Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70905
Title: | การศึกษาสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลของรัฐ |
Other Titles: | Study of nursing directors' competencies, governmental hospitals |
Authors: | ขนิษฐา กัวศรีนนท์ |
Email: | Panida.D@Chula.ac.th |
Advisors: | พนิดา ดามาพงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ภาวะผู้นำ ความสามารถทางการบริหาร พยาบาล Leadership Executive ability Nurses |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลของรัฐ โดยศึกษาจากประชากรซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 125 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า สร้างจากตัวประกอบสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาของ อังคณา สุเมธสิทธิกุล (2539) มีจำนวน 1 ชุด แยกเป็น 2 ฉบับ คือฉบับที่ให้หัวหน้ากลุ่มงาน การพยาบาลประเมินตนเอง และฉบับที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาประเมินหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล ทั้ง 2 ฉบับมีรายละเอียดเหมือนกันเปลี่ยนแต่สรรพนามให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ตอบ หาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 และ 0.98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธิของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับสมรรถนะของพยาบาลหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลของรัฐ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีสมรรถนะด้านการพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและด้านการอำนวยการอยู่ในระดับสูง ส่วนสมรรถนะด้านภาวะผู้นำด้านการวางแผนและการจัดระบบงาน ด้านการควบคุม ด้านการตลาดบริการพยาบาลและการเปลี่ยนแปลง ด้านวิชาการ และด้านการวางแผนกลยุทธ์ อยู่ในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบสมรรถนะของพยาบาลหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลของรัฐ จำแนกตามอายุ ประสบการณ์ในตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และสังกัดของโรงพยาบาล 2.1 หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลของรัฐ ที่มีอายุแตกต่างกัน มีสมรรถนะโดยรวมไม่แตกต่าง กัน แต่มีสมรรถนะรายด้าน ด้านการตลาดบริการพยาบาลและการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระตับ .05 โดยหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป มีสมรรถนะด้านการตลาดบริการพยาบาลและการเปลี่ยนแปลงสูงกว่า หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลที่มีอายุ 36-40 ปี 2.2 หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลของรัฐ ที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งแตกต่างกัน มีสมรรถนะโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2.3 หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลของรัฐ ที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีสมรรถนะโดยรวม และรายด้าน ด้านการอำนวยการ ด้านภาวะผู้นำ ด้านวิชาการ และด้านการวางแผนกลยุทธ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าปริญญาตรี มีสมรรถนะโดยรวมและ สมรรถนะรายด้าน ด้านการอำนวยการ ด้านภาวะผู้นำ และด้านการวางแผนกลยุทธ์ สูงกว่าหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลที่มีวุฒิ การศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา และหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาโทมีสมรรถนะด้านวิชาการสูงที่สุด รองลงมาคือหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าปริญญาตรีและหัวหน้ากลุ่มงาน การพยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญามีสมรรถนะด้านวิชาการน้อยที่สุด 2.4 หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลของรัฐ ที่อยู่ในสังกัดของโรงพยาบาลแตกต่างกัน มีสมรรถนะโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่มีสมรรถนะรายด้าน ด้านการตลาดบริการพยาบาลและการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยของด้านสมรรถนะด้านการตลาดบริการพยาบาลและการเปลี่ยนแปลง หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลที่อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีค่าสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลที่อยู่ในสังกัด กระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานคร |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the nurse directors' competencies, governmental hospitals. The population of 125 nurse directors in govermental hospitals, who had hold a post for at least a year, were selected through purposive sampling technique. The questionnai were rating scale on frequencies of important competencies of nurse directors were adopted from the research results conducted by Angkana Sumathsittikul (1996). The nurse directors were asked to report their competencies themself and their subordinates report the nurse directors’ competencies. The reliability of the two instruments, calculated by the Cronbach Alpha Coefficient were 0.97 and 0.98, respectively. The were analysed by means, standard deviation, one - way ANOVA and Scheffe’s method. The major findings were as follows: 1. The entire competencies level of nurses directors were at middle level, the competencies of nursing staff development and directing were at high level, while the competencies of leadership, planning and organizing, controlling, nursing service marketing and transformation, academic and strategic planning were at middle level. 2. The competencies of the nuise directors when compared by age, position experience, level of education and the jurisdiction were as follows; 2.1 The entire competencies of the nurse directors at different level of age were no statistically significant different. The nursing service marketing and transformation competencies of the nurses directors between age 51+ and 36-40, were statistically significant different at .05 level. The mean score of the age 51+ was higher than that of age 36-40. 2.2 There was no statistically significant difference among the competencies of the nurses directors who were difference in position experiences. 2.3 The competencies of nurse directors at different level of education, were statistically significant different at .05 level. The mean scores in entire competencies as well as directing, leadership and strategic planning of those who hold the bachelor degree was higher than that of those who hold the certificate or diploma. The mean scores of academic competencies when compared among those who hole master degree, bachelor degree and certificateion or diploma, were the highest, middle and the less, respectively. 2.4 The competencies of nurse directors whose different in the jurisdiction were no statistically significant different in entire competencies, while nursing service marketing and transformation were statistically significant different at .01 level. The entire mean scores of those who were under the Ministry of Public Health was higher than that of those who were under the jurisdiction of the Ministry of Interior and Bangkok Metropolis. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70905 |
ISSN: | 9746391844 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanitha_ku_front.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 480.78 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kanitha_ku_ch1.pdf | บทที่ 1 | 659.52 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kanitha_ku_ch2.pdf | บทที่ 2 | 3.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kanitha_ku_ch3.pdf | บทที่ 3 | 443.33 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kanitha_ku_ch4.pdf | บทที่ 4 | 503.03 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kanitha_ku_ch5.pdf | บทที่ 5 | 618.92 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kanitha_ku_back.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.