Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72511
Title: | ประสิทธิผลเปรียบเทียบของแอนโดรเจนชนิดต่างๆที่มีต่อหน้าที่การทำงานของสมอง และต่อมใต้สมองส่วนหน้าในหนูตัวเมียแรกเกิด |
Other Titles: | Comparative effectiveness of various androgens on brain and adenohypophyseal function of neonatal female rate |
Authors: | อำพา เหลืองภิรมย์ |
Advisors: | พุฒิพงศ์ วรวุฒิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | แอนโดรเจน หนู -- การสืบพันธุ์ Rats --Reproduction Androgens |
Issue Date: | 2516 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในการศึกษาผลของฮอร์โมนแอนโครเจนชนิดต่างๆ ต่อ differentiation ของสมองส่วนที่ควบคุมต่อมใต้สมองส่วนหน้าที่เกี่ยวกับการตกไข่และวงสืบพันธุ์ในหนูตัวเมียแรกเกิดโดยการฉีด testosterone propionate (TP) 5-1000 ไมโครกรัม, dehydroepiandrosterone (DHA) 50-2500 ไมโครกรัม, androstenedione 500-2500 ไมโครกรัมและ 5 ∝ - androstan-3 ∝ 01-17 one 1000-2000 ไมโครกรัมเข้าทางใต้ผิวหนังแก่ลูกหนูตัวเมียแรกเกิดอายุ 3-12 วัน เพื่อหา critical time ของ TP ที่จะมีต่อ differentiation ของสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและรังไข่และเปรียบเทียบผลของฮอร์โมนแอนโดรเจนต่างๆ โดยดูช่วงเวลาของการเปิดของช่องคลอดครั้งแรก, ผลของการทำ vaginal smear และหา incidence of sterility (I.S.) เมื่ออายุ 90 วัน ผลปรากฎว่า TP 1000 ไมโครกรัมที่สามารถเปลี่ยนแปลง differentiation ของสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและรังไข่ของหนูเพศเมียแรกเกิดไปเป็นแบบเพศผู้อยู่ระหว่างอายุ 6-10 วันและถ้าฉีด TP ซึ่งมีปริมาณเท่ากันนี้แก่ลูกหนูขาวอายุมากกว่า 10 วันหลังเกิดขึ้นไปจะไม่มีผลต่อ differentiation ของสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและรังไข่และพบว่ามีวงสืบพันธุ์ปกติเหมือนหนูขาวปกติที่ได้รับการฉีดน้ำมันมะกอกถึงแม้จะมีอายุ 90 วันแล้วก็ตามในการศึกษาเปรียบเทียบผลของแอนโดรเจนชนิดต่างๆ ต่อ differentiation ของสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและรังไข่พบว่า androstenedione 500 และ 2500 ไมโครกรัมฉีดให้แก่หนูอายุ 3 วัน มี I.S. = 20 และ 50%, DHA 1000 และ 1500 ไมโครกรัมมีผลทำให้เกิด I.S. = 83.3 และ 100% ส่วน TP 5 และ 10 ไมโครกรัมทำให้เกิด I.S. = 83.3 และ 90% ตามลำดับขณะอายุ 90 วัน และเป็นที่น่าประหลาดใจว่า TP ปริมาณสูงๆ เช่น 500-1000 ไมโครกรัมมีผลยืดเวลาของการเปิดของช่องคลอดและในบางกรณีมีผลห้ามการเปิดของช่องคลอดได้อย่างถาวรถึงแม้ว่าลักษณะโครงร่างกายในของรังไข่เมื่อศึกษาทาง histology พบว่ามีลักษณะคล้ายกับหนูขาวที่มี persistent vaginal cornification นอกจากนี้ยากดประสาทชนิด reserpine เมื่อฉีดให้แก่หนูขาวก่อน 6 ชั่วโมง (แก่หนูอายุ 4½ - 5 วันหลังเกิด) พบว่ามีผลลด I.S. ได้เช่น reserpine 7.5 และ 10 ไมโครกรัม ฉีดให้แก่หนูอายุ 5 วันก่อนฉีก TP 6 ชั่วโมง มีผลทำให้เกิด I.S. = 33.3 และ 40% ตามลำดับขณะอายุ 90 วันในทางตรงกันข้ามถ้าฉีด monoamine exidase inhibitor ชนิด marplan และ marsilid ให้แก่หนูขาวอายุ 5 วันก่อนฉีด reserpine 1 ชั่วโมงและอีก 6 ชั่วโมงต่อมาฉีดด้วย TP มีผลลด I.S. ได้เช่นการฉีด marplan และ marsilid 100 และ 200 ไมโครกรัมร่วมกับ reserpine 7.5 ไมโครกรัมและ TP 50 ไมโครกรัมมีผลทำให้เกิด I.S. = 60 และ 37.3% ตามลำดับขณะอายุ 90 วัน ผลที่ได้จากการทดลองอาจสรุปได้ว่า 1) Testosterone น่าจะเป็น specific hormone สำหรับ determine แบบของ differentiation ของสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและรังไข่ในตอนแรกเกิด 2) Metabolism ของ biogenic monoamine ในระยะวิกฤต (6-10 วัน) น่าจะมีบทบาทสำคัญในการควบคุม differentiation ของสมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมน gonadotrophin จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า 3) อาจเป็นไปได้ว่า testosterone propionate มีผลเพิ่มระดับของ monoamines บางตัวภายในสมองส่วน hypothalamus ในระยะวิกฤติของการ differentiation ของสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของต่อมใต้สมองและรังไข่ในหนูตัวเมียแรกเกิดอายุ 6-10 วัน |
Other Abstract: | The purpose of this study was to compare effective ness of various androgens on differentiation of brain function controlling adenohypophyseal regulating ovulation and nestrous cycle in neonatal rats. Five to one thousand micrograms of testosterone propionate (TP), 50-2500 micrograms androstenedione and 1000-2000 micrograms 5 ∝ - androstan-3 ∝ 0.1-17 one were administered subcutaneously into female infant rats of 3-12 days old in order to compare effects of these androgens on the day of vagina opening, pattern of vaginal smear as well as the incidence of sterility (I.S.) when the age of treated animals reaching maturity (up to 90 days old). Result showed that the critical percid of 1000 ug TP on altering the female type of brain differentiation was between 6-10 days old induced prompt persistent vaginal cornification right after the opening of the vagina while injection of TP after 10 days old were unable to influence the regularity of reproduction of the females treated at least up to 90 days of age. Treatment with androstenedione 500 and 2500 ug at 3 days of age showed 20 and 50% of the I.S. at 90 days old white dehydroepiandrosterone 1000 and 1500 ug showed 83.3 and 100% and TP as small as 5 ug and 10 ug showed 83.3 and 90% respectively. Surprisingly, high dose of TP (500-1000 ug) showed significantly delay or in some cases inhibiting effects on the canalization of the vaginal lumen inspite of the histological picture of the ovaries of these animals are very similar to animals who showed persistent vaginal cornification. The tranqulizing drug, reserpine, when given half a day prior to TP treatment (on day 4½ - 5 after birth), showed significant reduction of the incidence of sterility. Treatment with reserpine 7.5 and 10.0 ug prior to TP at 5 days of age showed 33.3 and 40% of the I.S. at 90 days old respectively. On the other hand, monoamine oxidase inhibitors, marplan and marsilid, when given one hour prior to reserpine and TP at the dose of 100 and 200 ug showed significant increased of the I.S. to 60 and 37.3% at 90 days old respectively. It is concluded that 1) Testosterone, but not other androgens, would be a specific hormone for determining brain sexual differentiation of neonatal rats 2) Metabolism of biologically active monoamines during critical period (6-10 days old) may probably play significant influences upon brain sexual differentiation. 3) Evidences favor the possibility of testosterone effect on brain sexual differentiation during the critical period of neonatal life via the metabolism of brain biogenic monoamines. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ชีววิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72511 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1973.2 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1973.2 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ampa_lu_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Ampa_lu_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Ampa_lu_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 678.65 kB | Adobe PDF | View/Open |
Ampa_lu_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Ampa_lu_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 3.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Ampa_lu_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Ampa_lu_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.