Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73985
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิศนา แขมมณี-
dc.contributor.advisorอุดมลักษณ์ กุลพิจิตร-
dc.contributor.authorระพีวรรณ คล้ายแดง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-06-22T07:04:14Z-
dc.date.available2021-06-22T07:04:14Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745794856-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73985-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนิมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะพฤติกรรมทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนชั้นเด็กเล็กที่บ้านและที่โรงเรียนในหมู่บ้านจังหวัดนครราชสีมา โดยมีกลุ่มประชากรคือ นักเรียนชั้นเด็กเล็กที่มีอายุ 5-6 ปีจำนวน 10 คน ใช้วิธีดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการทางมานุษยวิทยา โดยผู้วิจัยเข้าไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ศึกษา และใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมเป็นเวลานาน 4 เดือน ต่อจากนั้นจึงดำเนินการสังเคราะห์และเขียนรายงานผลการวิจัย โดยใช้วิธีพรรณนาวิเคราะห์เป็นหลัก ผลการวิจัยพบว่า เด็กส่วนใหญ่แสดงอารมณ์คับข้องใจ อารมณ์โกรธ กลัว อิจฉาริษยา อยากรู้อยากเห็น สนุกสนานและอารมณ์รัก อย่างเปิดเผย แต่จะรุนแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความรู้สึกและการเรียกร้องของเด็ก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูที่เด็กเคยได้รับรวมทั้ง การกระทำและการตอบสนองของผู้ใหญ่ หรีอพี่น้อง หรือกลุ่มเพื่อนที่มีต่อเด็ก ร่วนพฤติกรรมทางสังคม ที่พบคือ การเป็นผู้นำ การเป็นผู้ตาม การร่วมมือ การมีน้ำใจ การเห็นอกเห็นใจ และความเกรงใจ และความมากน้อยของการแสดงออก พบว่าเกิดจากลักษณะสังคมในชนบทที่มีการช่วยเหลือ แบ่งปันกันรวมถึงการที่ผู้ใหญ่มุ่งเน้นให้เด็กมีการเคารพเชื่อฟัง และการลงโทษเมื่อเด็กไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอน นอกจากนี้ยังพบพฤติกรรมที่ผู้ใหญ่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวเด็กได้แก่ การต่อต้าน การก้าวร้าว การทะเลาะวิวาท และการแบ่งเพศ เด็กแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ เนื่องจากการถูกบังคับควบคุม และการเห็นตัวแบบจากผู้ใหญ่ แต่การแสดงออกส่วนใหญ่ก็ไม่รุนแรงจนก่อให้เกิดปัญหา ผลการวิจัย เกี่ยวกับการเปรียบเทียบลักษณะพฤติกรรมเมื่ออยู่ที่บ้านและที่โรงเรียน พบว่า มีพฤติกรรมที่เด่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันคือ เมื่ออยูที่บ้านเด็กแสดงอารมณ์โกรธอย่างเปิดเผย และพ่อแม่เน้นการอบรมสั่งสอนให้เด็กมีความเกรงใจผู้อื่นสูงมาก ส่วนพฤติกรรมที่เด่นชัดเมื่ออยู่ที่โรงเรียนได้แก่ การเป็นผู้นำ ผู้ตาม และการแข่งขัน-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research study was to investigate and compare emotional and social behaviours of preschool children at home and at school in a village, Changwat Nakhon Ratchasima. The population was ten 5-6 years old preschool students. The research study was conducted by means of ethnographic methodology. The researcher stayed in the village using participant observation and interview techniques for four months, then synthesized data by means of domain analysis and componential analysis, and presented the findings through analytic description. Findings on children's emotional behaviours were that most children openly expressed their emotional frustration or anger, fear, envy or jealously, curiosity, joy and affection. Degree of their expression depended on the child 's feelings and demands which related with the basis of child's rearing received as well as adult's, sibling's or peer group's actions and responses. Children's social behaviours, leadership, conformity, cooperation, generosity, sympathy and consideration were found to be related to characteristics of rural society which emphasized helping and sharing as well as obedience and punishment. Children's behaviours that would not be accepted by adults were resistance, aggression, quarrelling and sex antagonism. However, children expressed these behaviours according to adults' inconsistant control and negative modelling. Nevertheless, children's expression was not so violent to creste problems. Comparison between children's behaviours at home and at school were found that children's distinctive behaviours at home were openly expressing anger and self-reliance. Parents were also found to emphasize teaching children to be considerate to other people. Children's distinctive behaviours at school were leadership, conformity and competition.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในเด็กen_US
dc.subjectอารมณ์ในเด็กen_US
dc.subjectเด็กวัยก่อนเข้าเรียน -- ไทยen_US
dc.subjectInterpersonal relations in childrenen_US
dc.subjectEmotions in childrenen_US
dc.subjectPreschool children -- Thailanden_US
dc.titleการศึกษาพฤติกรรมทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนชั้นเด็กเล็กที่บ้าน และที่โรงเรียนในหมู่บ้านจังหวัดนครราชสีมา : การศึกษาเฉพาะกรณีen_US
dc.title.alternativeStudy of emotional and scial behaiors of preschool children at home and at school in a Village, Changwat Nakhon Ratchasima : A case studyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประถมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTisana.K@chula.ac.th-
dc.email.advisorUdomluck.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rapeevan_kl_front_p.pdf937.64 kBAdobe PDFView/Open
Rapeevan_kl_ch1_p.pdf979.83 kBAdobe PDFView/Open
Rapeevan_kl_ch2_p.pdf5.79 MBAdobe PDFView/Open
Rapeevan_kl_ch3_p.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Rapeevan_kl_ch4_p.pdf11.94 MBAdobe PDFView/Open
Rapeevan_kl_ch5_p.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Rapeevan_kl_back_p.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.