Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71856
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพวาณี หอมสนิท-
dc.contributor.authorรุ่งทิวา พันธุ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-01-21T03:27:06Z-
dc.date.available2021-01-21T03:27:06Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746342134-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71856-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนอาชีวศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนอาชีวศึกษา 2 สังกัด คือ สังกัดกรมอาชีวศึกษาและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน โดยส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานป้องกันยาเสพติดในโรงเรียน จำนวน 105 โรงเรียน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 97 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.4 แล้วนำข้อมลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า “ที” (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนอาชีวศึกษา โดยส่วนรวม มีการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในโรงเรียน โดยมีการวางแผนการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดแน่นอนตลอดปี มีคณะกรรมการดำเนินงาน มีการให้ความรู้ การจัดกิจกรรมเสริมความรู้ การบริการให้คำปรึกษา มีแผนการประเมินผล โดยประเมินผลภาคเรียนละครั้ง โดยใช้การสังเกต และทมีการนิเทศติดตามผลเป็นครั้งคราว มีการสำรวจการใช้ยาเสพติคของนักเรียน ซึ่งยาเสพติดที่พบ คือ บุหรี่ รองลงไปคือ แอมเฟตามีน สุรา เฮโรอีน และกัญชา ตามลำดับ 2. ปัญหาการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนอาชีวศึกษา มีปัญหาในระดับปานกลาง ได้แก่ การขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการแก้ปัญหายาเสพติด การวิเคราะห์หาสาเหตุเด็กติดยาเสพติด แผนการดำเนินงานป้องกันยาเสพติด และการขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ และชุมชน ในการแก้ปัญหายาเสพติด 3. เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนอาชีวศึกษา ตามสังกัด พบว่า โรงเรียนอาชีวศึกษาทั้ง 2 สังกัด มีปัญหาการดำเนินงานป้องกันยาเสพติด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า โรงเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา มีปัญหาในเรี่อง การนำผลการนิเทศมาใช้ในการดำเนินงานป้องกันยาเสพติด และในเรื่องความร่วมมือของ บุคลากรในการประเมินผลการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนมากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทระดับ . 05-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study and compare the state and problems on narcotic prevention operation among two departments of vocational schools: the public vocational schools; and the private vocational schools. The questionnaires comprised of three areas in planning, operation, and evaluation on narcotic prevention operation. The questionnaires were distributed to the administrators and teachers who were incharge of narcotic prevention in each school. Ninty-seven questionnaires, accounting for 92.4 percent, were returned. The data were then statistically analyzed to obtain percentages, means, and standard deviations. A t-test was also employed to determine the significant differences at the .05 level. The results of the study were as follows: 1. There was narcotic prevention operation in vocational schools. There was whole year planning for narcotic prevention by the school committee. There were activities for narcotic campaign on the following areas: knowledge about narcotic; activities concerned with narcotic treatment, exibition, and counselling. There was planning of evaluation in each term by observation. There was occasional supervision. The narcotic that were found in schools included cigarettes, amphetamines, alcohol, heroin and marihuana, respectively. 2. Problems on narcotic prevention operation were mostly found to be at the "moderate" level. These problems included guardians collaboration, analyzing of the causes on drug addiction, planning for prevention campaign and community cooperation in solving drug problems. 3. There were no statistically significant differences at the .05 level between means of the total problems of vocational schools excepts the problems of the two items on the use of supervising results on narcotic campaign, and the cooperation of school personnel for evaluation of narcotic prevention operation which the public vocational schools had more problems than private vocational schools.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการควบคุมยาเสพติด-
dc.subjectโรงเรียนอาชีวศึกษา-
dc.titleสภาพและปัญหาการดำเนินงานป้องกันยาเสพติด ในโรงเรียนอาชีวศึกษา ในกรุงเทพมหานคร-
dc.title.alternativeState and problems in narcotic prevention operation in vocational schools in Bangkok metropolis-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพลศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungtiwa_pa_front_p.pdf885 kBAdobe PDFView/Open
Rungtiwa_pa_ch1_p.pdf844.59 kBAdobe PDFView/Open
Rungtiwa_pa_ch2_p.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Rungtiwa_pa_ch3_p.pdf765.24 kBAdobe PDFView/Open
Rungtiwa_pa_ch4_p.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Rungtiwa_pa_ch5_p.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Rungtiwa_pa_back_p.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.