Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71412
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพศาล เล็กอุทัย-
dc.contributor.authorสุรรัฐ เนียมกลาง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-12-08T07:52:43Z-
dc.date.available2020-12-08T07:52:43Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746379496-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71412-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลห้องถิ่น โดยใช้ข้อมูลภาคตัดขวาง เป็นรายจังหวัดในปี พ.ศ. 2537 แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกพิจารณาความสามารถในการเสียภาษีของจังหวัด โดยกำหนดสมการอัตราส่วนภาษีแต่ละประเภทต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด มีปัจจัยทางเศรษฐกิจใดบ้างที่ มีอิทธิพลต่อการจัดเก็บภาษี โดยวิธิสมการถดถอย (Regression Approach) และในส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์ถึงความพยายาม ในการจัดเก็บภาษีของจังหวัด โดยพิจารณาถึงอัตราส่วนระหว่างอัตราส่วนภาษีที่เก็บได้จริงต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์ จังหวัดกับอัตราส่วนของภาษีที่คาดว่าจะเก็บได้หรือความสามารถในการเสียภาษีในการวิเคราะห์จากส่วนแรก จากผลการทดสอบสมการถดถอยของภาษีทั้งหมดพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีคือ มูลค่าผลิตภัณฑ์ จากภาคการธนาคาร มูลค่าผลิตภัณฑ์จากภาคอุตสาหกรรม มูลค่าผลิตภัณฑ์จากภาคการบริการและรายได้ต่อหัวของประชากรในจังหวัด เป็นปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดความสามารถในการเสียภาษีประเภทต่าง ๆ ในจังหวัด ซึ่งแสดงให้เห็น ถึงระดับการใช้เงิน การขยายตัวทางอุตสาหกรรมและการบริการ ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่เศรษฐกิจของประเทศ ผลการศึกษาปรากฎว่า แบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็น 4 กลุ่ม ตามความสามารถในการเสียภาษีและความพยายาม ในการจัดเก็บภาษีคือ กลุ่มแรก จังหวัดที่มีค่าความสามารถสูงและมีค่าความพยายามสูง กลุ่มที่ 2 จังหวัดที่มีค่าความสามารถสูงและมีค่าความพยายามตํ่า กลุ่มที่ 3 จังหวัดที่มีค่าความสามารถตํ่าและมีค่าความพยายามสูง และกลุ่มที่ 4 คือ จังหวัดที่มีค่าความสามารถในการเสียภาษีตํ่าและค่าความพยายามต่ำ การจัดแบ่งกลุ่มของจังหวัดนั้นก็เพื่อเป็นแนวทางในการ พิจารณาทั้งผลของการจัดเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่ภาษีและความพร้อมของจังหวัด รวมทั้งโครงสร้างทางเศรษฐกิจในจังหวัดที่จะเอื้อให้เกิดรายได้ และประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีตามพื้นฐานทางเศรษฐกิจของจังหวัด ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลห้องถิ่นพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีได้รับการ กำหนดจากรัฐบาลกลางแล้วจะส่งผลถึงห้องถิ่น การคลังของห้องถิ่นที่ถูกรวมศูนย์ไว้ส่วนกลาง โดยผ่านการบริหารตาม ลำดับขั้นจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการบริหารงานของตนเอง เพราะจะต้องพึ่งพาความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ จากรัฐบาลกลาง การบริหารและควบคุมงานของรัฐบาลห้องถิ่นควรจะเป็นอิสระทางการคลัง โดยรัฐบาลกลางควรจะพิจารณาวิธีการควบคุมดูแลรัฐบาลท้องถิ่นแทน ซึ่งจะสนองความต้องการของประชากรในห้องถิ่นได้อย่างดีและ มีประสิทธิภาพ ทั้งการลงทุนและการใช้จ่ายส่าหรับห้องถิ่น ขณะเคียวกันก็จะลดความช่วยเหลือและการพึ่งพาทางการคลังลง จากรัฐบาลกลาง ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้รัฐบาลห้องถิ่นมีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยรัฐบาลกลางจะคอยดูแลและเป็นผู้ตัดสินใจ ถึงต้นทุนและผลประโยชน์ในระดับชาติเท่านั้น-
dc.description.abstractalternativeThe goal of this paper is to analyze factors which are influential in provincial tax collection. This data used is from 1994 and categorized by provinces. The analysis is broken into two parts. First, the tax collection capacity among the provinces. This is found by regression analysis whose primary variable is tax rates per gross provincial product (GPP), and several economic variables influential in tax collection. Second, the tax collection effort of the provincial revenue departments. The primary focus here is on the proportion of actual tax collectable to GPP and expected tax collectable (or the tax collection capacity formerly mentioned in the first part of the analysis) The regression analysis results direct to four important factors in determining provincial tax collection of various types. They are banking sector , industrial sector , service sector output and provincial income per capita. They reflect not only spending level but also expansion by economic sectors, both are basic requirements for economic growth. The analysis divides the provinces into four groups based on tax payment capacity and the tax collection effort. The provinces are grouped as follow: Group 1 High tax payment capacity, high the tax collection effort. Group 2 High tax payment capacity, low the tax collection effort. Group 3 Low tax payment capacity, high the tax collection effort. Group 4 Low tax payment capacity, low the tax collection effort. The grouping provides directions for evaluating the performance of each provincial revenue department as well as for analyzing tax payment ability of each province. It also highlights those provinces with firm economic structure ideal for output growth thus large tax payment capacity. From the study, influential factors in local government tax collection are pre-determined by the central government. The central government manages the local communities fiscal policies, this causes inefficiency, therefore, the responsibility can and should fall on the local government. The local government should be allowed independence in determining its fiscal policies, while the central government’s roll should be limited to an overseer. The former is undoubtedly more in touch with its community than the latter, thus can better tailor policies to suit its citizens. In the long term, from standing on its own, the local government will be stronger and less dependent on the central government, allowing the latter to focus on national agendas.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีen_US
dc.subjectการจัดเก็บภาษีen_US
dc.subjectการคลังท้องถิ่นen_US
dc.subjectการปกครองท้องถิ่นen_US
dc.subjectTaxationen_US
dc.subjectTax collectionen_US
dc.subjectLocal financeen_US
dc.subjectLocal governmenten_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลท้องถิ่นen_US
dc.title.alternativeDeterminant of local government taxationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surarat_ni_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ329.29 kBAdobe PDFView/Open
Surarat_ni_ch1.pdfบทที่ 1447.12 kBAdobe PDFView/Open
Surarat_ni_ch2.pdfบทที่ 2964.5 kBAdobe PDFView/Open
Surarat_ni_ch3.pdfบทที่ 3790.37 kBAdobe PDFView/Open
Surarat_ni_ch4.pdfบทที่ 4954.14 kBAdobe PDFView/Open
Surarat_ni_ch5.pdfบทที่ 5495.35 kBAdobe PDFView/Open
Surarat_ni_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.