Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69086
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวลักษณ์กมล เอี่ยมวิวัฒน์กิจ-
dc.contributor.authorสุกัญญา สุดบรรทัด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-04T09:25:02Z-
dc.date.available2020-11-04T09:25:02Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.issn9746395076-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69086-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุบ่ระสงค์การศึกษา 2 ประการคือ 1) เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์วิธีการนำเสนอและเนื้อหาเกี่ยวกับปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่เผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศของเว็บไซท์จากจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาและวิเคราะห์ถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลการวิจัยพบว่า เว็บไซท์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งความรู้และข้อมูล การเป็นเวทีในการแสดงความคิดเห็น และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร โดยเว็บไซท์จากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนามีทั้งความแตกต่างและคล้ายคลึงกัน คือ มีความแตกต่างกันในการนำเสนอประเด็นข้อมูล โดยประเทศพัฒนาแล้วจะเน้นการนำเสนอในประเด็นของมาตรการและนโยบายของตนเองในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาเน้นการนำเสนอในประเด็นของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ซึ่งเป็นมาตรการระหว่างประเทศที่มีกรอบความคิดเบื้องต้นให้ความรับผิดชอบในการแก้ปัญหานำร่องเป็นภาระของประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ เว็บไซท์ของทั้งสองกลุ่มประเทศยังมีความแตกต่างกันในด้านระดับข้อมูลและการใช้แหล่งอ้างอิงข้อมูล เนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำกันในด้านพื้นฐานความรู้และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก รวมทั้งมีความแตกต่างกันด้านรูปแบบและเทคโนโลยีในการจัดทำเว็บไซท์ เพราะมีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่เท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม เว็บไซท์ของทั้งสองกลุ่มประเทศมีความคล้ายคลึงกันในด้านรูปแบบการนำเสนอข้อมูลและลักษณะการนำเสนอที่ใช้ นั่นคือ เน้นการใช้รูปแบบรายงานข้อเท็จจริง (Fact Sheet) และลักษณะการนำเสนอแบบข้อความ (Text) ทั้งนี้ ด้วยความไม่เท่าเทียมกันในด้านบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และระดับการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ยังคงมีความเหลื่อมล้ำทางข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งอาจนำไบ่สู่การขยาย “ช่องว่างทางความรู้” (Knowledge Gap) ระหว่างสองกลุ่มประเทศและอาจจะเป็นสาเหตุหลักให้ประเทศที่ด้อยกว่าต้องมีการพึ่งพาด้านข้อมูลสารสนเทศ (Dependence of Information) รวมทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากประเทศที่พัฒนามากกว่า-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were: i) to study and analyze the form and content of global climate change issues presented via web sites on the Internet and. 2) to make comparative study of the information from groups of developed and developing countries' web sites and analyze the progress of information technologies in the two groups. The study shows that the Internet's web sites play a crucial role as sources of information and knowledge, and as arenas of opinion and interactivity among senders and recievers. The web sites of developed and developing countries are distinct in several ways: The topics presented be developed countries emphasize their own measures and policies dealing with Global Climate Change, while the developing countries concentrate on details of the Convention on Global Climate Change, an international framework measure, which says that the Developed countries should bear the primary responsibility to address the issue. In addition, the web sites of the two groups are different in term of the level of information and the sources used, revealing an imbalancing in the level of knowledge, and research in the field of Global Climate Change issues. There are also, disparities in the web site's form and technology because of an unequal information technology development. However, they are similar in using “fact sheets” and `` texts '' to present information. Because inequality in terms of socio-economics, political power and technological development still exists between the two groups of countries, a wide information gap has occurred. This might widen the “Knowledge Gap” between the two groups and cause a "dependence of information and technology" which means the "poorer" must rely on the "richer".-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอินเทอร์เน็ตen_US
dc.subjectเว็บไซต์en_US
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกen_US
dc.subjectInterneten_US
dc.subjectWeb sitesen_US
dc.subjectClimatic changesen_US
dc.titleเว็บไซท์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในฐานะเป็นแหล่งสารสนเทศเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกen_US
dc.title.alternativeThe Internet's web sites as sources of information on global climate change phenomenonen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการหนังสือพิมพ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSukanya.S@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Walakkamon_ea_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ643.39 kBAdobe PDFView/Open
Walakkamon_ea_ch1.pdfบทที่ 11.35 MBAdobe PDFView/Open
Walakkamon_ea_ch2.pdfบทที่ 22.14 MBAdobe PDFView/Open
Walakkamon_ea_ch3.pdfบทที่ 3482.81 kBAdobe PDFView/Open
Walakkamon_ea_ch4.pdfบทที่ 44.21 MBAdobe PDFView/Open
Walakkamon_ea_ch5.pdfบทที่ 5557.62 kBAdobe PDFView/Open
Walakkamon_ea_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก298.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.