Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71325
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง-
dc.contributor.authorสุภาภร ธีรสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-12-07T07:42:49Z-
dc.date.available2020-12-07T07:42:49Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743321144-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71325-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการยอมรับการฝึกอบรมทางไกลของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โครงการฝึกอบรมทางไกลของสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2) ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับกับการฝึกอบรมทางไกลของผู้เข้ารับการฝึกอบรมกับตัวแปรด้านคุณลักษณะของการฝึกอบรมทางไกล ด้านการสนับสนุน ด้านขั้นตอนการดำเนินการโครงการ และวิธีการเรียนด้วยตนเอง และ (3) ศึกษาตัวแปรที่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับการฝึกอบรมทางไกลของผู้เข้ารับการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการผู้เข้ารับการฝึกอบรมในโครงการฝึกอบรมทางไกลของสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือนปี พ.ศ.2541 จำนวน 994 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมทางไกลของสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน มีการยอมรับการฝึกอบรมทางไกลในระดับมาก 2. ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้ง 4 ด้านกับการยอมรับการฝึกอบรมทางไกลทั้ง 5 ขั้น พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 50 ตัว 3 อันดับแรก ได้แก่ การได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่า เมื่อเทียบกับเวลาที่เสียไปในการเข้าร่วมอบรม การนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาชุดการเรือนไปใช้ในการทำงาน และการได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมอบรมในหลักสูตร จากการวิจัยไม่พบตัวแปรใดที่มีความสัมพันธ์ทางลบ 3. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Method) พบว่าตัวแปรที่สามารถอธิบายการยอมรับ การฝึกอบรมทางไกลขั้นการรับรู้ ขั้นการจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ ขั้นการนำไปใช้ และขั้นยืนยันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 จำนวน 8,13,7,14 และ 11 ตัวตามลำดับ โดยตัวแปรทั้งหมดทุกตัวในแต่ละขั้นสามารถอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับการฝึกอบรมทางไกลได้เท่ากับ 41.74% , 52.94%, 40.00%, 52.32% และ 53.80% ตามลำดับ และตัวแปร ที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับการฝึกอบรมทางไกลได้ทุกขั้นมี 1 ตัวคือ การวางแผนการเรียนก่อนเริ่มศึกษา ชุดการเรียน 4. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้น (Stepwise Method) พบตัวแปรที่สามารถอธิบาย การยอมรับการฝึกอบรมทางไกลขั้นการรับรู้ ขั้นการจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ ขั้นการนำไปใช้ และขั้นการยืนยัน ได้อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 จำนวน 13,17,12,15 และ15 ตัวตามลำดับ โดยตัวแปรที่พบในแต่ละขั้นสามารถร่วมกับ อธิบาย ความแปรปรวบของการยอมรับการฝึกอบรมทางไกลได้เท่ากับ 40.30%, 51.79%, 38.35%, 50.05% และ 52.06% ตามลำดับ และตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับการฝึกอบรมทางไกลได้ทุกขั้นมี 1 ตัว คือ การวางแผนการเรียนก่อนเริ่มศึกษาชุดการเรียน-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to study the adoption of distance training of the trainees in distance Laming programme (2) to study the relationships between tile adoption of distance training of the trainees and four selected variables : the features of distance training, the training support, training programme procedures and sclf-Iearning methods and (3) to identify predictor variables in the adoption of distance training of the trainees. The subjects were 994 trainees participated in distance training programme of the civil senties training institute in 1998. The findings revealed that: 1. The trainees in distance training programme of tile civil service training institute adopted distance training in high level. 2. There were statistically significant positive relationships at .05 level between the adoption of distance training in five stages and 50 selected variables. The first three variables were: (1) valuable benefits when compared with time spent in training, (2) the application of knowledge from learning package to job situation, and (3) innumerable Irene fit from attending training course. No negative relationship variable was found in the study. 3. In multiple regression analysis (Enter Method) at .05 level, in knowledge stage, persuasion stage, decision stage, implementation stage and confirmation stage, there were 8, 13 ,7 , 14, and 11 predictor variables together were able to account for 41.74%, 52.94%, 40.00%, 52.32%, and 53.80% of the variance. The only variable found in every stage was plan the study prior to study self-learning package. 4. In stepwise multiple regression analysis at .05 level, in knowledge stage, persuasion stage, decision stage, implementation stage and confirmation stage, there were 13, 17, 12, 15, and 15 predictor variables together were able to account for 40.30%, 51.79%, 38.35%, 50.05%, and 52.06% of the variance. The only variable found in every stage was plan the study prior to study self-learning package.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือนen_US
dc.subjectการฝึกอบรมen_US
dc.subjectนวัตกรรมทางการศึกษาen_US
dc.subjectTrainingen_US
dc.subjectEducational innovationsen_US
dc.titleตัวแปรที่ส่งผลต่อการยอมรับการฝึกอบรมทางไกล ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในโครงการฝึกอบรมทางไกลของสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนen_US
dc.title.alternativeVariables affecting the adoption of distance training of the trainess in distance training programme of Civil Service Training Institute, Office of the Civil Service Commissionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorOnjaree.N@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_te_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.17 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_te_ch1_p.pdfบทที่ 11.2 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_te_ch2_p.pdfบทที่ 24.6 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_te_ch3_p.pdfบทที่ 31.46 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_te_ch4_p.pdfบทที่ 44.54 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_te_ch5_p.pdfบทที่ 52.7 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_te_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.