Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73653
Title: การใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 8
Other Titles: The implementation of elementary school curriculum B.E. 2521 (revised edition B.E. 2533) in elementary schools under the jurisdiction of the effice of the National Primary Education Commision, Educational Region eight
Authors: ลมัย จันต๊ะยอด
Advisors: ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: jaitip.n@chula.ac.th
Subjects: การศึกษาขั้นประถม -- หลักสูตร
การวางแผนหลักสูตร
โรงเรียนประถมศึกษา -- ไทย (ภาคเหนือ)
Education, Elementary -- Curriculum
Curriculum planning
Elementary schools -- Thailand (Northern)
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 8 ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนชั้นประถมปีที่ 1 จำนวน ทั้งสิ้น 722 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา 621 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86.01 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน โรงเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่มีการวางแผนการใช้หลักสูตร ผู้บริหารโรงเรียนและครูชั้นประถมปีที่ 1 ศึกษารายละเอียดของหลักสูตรจากเอกสารด้วยตนเอง ครูประถมปีที่ 1 ร่วมกันจัดทำแผนการสอนโดยมีศึกษานิเทศก์อำเภอให้ความช่วยเหลือ และมีการจัดทำวัสดุและเอกสาร ประกอบหลักสูตร ปัญหาที่พบได้แก่ ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการวางแผนการใช้หลักสูตรและการเขียนแผนการสอน ครูมีภาระรับผิดชอบมาก ได้รับวัสดุ เอกสารประกอบหลักสูตรและสื่อการสอนล่าช้า และมี จำนวนจำกัด 2. ด้านการจัดปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อการใช้หลักสูตร โรงเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่ มีการเตรียมบุคลากรในการใช้หลักสูตร โดยส่งครูเข้ารับการฝึกอบรม ผู้บริหารโรงเรียนช่วยเหลือครูชั้น ป.1 จัดทำตารางสอน มีการจัดครูเข้าสอน โดยคำนึงถึงความรู้และประสบการณ์ของครู มีการจัด จัดเตรียมอาคาร สถานที่สำหรับการใช้หลักสูตร มีการนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตรโดยการเยี่ยมชั้นเรียนและมีการประชา สัมพันธ์หลักสูตรโดยการประชุมชี้แจงให้ผู้ปกครองได้เข้าใจ ปัญหาที่พบได้แก่ ระยะเวลาในการเตรียมบุคลากร มีน้อย จำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอ ไม่ได้รับการนิเทศจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด และผู้ปกครอง ไม่เห็นความสำคัญของการประชาสัมพันธ์หลักสูตร 3. ด้านการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารโรงเรียนมีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของ ครู โดยให้ครูเตรียมการสอนล่วงหน้า ตรวจบันทึกเตรียมการสอนของครู ส่งครูเข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชา การ ให้คำปรึกษาแนะนำและส่งเสริมให้ครูจัดทำสื่อการเรียนการสอน ครูชั้นประถมปีที่ 1 เตรียมการสอนทุก ครั้งที่สอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ใช้ทักษะกระบวนการ 9 ขั้นในการสอน โดยเลือกเทคนิคให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหา และมีการวัดและประเมินผลการเรียนเพื่อปรับปรุง แก้ไขพฤติกรรมและการเรียนของนักเรียน ปัญหาที่พบได้แก่ ครูสอนหลายวิชาไม่สามารถเตรียมการสอนได้ เต็มที่ ขาดทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย สื่อการสอนไม่ครบทุกกลุ่มประสบการณ์ ขาดทักษะในการใช้เทคนิคและวิธีสอนใหม่ ๆ และขาดเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ที่เป็นมาตรฐาน
Other Abstract: The purposes of this research were to study the states and problems concerning the implementation of Elementary School Curriculum B.E. 2521 (Revised Edition B.E. 2533) in elementary schools under the jurisdiction of the office of the National Primary Education Commission, Educational Region Eight. Seven hundred and twenty two questionnaires were distributed to the school administrators and the prathom-suksa-one teacher, 621 or 86.01 percent of which were completed and returned. The data were analized by using percentage. Research findings were as follows : With regards to curriculum management, there was curriculum implementation planning in most elementary schools. Of the curriculum from the documents by themselves. Lesson plans were developed among the teachers with the help of the educational district supervisors. They also prepared curriculum materials as well as curriculum accessories. The problems were that the teachers did not sufficiently understand how to make neither curriculum implementation planning nor lesson plans, that they lack documents and knowledge resources, that they were overburdened with responsibilities, that they received complementary materials late and that the materials were limited in number. Concerning curriculum facilities provision, most primary schools had their personnel trained in curriculum implementation courses. School administrator helped their teachers to make teaching schedules and the teachers were assigned to teach according to their knowledge and expediences. Places for curriculum implementation and follow-up supervision through class-room Visits were provided. Meetings with parents were conducted so that the curriculum would be informed and explained to them. The problems were insufficient time in personnel preparation, inadequate classrooms, the teachers’ lack of supervision from the educational provincial supervisors, and the parents’ lack of interest in curriculum information.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73653
ISBN: 9745814555
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lamai_ch_front_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Lamai_ch_ch1_p.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Lamai_ch_ch2_p.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open
Lamai_ch_ch3_p.pdf796.21 kBAdobe PDFView/Open
Lamai_ch_ch4_p.pdf5.83 MBAdobe PDFView/Open
Lamai_ch_ch5_p.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Lamai_ch_back_p.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.