Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73543
Title: อุบัติเหตุจักรยานยนต์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Motorcycle accident and associated factots at Chulalongkorn Hospital
Authors: สมจินดา ชมพูนุท
Advisors: ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร
ภิรมย์ กมลรัตนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Pirom.K@Chula.ac.th
Subjects: อุบัติเหตุจากการขับขี่จักรยานยนต์
อุบัติเหตุทางถนน
Motorcycling accidents
Traffic accidents
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาอัตราการเกิดอุบัติเหตุจักรยานยนต์และปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุจักรยานยนต์ ที่หน่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ปี พ.ศ. 2534 เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยใหม่ที่ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์ทุกรายระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือน ธันวาคม โดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ และการบันทึกในบัตรตรวจโรคผู้ป่วยนอก จำนวน 399 รายผลการวิจัย พบว่า อัตราการเกิดอุบัติเหตุจักรยานยนต์สูงสุด เดือนธันวาคม ร้อยละ 30.21 ผู้ขับขี่จักรยานยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ พบมากใน เพศชาย อายุระหว่าง 18-22 ปี มีอาชีพรับจ้าง ประสบการณ์ในการขับขี่รถจักรยานยนต์ระยะเวลา 1-3 ปี สภาพร่างกายปกติ และไม่ได้สวมหมวกนิรภัย รถจักรยานยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 2 ปี สภาพรถสมบูรณ์ ไม่มีการดัดแปลง อุบัติเหตุเกิดมากในวันอาทิตย์ ช่วงเวลา 21.01-24.00 น. เกิดอุบัติเหตุร่วมกับยานพาหนะอื่น อวัยวะ ที่ได้รับบาดเจ็บมากสุด คือ ขาและเท้า บาดเจ็บเล็กน้อยจากการทดสอบทางสถิติ พบว่า อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บกับการสวมหมวกนิรภัย มีความ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01) และวันที่เกิดอุบัติเหตุกับความรุนแรงของการ บาดเจ็บ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)
Other Abstract: The objective of this research was to study the incidence and factors associated with motorcycle accidents at the Emergency unit, Chulalongkorn hospital in 1991. A health interviews and health record survey were made of the factors associated with motorcycle accident of 399 patients during 3 month (October to December). It was found that proportion of motorcycle accident was 30.21%. Most of the patients were young male employees. 83.5 percents did not wear a helmet during driving. Most accidents happened on Sunday between 9 p.m. to midnight. Legs and feet were the major injured part of the body and most of them were minor accident. A study association was found between site of injured organs and wearing of helmet. Day of accident was also associated with severity of accident.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม))--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73543
ISBN: 9745815071
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somjinda_ch_front_p.pdf964.82 kBAdobe PDFView/Open
Somjinda_ch_ch1_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Somjinda_ch_ch2_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Somjinda_ch_ch3_p.pdf739.77 kBAdobe PDFView/Open
Somjinda_ch_ch4_p.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Somjinda_ch_ch5_p.pdf881 kBAdobe PDFView/Open
Somjinda_ch_ch6_p.pdf677.96 kBAdobe PDFView/Open
Somjinda_ch_back_p.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.