Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68438
Title: ปัจจัยที่ส่งเสริมการกระทำอัตวินิบาตกรรมของข้าราชการตำรวจ ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล
Other Titles: Factors affecting the suicide of the Metropolitan Police Officers
Authors: คุณากร มุ่งดี
Advisors: สุภาวดี มิตรสมหวัง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การฆ่าตัวตาย
ตำรวจนครบาล
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งเสริมการกระทำอัตวินิบาตกรรมของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล นั้น เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งเสริมการกระทำอัตวินิบาตกรรมของข้าราชการตำรวจ ลักษณะครอบครัว และสภาวะทางสังคมของข้าราชการตำรวจผู้ที่ซึ่งได้กระทำอัตวินิบาตกรรม ไปแล้วโดยการศึกษาครั้งนี้ได้มุ่งประเด็นการศึกษาไปยังตัวแปรทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาวะหนี้สิน รายได้ รวมทั้งค่าครองชีพ 2) ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ ความเครียดที่เกิดจากการทำงานในตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ 3) ปัจจัยทางจิตใจ ได้แก่ ความยากลำบากในการทำงานร่วมกับผู้อื่น 4) ปัจจัยทางร่างกาย ได้แก่ ปัญหาเรื่องความเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต่อเนื่องยาวนาน การศึกษาครั้งนี้ ทำการศึกษาโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ถึงข้อมูลทั่วไปของประชากร ข้อมูลเกี่ยวกับคู่สมรส และข้อมูลที่เกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการกระทำ อัตวินิบาตกรรม โดยทำการศึกษาเฉพาะกลุ่มประชากรใน ครอบครัวของข้าราชการตำรวจที่ได้กระทำอัตวินิบาตกรรมไปแล้ว ในระหว่างปี พ.ศ. 2537-2540 จำนวน 12 ราย โดยทำ การศึกษาถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดการกระทำดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำอัตวินิบาตกรรมของข้าราชการตำรวจกลุ่มนี้ ในด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ พบว่าส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องรายได้ ปัญหาค่าครองชีพที่ไม่พอใช้จ่าย รวมทั้งการมีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น แม้ว่าโดยส่วนใหญ่นี้จะไม่มีปัญหาเรื่องหนี้สินก็ตาม ในด้านสังคมพบว่า ส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับเพื่อนฝูง และมีส่วนน้อยที่มีปัญหาในชีวิตครอบครัว ปัจจัยทางด้านจิตใจ พบว่า ส่วนหนึ่งมีปัญหาเนื่องมาจากความเครียดที่เกิดจากการทำงาน และถูกกดดันจากผู้บังคับบัญชา สำหรับในด้านปัจจัยทางร่างกาย พบว่าส่วนหนึ่งมีปัญหาในเรื่องการเป็นโรคที่เรื้อรังและรักษาไม่หาย ซึ่งจากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น พบว่าปัจจัยต่าง ๆที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการกระทำอัตวินิบาตกรรมทั้งสิ้น สำหรับข้อค้นพบของการวิจัยครั้งนี้ พบว่าส่วนใหญ่จะเป็นบุตรคนสุดท้อง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าบุตรคนสุดท้อง มักจะได้รับการตามใจ และชอบเอาแต่ใจตนเอง ซึ่งจะมีความอดทนต่อความตึงเครียดต่ำ ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการ ป้องกันเพื่อมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก โดยทั้งนี้ได้แยกบทบาทเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆคือ 1) บทบาทของกรมตำรวจ กรมตำรวจควรเน้นนโยบายในการป้องกัน มากกว่าการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้มากกว่าเดิม รวมทั้งการสร้างขวัญและกำลังใจ ให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดมีกำลังใจที่จะต่อสู้ต่อไปในอนาคต 2) บทบาทของคู่สมรส บทบาทของคู่สมรส คู่สมรสควร ให้การดูแลเอาใจใส่ครอบครัวให้ดี เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีแก่ครอบครัว ทั้งนี้การกำหนดนโยบายที่แน่ชัด ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการมีครอบครัวที่อบอุ่น สามารถช่วยลดการกระทำอัตวินิบาตกรรมลงได้
Other Abstract: Factors affecting the suicide of Metropolitan Police Bureau Officersers; is a qualitative study aiming at examining main factors that cause Metropolitan Police Bureau officers to commit suicide. This research focused on four variables as described below: 1) Economic factor, which include debts, incomes, and cost of living. 2) Social factors, which was emotional stress occurred while working in curtain positions. 3) Mental factors, which was the problem in adjusting to work with others. 4) Physical factors, which was the problem of chronic illness. In this research, in-depth interviews were used for collecting general demographic data, spouse data, data relating to the factors driving a police officer to commit suicide. The families and relatives of 12 police officers who committed suicide during 1994-1997 were interviewed. In this study, it was found that the major factors that influenced decision of Metropolitan Police Bureau Officers to commit suicide were the following. As for economic factors, most police officers who committed suicide suffered from insufficient income and poor living condition problems though they did not have any debt problems. Socially most police officers who committed suicide were driven by the problems of adjusting to work with their colleagues. Mentally, most police officers who committed suicide suffered from the tension problems originated from their jobs and their superiors. The last factors were physical factors. A serious illness or chronic disease was the main factor that causes police officers to commit suicide. From the study, the evidence shows that all police officers who committed suicide believe that committing suicide could solve their problems. The study also found that most cases are the youngest children who had been spoiled by their parents and could not tolerate against stress situation.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68438
ISBN: 9746396234
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khunakorn_mu_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ988.24 kBAdobe PDFView/Open
Khunakorn_mu_ch1_p.pdfบทที่ 1912.54 kBAdobe PDFView/Open
Khunakorn_mu_ch2_p.pdfบทที่ 22.47 MBAdobe PDFView/Open
Khunakorn_mu_ch3_p.pdfบทที่ 3780.15 kBAdobe PDFView/Open
Khunakorn_mu_ch4_p.pdfบทที่ 45.87 MBAdobe PDFView/Open
Khunakorn_mu_ch5_p.pdfบทที่ 51.13 MBAdobe PDFView/Open
Khunakorn_mu_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.