Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71556
Title: การเปรียบเทียบคุณสมบัติของคะแนนที่ได้จากมาตรวัดทัศนคติแบบลิเคอร์ท ด้วยวิธีการให้คะแนนแบบดั้งเดิม แบบอาร์เอสเอ็ม และแบบดีเอสเอ็ม
Other Titles: Comparison of the properties of likert's attitude scale scores obtained from classical, RSM, and DSM scoring methods
Authors: อำนาจ ไพนุชิต
Advisors: นงลักษณ์ วิรัชชัย
สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: มาตรวัดเจตคติแบบลิเคิร์ท
การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา)
Likert scale
Grading and marking (Students)
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของคะแนนที่ได้จากมาตรวัตทัศนคติแบบลิเคอร์ท ด้วยวิธีให้คะแนนแบบดั้งเดิม วิธีอาร์เอสเอ็ม และวิธีติเอสเอ็ม เครื่องมือวิจัยเป็นมาตรวัดทัศนคติ ต่อวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2538 จำนวน 731 คน และครูภาษาอังกฤษ ที่สอนนักเรียนกลุ่มดังกล่าวจำนวน 12 คน วิเคราะห์ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในตามสูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟ่าของครอนบาค วิเคราะห์ความสอดคล้องของคะแนน ความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ ด้วยสูตรสัมประสัทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันโพรดักโมเมนต์ และวิเคราะห์ความตรงตามทฤษฎีด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยันโดยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า คะแนนที่ได้จากวิธีเลขจำนวนเต็ม วิธีเบี่ยงเบนแบบชิกม่า วิธีอาร์เอสเอ็ม และวิธีดีเอสเอ็ม มีความสัมพันธ์กันสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.9236 ถึง 0.9965 คะแนนที่ได้จากวิธีอาร์เอสเอ็มมีค่าความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในสูงสุด ความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ของการให้คะแนนทั้ง 4 วิธี แตกต่างกัน โดยวิธีดีเอสเต็ม มีความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์สูงสุด ส่วนความตรงตามทฤษฎีไม่แตกต่างกัน โดยสรุป วิธีเบี่ยงเบนแบบชิกม่าให้คะแนนที่มีคุณสมบัติดีที่สุด รองลงมาคือ วิธีอาร์เอสเอ็ม วิธีดีเอสเอ็ม และวิธีเลขจำนวนเต็ม ตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the properties of Likert's attitude scale scores obtained from classical, RSM and DSM scoring methods. The research instrument was attitude scale towards English subject. The sample consisted of 731 Mattayom Suksa 6 students in Bangkok, Department of General Education, Ministry of Education, in the 1995 academic year and their 12 English teachers. Data were analyzed to detect internal consistency by Cronbach's alpha coefficient. Pearson's product-moment correlation coefficients were performed to determine the consistency of scores and the criterion-related validity. Confirmatory factor analyses were performed to determine the construct validity through LISREL. The major findings were : the scores obtained from arbitrary, sigma deviation, RSM and DSM scoring methods were highly correlated, ranging from .9236 to .9965. Scores obtained from RSM scoring method provided the highest internal consistency reliability. The criterion-related validities of four scoring methods were significantly different, with the DSM as the highest. The construct validities of the four scoring methods were not significantly different. As a whole, the properties scoring method were the best; followed respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71556
ISBN: 9746342215
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amnad_ph_front_p.pdfหน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ1.19 MBAdobe PDFView/Open
Amnad_ph_ch1_p.pdfบทที่ 11.66 MBAdobe PDFView/Open
Amnad_ph_ch2_p.pdfบทที่ 22.28 MBAdobe PDFView/Open
Amnad_ph_ch3_p.pdfบทที่ 31.34 MBAdobe PDFView/Open
Amnad_ph_ch4_p.pdfบทที่ 43.41 MBAdobe PDFView/Open
Amnad_ph_ch5_p.pdfบทที่ 5933.52 kBAdobe PDFView/Open
Amnad_ph_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก5.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.