Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69053
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประนอม รอดคำดี-
dc.contributor.authorวิมลพรรณ ว่องไว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-03T08:35:49Z-
dc.date.available2020-11-03T08:35:49Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.issn9746398342-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69053-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในด้านต่าง ๆ 10 ด้าน จำแนกตามภูมิหลังของนักศึกษาพยาบาล การกำกับตนเองด้านการเรียนของนักศึกษาพยาบาล การรับรู้พฤติกรรมการดูแลของอาจารย์พยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 615 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภูมิหลังของนักศึกษาพยาบาล แบบวัดการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กของนักศึกษาพยาบาล แบบวัดกำกับตนเองด้านการเรียนของนักศึกษาพยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลของอาจารย์พยาบาลของปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา (2539) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (Oneway Analysis of Varience) ทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการทดสอบของเชฟเฟ (Sheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาพยาบาลมีการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่าการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กอยู่ในระดับสูงทุกด้าน ยกเว้นด้านการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในกระบวนการเรียนการสอน และด้านการช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของเด็ก 2. การเปรียบเทียบการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กของนักศึกษาพยาบาล พบว่านักศึกษาพยาบาลที่มี ภูมิหลังด้านคะแนนเฉลี่ยสะสมแตกต่างกัน มีการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กไม่แตกต่างกัน นักศึกษาพยาบาลที่มีภูมิหลังด้านประสบการณ์การดูแลเด็กสุขภาพดีในระดับสูง มีการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กแตกต่างจากนักศึกษาพยาบาลที่มีภูมิหลังด้านประสบการณ์การดูแลเด็กสุขภาพดีในระดับปานกลางและต่ำ นักศึกษาพยาบาลที่มีการกำกับตนเองด้านการเรียนในระดับสูง มีการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กแตกต่างจากนักศึกษาพยาบาลที่มีการกำกับตนเองด้านการเรียนอยู่ในระดับปานกลางและต่ำ และนักศึกษาพยาบาลที่มีการกำกับตนเองด้านการเรียนในระดับปานกลาง มีการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กแตกต่างจากนักศึกษาพยาบาลที่มีการกำกับตนเองด้านการเรียนอยู่ในระดับต่ำ นักศึกษาพยาบาลที่มีการรับรู้พฤติกรรมการดูแลของอาจารย์พยาบาลในระดับสูง มีการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กแตกต่างจากนักศึกษาพยาบาลที่มีการรับรู้พฤติกรรมการดูแลของอาจารย์พยาบาลอยู่ในระดับปานกลางและต่ำ โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study and compare the caring behaviors for the pediatric patients of third year nursing students in nursing colleges under the jurisdiction of the ministry of public health, north eastern region in 10 aspects, classified by personal background, self- regulated learning, perception of caring behaviors of faculty. Sample was 615 of third year nursing students of bachelors of nursing science curriculum in 6 nursing colleges under the jurisdiction of the ministry of public health, north eastern region. Research instruments were student's personal background questionnaire, pediatric patients caring behavior Test, and nursing student self-regulated learning Test constructed by the researcher, perception of nursing student of faculties' caring behaviors Test constructed by Prutyanan Tiengchanya (1996). The obtained data was analyzed by mean, standard deviation and one way ANOVA. (Oneway Analysis of Varience) with posthoc Scheffe's test. The major findings were as follows: 1. The overall caring behaviors of third year nursing students were at high level in every aspect except Promotion of transpersonal teaching-learning and Assistance with gratification of human needs aspects. 2. Comparison of caring behaviors of third year nursing students, it was found that there is no statistically difference between GPA and caring behaviors. Students who had high experience had higher caring behaviors than students who had moderate and low experience. Students with high self-regulated learning had higher caring behaviors than those with moderate and low self-regulated learning and students with moderate self-regulated learning had higher caring behaviors than low self-regulated learning students. Students with high perception of faculties' caring behaviors had higher pediatric patients caring behaviors than those who had moderate and low perception of faculties' caring behaviors, significantly at .05 level.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้ป่วยเด็ก -- การดูแลen_US
dc.subjectนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.subjectSick children -- Careen_US
dc.subjectNursing studentsen_US
dc.titleการศึกษาการปฎิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือen_US
dc.title.alternativeA study of caring practice for pediatric patients of nursing students, nursing colleges under the jurisdiction of the Ministry of Public Health, north eastern regionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพยาบาลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorbranom.r@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimonpan_wo_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ390.67 kBAdobe PDFView/Open
Wimonpan_wo_ch1.pdfบทที่ 1559.34 kBAdobe PDFView/Open
Wimonpan_wo_ch2.pdfบทที่ 26.66 MBAdobe PDFView/Open
Wimonpan_wo_ch3.pdfบทที่ 3794.08 kBAdobe PDFView/Open
Wimonpan_wo_ch4.pdfบทที่ 4767.82 kBAdobe PDFView/Open
Wimonpan_wo_ch5.pdfบทที่ 5797.94 kBAdobe PDFView/Open
Wimonpan_wo_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.