Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70835
Title: การคืนทรัพย์ตามหลักกฎหมายแพ่ง
Other Titles: Restitution of things under the Thai civil law
Authors: ศิริรัตน์ สุขภูติ
Advisors: ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ลาภมิควรได้
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญา
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- คืนทรัพย์
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ทรัพย์
การคืนทรัพย์
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กรณีที่จะต้องคืนทรัพย์ตามหลักกฎหมายแพ่งมีอยู่ด้วยกันหลายกรณี บางกรณีกฎหมายได้บัญญัติหลักเกณฑ์ การคืนทรัพย์ไว้โดยชัดแจ้ง เช่น กรณีที่จะต้องคืนทรัพย์ในเรื่องลาภมีควรได้ แต่บางกรณีกฎหมายบัญญัติแต่เพียงมูลเหตุ ที่จะต้องมีการคืนทรัพย์โดยมิได้บัญญัติหลักเกณฑ์การคืนทรัพย์ไว้ เช่น กรณีที่จะต้องคืนทรัพย์เมื่อมีการบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ, การบอกเลิกสัญญา และการเพิกถอนนิติกรรมซึ่งได้ทำโดยฉ้อฉลเจ้าหนี้ การคืนทรัพย์ นอกจากจะหมายความถึง การคืนตัวทรัพย์ที่ได้รับไว้แล้วยังหมายรวมถึงการคืนดอกผล อันเกิดจากทรัพย์ที่ได้รับไว้, การคืนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งฝ่ายที่คืนทรัพย์ได้เสียไป เช่น ค่าบำรุงรักษา ซ่อมแซมทรัพย์ รวมถึงปัญหาการคืนตัวทรัพย์ซึ่งหากทรัพย์นั้นได้เปลี่ยนสภาพไปจากทรัพย์เดิม กฎหมายลักษณะลาภมิควรได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการคืนทรัพย์ไว้ ทั้งในส่วนหน้าที่ของผู้คืนทรัพย์ตาม มาตรา 412 ถึง 415 ส่วนหนึ่ง และหน้าที่ของผู้รับคืนทรัพย์ ตาม มาตรา 416 - 418 โดยคำนึงถึงสภาวะทางจิตใจของ ผู้คืนทรัพย์ตามกฎหมายลาภมิควรได้ กล่าวคือ สำหรับในกรณีที่ผู้คืนทรัพย์ผู้สุจริตได้รับเงิน หรือทรัพย์สินอื่นนอกจากเงิน และการคืนทรัพย์นั้นตกเป็นการพ้นวิสัย ในกรณีเช่นนี้กฎหมายบัญญัติหน้าที่ของผู้คืนทรัพย์ไว้โดยมีหน้าที่ต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน ดังนั้นหากมีการนำเงินที่ได้รับไว้ไปซื้อทรัพย์มา หรือมีการนำทรัพย์ที่ได้รับไว้ไปแลกเปลี่ยนกับทรัพย์อื่น ก็ต้องคืนทรัพย์ที่เข้ามาแทนทั้งสิ้น กรณีที่จะต้องคืนทรัพย์เมื่อมีการบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ หรือมีการบอกเลิกสัญญา กฎหมายบัญญัติผลของการบอกล้างโมฆียะกรรมไว้ใน มาตรา 176 หรือการบอกเลิกสัญญาไว้ใน มาตรา 391 สรุปความว่า เมื่อมีการบอกล้างโมฆียะกรรม หรือมีการบอกเลิกสัญญาแล้วให้คู่กรณีแต่ละฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิม หากกลับคืนไม่ได้ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน กล่าวคือ ฝ่ายที่ได้รับทรัพย์มาตามนิติกรรม หรือโดยผลของสัญญามีหน้าที่คืนทรัพย์นั้นให้แก่ อีกฝ่ายหนึ่ง หากไม่อาจคืนทรัพย์ให้แก่เขาได้ก็ต้องใช้ราคาทรัพย์นั้น โดยไม่ต้องพิจารณาถึงสภาวะทางจิตใจของผู้คืนทรัพย์เหมือนดังการคืนทรัพย์ตามกฎหมายลาภมีควรได้ สำหรับการคืนดอกผลของทรัพย์ และการชดใช้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ ในกรณีดังกล่าวนี้ กฎหมายมิได้บัญญัติไว้ จึงน่าจะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1376 ซึ่งให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการคืนทรัพย์ตามกฎหมายลักษณะลาภมิควรได้ มาตรา 412-418 มาใช้บังคับโดยอนุโลม นอกจากนี้กรณีที่จะต้องคืนทรัพย์เมื่อมีการเพิกถอนนิติกรรมซึ่งได้ทำโดยฉ้อฉลเจ้าหนี้นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เลยว่าจะบังคับกันอย่างไร จึงน่าบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1376 ซึ่งให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการคืนทรัพย์ตามกฎหมายลักษณะลาภมิควรได้ มาตรา 412-418 มาใช้บังคับโดยอนุโลมเช่นเดียวกัน
Other Abstract: There are many cases of restitution of things under the principle of Thai Civil Law. Some cases , laws obviously provide the rule of restitution of things such as the restitution under the law of unjust enrichment , but some cases provide only grounds of the restitution without details of it such as a case of avoidance of a voidable juristic act , restitution of contract and cancellation of fraudulent act. The restitution means not only return things but also return of its fruits 1 expenses 1 concerning the things paid by the person returning things such as expenses for maintenance or repair, and return of changeable if it was changed . The law provides case of the restitution under the law of unjust enrichment , both duty of the person who returns things under Section 412 to 415 and duty of person who takes return such things under Section 416 to 418. The law of unjust enrichment considers mental condition of the person who returns the things. Case the person who has received , in good faith , money or other property other than It and case the restitution is possible 1 the law provides that such person is bound only to return such part of the enrichment as still exists at the time when the restitution is demanded . If the person who returns the property used the money to pay other property or to exchange other property , he IS bound to return all such after - acquired properties. That the restitution in case of avoidance of the voidable juristic act or rescission of contract 1 under Section 176 (effect of avoidance of the voidable juristic act) or under Section 351 (effect of rescission of contract) can be summarized when any persons avoided act or one party has exercised his right of rescission 1 each party shall be restored to the former condition. It must be indemnified. If it IS not impossible to be restore. There are no provision of law in case of return of fruit and expenses of the property , it is likely that the provision of the restitution under the law of unjust enrichment Section 412 to section 418 shall apply mutatis mutandis . Besides 1 there are no provision of the law เท case of the restitution when any persons avoided a voidable act , it is likely that Code of Civil and Commercial , Section 1376 Which provided that provision of the restitution under the law of unjust enrichment 1 Section 412 to Section 418 , shall apply mutatis mutandis .
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70835
ISBN: 9743321004
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirirat_su_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.01 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_su_ch0_p.pdfบทที่ 1829.95 kBAdobe PDFView/Open
Sirirat_su_ch1_p.pdfบทที่ 2998.11 kBAdobe PDFView/Open
Sirirat_su_ch2_p.pdfบทที่ 33.8 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_su_ch3_p.pdfบทที่ 44.83 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_su_ch4_p.pdfบทที่ 55.17 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_su_ch5_p.pdfบทที่ 6948.24 kBAdobe PDFView/Open
Sirirat_su_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก802.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.