Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73867
Title: | นโยบายต่างประเทศของไทยต่อปัญหากัมพูชา สมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
Other Titles: | Thailand's policy toward the Kampuchean problem during the period of the Chatichai Choonhavan government |
Authors: | สมจิตต์ สาสนรักกิจ |
Advisors: | สุขุมพันธุ์ บริพัตร อภิญญา รัตนมงคลมาศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล Abhinya.R@Chula.ac.th |
Subjects: | ชาติชาย ชุณหะวัณ, พล.อ., 2465-2541 นโยบายต่างประเทศ -- ไทย ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- กัมพูชา กัมพูชา -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ไทย Chatichai Choonhavan International relations -- Thailand Thailand -- Foreign relations -- Cambodia Cambodia -- Foreign relations -- Thailand |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาการปรับนโยบายของไทยต่อปัญหากัมพูชา สมัยรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ปัจจัย ซึ่งมีอิทธิพลต่อการปรับนโยบายดังกล่าว โดย มีสมมุติฐานว่า การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลไทยเมื่อเดือนสิงหาคม 2531 โดย พลตรี (ภายหลัง พลเอก) ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แทน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปรับนโยบายของไทยต่อปัญหากัมพูชา จากการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ปรากฏว่า ความเปลี่ยนแปลงซึ่งได้เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมภานนอกของ ประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจ ตลอดจนการปรับนโยบายทาง ด้านความมั่งคงและเศรษฐกิจของเวียดนาม และความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจการเมือง ภายในของไทย เป็นปัจจัยสำคัญที่มีความเกี่ยวโยงกับนโยบายไทยต่อปัญหากัมพูชาในช่วงรัฐบาลของ พลเอกชาติชาย และ เป็นบริบทสำคัญแห่งการปรับนโยบายดังกล่าว แต่หาใช่เป็นเงื่อนไขที่เพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดการปรับนโยบาย นั้นไม่ ทั้งนี้เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ แล้ว แต่ ไม่ได้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนในนโยบายดังกล่าวแต่อย่างใด ผลการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ยืนยันสนับสนุน สมมุติฐานของวิทยานิพนธ์ว่า ปัจจัยหลักที่มี อิทธิพลต่อการปรับนโยบายไทยต่อปัญหากัมพูชา ได้แก่การเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จาก พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็น พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ทั้งนี้เนื่องจากว่า หัวหน้ารัฐบาลคนใหม่เป็นผู้ ซึ่งมีแนวคิดที่ต่างจากแนวคิดของผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศของไทย ในสมัยรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นที่จะปรับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนการแก้ ไขปัญหากัมพูชาอย่างเร่งด่วน และ เป็นผู้ซึ่งมีทั้งอำนาจโดยตำแหน่ง และความกล้า ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญชาญทางการทูตส่วนตัวเพียงพอที่จะนำแนวคิดดังกล่าวไปปฏิบัติเป็นนโยบาย |
Other Abstract: | The thesis attempts to study the adaptation of Thai policy toward the Kampuchean Problem during the period of the Chatichai Choonhavan government. The objective is to analyze the factor, or factors, that influenced Thai policy towards the Kampuchean problem during the said period. The hypothesis of this study is that the most significant factor that determined the adaptation of Thai policy toward the Kampuchean problem is the change of government in August 1988, when Major General (later General) Chatichai Choonhavan replaced General Prem Tinsulanonda as prime minister. The study found that changes in Thailand’s external environment, particularly rapprochement among major powers and the changes in Vietnam’s security and economic policies, as well as Thailand’s longer-term domestic political and economic changes, were necessary conditions and provided the necessary context for the adaptation of Thai policy toward the Kampuchean problem during the period of the Chatichai Government. For these changes had already taken place during the Prem Government without bringing about any adjustment of Thailand’s Kampuchean policy. The study, however, verified the hypothesis of this thesis that the factor which most influenced the adaptation of Thai policy toward the Kampuchean problem was the change of prime ministers from General Prem Tinsulanonda to General Chatichai Choonhavan. The reason is that the new government leader had very different ideas from those of the foreign policy makers in the previous government concerning the immediate need to improve relations with neighbours and resolve the Kampuchean conflict, and had both the official authority and the personal daring, experience, and diplomatic skills to translate those ideas into practice. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73867 |
ISBN: | 9745794023 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somchit_sa_front_p.pdf | 935.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchit_sa_ch1_p.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchit_sa_ch2_p.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchit_sa_ch3_p.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchit_sa_ch4_p.pdf | 2.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchit_sa_ch5_p.pdf | 874.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchit_sa_back_p.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.