Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68712
Title: | ระบบพัสดุคงคลังสำหรับอะไหล่ซ่อมบำรุง : กรณีศึกษา |
Other Titles: | An inventory system for spare parts : a case study |
Authors: | ชนินทร์ คุณรักษา |
Advisors: | มานพ เรี่ยวเดชะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | manop@eng.chula.ac.th |
Subjects: | คลังพัสดุ อะไหล่ กรณีศึกษา Spare parts Case method |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ระบบพัสดุคงคลังสำหรับอะไหล่ซ่อมบำรุงนี้เป็นงานวิจัยที่ศึกษา ณ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์แห่งหนึ่ง โดยมีจำนวนอะไหล่ซ่อมบำรุงที่ใช้ในกรณีศึกษานี้ 1898 รายการ งานวิจัยพิจารณาอะไหล่ 2 ประเภท คือ อะไหล่ทั่วไปและอะไหล่ที่ต้องมีไว้ใช้อยู่เสมอ (Insurance Item) สำหรับอะไหล่ทั่วไปจะเริ่มจากการจำแนกกลุ่มโดยใช้เทคนิค ABC (ABC Analysis) เพื่อแยกอะไหล่ซ่อมบำรุงออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามลำดับสำคัญ ซึ่งพิจารณาจากมูลค่าการใช้และมูลค่าการเก็บประกอบกัน หลังจากแยกเป็นกลุ่ม ๆ ได้แล้ว จึงศึกษาในรายละเอียดซ่อมบำรุงกลุ่ม A ทั้งหมดซึ่งมีจำนวน 99 รายการ และนำเสนอวิธีในการจัดการอะไหล่ทุกรายการ ส่วนอะไหล่ซ่อมบำรุงกลุ่ม B และ C ไม่นำเสนอการคำนวณประยุกต์ใช้แบบจำลอง แต่ได้นำเสนอแนวทางในการจัดการพัสดุคงคลังเท่านั้น จากการวิจัยพบว่าอะไหล่ซ่อมบำรุงกลุ่ม A นี้มีจำนวนกลุ่ม 17 รายการเท่านั้น ที่ควรใช้นโยบายระบบควบคุมแบบจุดสั่งซื้อ - ระดับสั่งซื้อ (s,S) ตามที่บริษัทในกรณีศึกษาใช้อยู่ ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่ควรใช้วิธีการวางแผนความต้องการใช้วัสดุ (MRP) ตามกำหนดการในการซ่อมบำรุง สำหรับรายการที่ใช้นโยบายระบบควบคุมแบบจุดสั่งซื้อ – ระดับสั่งซื้อ การวิจัยนี้ได้ปรับปรุงวิธีในการคำนวณพารามิเตอร์ในแบบจำลองใหม่โดยคำนวณปริมาณสั่งซื้อ (Q) ไปพร้อม ๆ กัน คำนวณหาค่าตัวคูณเผื่อ (k) แล้วจึงนำค่าที่เหมาะสมไปคำนวณหาค่าจุดสั่งซื้อและระดับสั่งซื้อ ซึ่งจะให้ผลที่ดีกว่าวิธีที่ใช้อยู่ซึ่งคำนวณค่าปริมาณการสั่งซื้อก่อนแล้วจึงมาคำนวณหาจุดสั่งซื้อ เนื่องจากการคำนวณหาปริมาณสั่งซื้อในแรกเริ่ม จะไม่พิจารณาการร้างพัสดุโดยตรง ถ้าโรงงานในกรณีศึกษาได้ใช้วิธีตามที่เสนอดังกล่าวข้างต้นในช่วงปีที่เข้าทำการศึกษา ก็จะลดค่าใช้จ่ายพัสดุคงคลังสำหรับอะไหล่บำรุงได้ไม่น้อยกว่า 77 ล้านบาท สำหรับอะไหล่ซ่อมบำรุงกลุ่มที่ต้องมีไว้ใช้อยู่เสมอ (Insurance Item) นั้น งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้ *ทฤษีแถวคอยสำหรับหน่วยบริการหลายหน่วย (Finite Queue M/M/S/K Model)* ในการกำหนดระดับอะไหล่ที่เหมาะสมอะไหล่ซ่อมบำรุงกลุ่มนี้มีจำนวน 115 รายการ ในงานวิจัยนี้ ได้เลือกมาทดลองคำนวณการประยุกต์ใช้เป็นตัวอย่างเพียง 1 รายการ ซึ่งเป็นรายการที่มีมูลค่าสูงสุด รวมทั้งการวิเคราะห์ความไว (Sensitivity Analysis) ของอัตราส่วนช่วงเวลานำเฉลี่ย และช่วงเวลาการใช้งานก่อนการเสียหายเฉลี่ยว่ามีผลต่อระดับการเก็บอะไหล่อย่างไรด้วย |
Other Abstract: | This case study on an inventory system for spare part management is conducted at a cement plant. There are 1898 items of spare parts used in this study. The study starts by categorizing these items into general and insurance items. As for the general items, they are classified by their importance with the ABC analysis technique. The classification is based on their usage and on-hand values simultaneously. Class A items, totaling 99 items, are studied to propose models to manage them. The study does not cover models for class B and C items, but recommends guidelines for managing them. The study finds that only 17 of the A items are suitable for the *Order Point-Order Level or (s,S) policy*, which is currently used by the cement plant. The others, which are used for scheduled maintenance, should be managed by the material requirements planning (MRP) technique. For the items that used (s,S) policy, the study proposes a new approach to calculate the parameters in the model. It determines the optimal order Quantity (Q) and the Safety Factor (k) simultaneously and then calculates the Ordering Point (s) and Order Level(S) respectively. This method gives better solutions because the former method, which starts from calculating the EOQ then specifies Safety Factor to calculate the Ordering Point (s) and Order Level(S) , gives no direct consideration to the shortage cost. If the plant in a case study had used the proposed method, it would be saved at least 77 million baht in its spare part inventory costs during the year of the study. As for the insurance items, this study applies the *Finite Queue M/M/S/K Model* to determine their suitable stock level. There are 115 items in this category. The study chooses one item, the most expensive, to demonstrate how to apply the model. A Sensitivity Analysis is also performed on the ratio of the average lead time to the mean failure free operating time to observe its influence on the stock level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68712 |
ISBN: | 9746394754 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chanin_ku_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chanin_ku_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 846.19 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chanin_ku_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chanin_ku_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chanin_ku_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 853.36 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chanin_ku_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chanin_ku_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 845.25 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chanin_ku_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.