting hydropower electricity to Thailand as a major source of revenue. Therefore, both countries receive mutual benefit. Moreover, Thailand and Laos realize that both are ready to cooperate more than other countries. However, we cannot ignore the external factors which in directing affect this cooperation. Due to the end of the Cold War, political ideologies are no longer the barrier to their mutual relationship. Thailand and Laos become closer despite their different political systems, resulting in their decision cooperate in the field of energy, which is crucial to their economic and political stability. These factors make both of them find themselves in a situation of mutual interdependence, i.e., Thailand needs eletricity from Laos, and Laos needs the purchase of electricity from Thailand. Both have tried to maximize their benefits in this situation; but at the same time each has received its own expected benefit. In order to achieve this, an appropriate mechanism is required for them to reconcile their conflicting interests and to continue their coopertion.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ลาวen_US
dc.subjectโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในลาวen_US
dc.subjectพลังงานน้ำen_US
dc.subjectThailand -- Foreign relations -- Laosen_US
dc.subjectWater-poweren_US
dc.titleความร่วมมือไทย-ลาว ในกรณีการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในลาว (2536-2540) / พาฝัน นิลสวัสดิ์en_US
dc.title.alternativeThai-Lao cooperation on hydropower project in Laos (1993-1997)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineความสัมพันธ์ระหว่างประเทศen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChayachoke.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pafun_ni_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ483.18 kBAdobe PDFView/Open
Pafun_ni_ch1.pdfบทที่ 1676.36 kBAdobe PDFView/Open
Pafun_ni_ch2.pdfบทที่ 2528.46 kBAdobe PDFView/Open
Pafun_ni_ch3.pdfบทที่ 32.1 MBAdobe PDFView/Open
Pafun_ni_ch4.pdfบทที่ 42.19 MBAdobe PDFView/Open
Pafun_ni_ch5.pdfบทที่ 52 MBAdobe PDFView/Open
Pafun_ni_ch6.pdfบทที่ 6307.26 kBAdobe PDFView/Open
Pafun_ni_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.