Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68636
Title: สิทธิมนุษยชนที่ถูกละเมิดโดยรัฐ : ศึกษากรณีการแถลงข่าวผลการจับกุมผู้ต้องหาของข้าราชการตำรวจ
Other Titles: Violation of human rights by the government : a study of police press conference involving alleged offenders under police detention
Authors: ประมุข ลักษณา
Advisors: ไชยันต์ ไชยพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สิทธิมนุษยชน
กฎบัตรสหประชาชาติ
ละเมิด
การจับกุม
สิทธิมนุษยชน -- ไทย
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สังคมได้เรียกร้องให้มีเสรีภาพทางความคิด เสรีภาพในการสื่อสาร และเสรีภาพของสื่อมวลชน โดยต้องการให้การดำเนินการในภาครัฐเป็นไปอย่างเปิดเผย จากการเรียกร้องดังกล่าวในปัจจุบันจึงทำให้มีการเผยแพร่และเสนอข่าวสารในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งการแถลงข่าวและเสนอข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม โดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจดูเหมือนจะเป็นข่าวสารที่ได้รับความสนใจจากสังคมเป็นอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้จัดให้มีการแถลงข่าวผลการจับกุมผู้ต้องหาขึ้น ซึ่งนำผู้ต้องหามานั่งร่วมในการแถลงข่าวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบเกี่ยวกับจิตใจและสภาพความเป็นอยู่ทางสังคมในอนาคตของผู้ต้องหา จากการแถลงข่าวดังกล่าวผู้ต้องหาอาจอยู่ในภาวะยอมจำนนจึงทำให้ไม่เคยมีการโต้แย้งในเรื่องสิทธิจากผู้ต้องหาแต่อย่างใด จึงนำไปสู่ความคิดว่า สิทธิของผู้ต้องหาที่จะไม่ถูกกระทำดังกล่าวยังมีอยู่หรือไม่ มีอะไรคุ้มครองบ้าง และสภาวะทางจิตใจที่เป็นนามธรรมควรได้รับความคุ้มครองหรือไม่ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่น่าสนใจต่อการศึกษา จากประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงได้ทำการศึกษาถึงเรื่องสิทธิส่วนตัวอันเป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคนตามแนวความคิดสิทธิมนุษยชนทางปรัชญาตะวันตก ซึ่งมองว่ามนุษย์มีสิทธิอันหนึ่งที่ไม่อาจโอนให้กันได้ และไม่อาจถูกทำลายล้างโดยอำนาจใด ๆ เป็นสิทธิอันพึงมีอยู่ในสภาวะธรรมชาติอย่างเท่าเทียมกัน ที่จะมีชีวิต เสรีภาพ และแสวงหาความสุข รัฐหรือองค์กรของรัฐต้องยอมรับและคุ้มครองสิทธิเช่นว่านั้น ผลการศึกษาจึงทราบว่า การแถลงข่าวผลการจับกุมผู้ต้องหาของข้าราชการตำรวจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามแนวความคิดอุดมการณ์สิทธิมนุษยชนหรือแนวคิดปรัชญาตะวันตก เมื่อนำมาปรับใช้กับสังคมไทยจึงได้ทำการศึกษาทัศนะของสังคมต่อกรณีดังกล่าวพบว่า การแถลงข่าวผลการจับกุมผู้ต้องหาของข้าราชการตำรวจไม่ว่ากรณีที่ผู้ต้องหากระทำความผิดต่อบุคคลอื่นอันมีเอกชนเป็นผู้เสียหาย หรือกรณีกระทำความผิดอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดไม่มีเอกชนเป็นผู้เสียหาย (รัฐเป็นผู้เสียหาย) ไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามทัศนะของสังคมไทย เห็นได้ว่าความคิดของสังคมไทยไม่สอดคล้องต่อแนวความคิดอุดมการณ์สิทธิมนุษยชน อันเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการคุ้มครองสิทธิของมนุษย์ สรุปได้ว่ารากฐานแนวความคิดอุดมการณ์สิทธิมนุษยชน ในสังคมไทยยังเป็นกระแสความคิดรอง ซึ่งจะต้องให้การศึกษาแนวความคิดในเรื่องสิทธิธรรมชาติ สิทธิปัจเจกบุคคล สิทธิส่วนตัว และสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน และนำมาปรับใช้กับสังคมไทย สิทธิของปัจเจกชนจึงได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: In the context of present Thai society, public consciousness as to the relevacne of freedom of thought, freedom of communication, freedom of the press along with the clarity and transparency of the government 's acts increases man kindly. Owing to this increase, agerat number of news and information has been released to the public on a constant basis, including those concerning the operations of numerous federal agencies all of which are in the position to impose immense impact on the well-being of the members of the society. Among many others, one of the activity which draws immense public attention is the seizure of criminals by police officers. The Royal Thai police normally issue a press release with a view to prevent any distortion of news and information as well as to ensure their coherence and originality. In the course of this process, however, the suspects are presented to the press regardless of both the mental and social implications of such inconsiderate treatment of them and their impacts that may follow. This kind of act from hence the questions arise; What is the status of the suspects rights? Which acts should be considered a violation of their rights? These questions have been re-investigated on the basis of the concept of human rights in western philosophy. Our studies revealed that the press release of the arrestment issued, of such nature, by the police department is inherently a violation of human rights employing the concepts of human rights of western philosopher. However, out studies on the views of the Thai society on the issue indicated that Thai society does not consider this an act of violation. This is the case of either personnel or public offense. These views of the Thai society emphasize the need for a better understanding of Nature rights, indevidual rights, personal rights and human rights. Only then will the rights of an individual be better protected.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68636
ISBN: 9746395173
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pramook_lu_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ942.28 kBAdobe PDFView/Open
Pramook_lu_ch1_p.pdfบทที่ 11.39 MBAdobe PDFView/Open
Pramook_lu_ch2_p.pdfบทที่ 24.06 MBAdobe PDFView/Open
Pramook_lu_ch3_p.pdfบทที่ 3981.86 kBAdobe PDFView/Open
Pramook_lu_ch4_p.pdfบทที่ 41.63 MBAdobe PDFView/Open
Pramook_lu_ch5_p.pdfบทที่ 51.45 MBAdobe PDFView/Open
Pramook_lu_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.