Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70680
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา-
dc.contributor.authorจามรี เสมา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-12T03:22:19Z-
dc.date.available2020-11-12T03:22:19Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.issn9746389351-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70680-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของเลเซอร์ ชนิดเอ็นดีแย็กและชนิดแกลเลียม-อะลูมิเนียม- อาร์เซนิก ที่เวลาและระดับพลังงานต่างกัน ต่อขนาดและจำนวนของรูเปิดท่อเนื้อฟันจากชิ้นฟันที่เตรียมในห้องปฏิบัติการ โดยการกำจัดชั้นนเคลือบรากฟัน และใช้กรดเอทิลีนไดเอมีนเตตราอะซิติก 0.5 โมลาร์ เพื่อกำจัดชิ้นคราบผงฟัน การวิจัยใช้ฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่ง จำนวน 15 ซี่ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามเวลาที่ใช้ในการฉายแสง คือ 1, 2 และ 3 นาที ฟันแต่ละซีจะเตรียมเป็นชิ้นฟัน จำนวน 4 ชิ้น เพื่อฉายแสงเลเซอร์ชนิดเอ็นดีแย็ก ระดับพลังงาน 50 มิลลิจูล 100 มิลลิจูล ชนิดแกลเลียม-อะลูมิเนียม-อาร์เซนิก และไม่ฉายแสง นำชิ้นฟันมาถ่ายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดกำลังขยาย 3000 เท่า นำภาพที่ได้มาวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อเนื้อฟัน และจำนวนรูเปิดท่อเนื้อฟันด้วยคอมพิวเตอร์ หาค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบแจกแจงทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า จำนวนท่อเนื้อฟันเฉลี่ยต่อภาพของแต่ละกลุ่ม ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) ในกลุ่มเอ็นดีแย็กเลเซอร์ 50 มิลลิจูล และ กลุ่มเอ็นดีแย็กเลเซอร์ 100 มิลลิจูล กลุ่มที่มิขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อเนื้อฟันเล็กที่สุด คือกลุ่มที่ใช้เวลาในการฉายแสง 3 นาที (1.8197 ± 0.4923 ไมโครเมตร) และ 2 นาที (1.7764 ± 0.7506 ไมโครเมตร) ตามลำดับ ส่วนกลุ่มแกลเลียม-อะลูมิเนียม- อาร์เซนิกเลเซอร์นั้น กลุ่มที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อเนื้อฟันเล็กที่สุด คือกลุ่มที่ใช้เวลาในการฉายแสง 3 นาที (1.6715 ± 0.4354 ไมโครเมตร) และพบว่าทุกกลุ่มมีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งผลจากการวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงเวลาและระดับพลังงานที่เหมาะสม ของเอ็นดีแย็กเลเซอร์และแกลเลียม-อะลูมิเนียม-อาร์เซนิกเลเซอร์ ที่ทำใน้ท่อเนื้อฟันมีขนาดเล็กลง และจะเป็นแนวทางในการนำเลเซอร์มาใช้ รักษาอาการเลียวฟันในผู้ป่วยต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this Investigation was to study by scanning electron microscope the effects of Nd:YAG laser and Gallium-Aluminium-Arsenic ( Ga-AI-As ) laser on exposed dentinal tubules ๙ human extracted teeth. Fifteen 3 mm. thick slices were cut at the cementoenamel junction from 15 extracted first premolar teeth. By using a diamond bur to remove the cementum layer the dentinal tubules were exposed and etched with EDTA 0.5 Molar for the smear layer removal. The fifteen slices were randomly assigned to 3 groups for 1, 2 and 3 minutes lasing time group. Each slice was sectioned into 4 pieces size 3x3 mm. Three pieces were lased randomly by Nd:YAG laser 50 millijoules ( mj.) , 100 mj. and Ga-AI-As laser for 1 2 and 3 minutes, and the unlased piece served as control. The specimens were mounted on a stub, sputter coated by gold and examined by scanning electron microscope. The numbers and diameter of dentinal tubules were recorded. The results showed that there were no significant differences in numbers of dentinal tubules in each group by one way analysis of variance (p>0.05). At fluences of 50 mj. and 100 mj. of Nd:YAG laser, smallest diameter of dentinal tubules were noted at 3 minutes ( 1.8197± 0.4923 um.) and 2 minutes ( 1.7764 ± 0.7506 um.) lasing time respectively. When lasing time was 3 minutes, the smallest diameter of dentinal tubules of Ga-AI-As laser (1.6715 ± 0.345 um.) was found. Ail of test groups show significant differences from control group (p< 0.05). The results indicate the application of lasers at specific fluences and time can reduce the diameter of dentinal tubules and may be further used for root hypersensitivity treatment.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเลเซอร์ทางทันตกรรมen_US
dc.subjectกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบกราดen_US
dc.subjectเลเซอร์ -- การใช้วินิจฉัยโรคen_US
dc.subjectLasers in dentistryen_US
dc.subjectScanning electron microscopesen_US
dc.subjectLasers -- Diagnostic useen_US
dc.titleผลของเลเซอร์ชนิดเอ็นดีแย็กและชนิดแกลเลียม-อะลูมิเนียม-อาร์เซนิกต่อรูเปิดของท่อเนื้อฟัน ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดen_US
dc.title.alternativeEffects of Nd:YAG laser and Ga-Al-As laser on exposed dentinal tubules scanning electron microscopic studyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineปริทันตศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChanin.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jammaree_se_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ436.44 kBAdobe PDFView/Open
Jammaree_se_ch1.pdfบทที่ 1412.33 kBAdobe PDFView/Open
Jammaree_se_ch2.pdfบทที่ 2956.07 kBAdobe PDFView/Open
Jammaree_se_ch3.pdfบทที่ 3425.89 kBAdobe PDFView/Open
Jammaree_se_ch4.pdfบทที่ 4852.06 kBAdobe PDFView/Open
Jammaree_se_ch5.pdfบทที่ 5316.09 kBAdobe PDFView/Open
Jammaree_se_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก316.66 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.