Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74711
Title: | การศึกษาความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมทางกายภาพกับการเกิดคดีอาชญากรรม : กรณีศึกษาเขตสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ |
Other Titles: | Relationship of physical environment and the occurrence of crime : an empirical study of Bangsue police station |
Authors: | เจียมจิต ดวงอุไร |
Advisors: | วัชรพล ประสารราชกิจ ขวัญสรวง อติโพธิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | อาชญากรรม -- ไทย -- กรุงเทพฯ การป้องกันอาชญากรรม -- ไทย -- กรุงเทพฯ การเกิดเป็นเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ Crime -- Thailand -- Bangkok Crime prevention -- Thailand -- Bangkok Urbanization -- Thailand -- Bangkok |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมทางกายภาพในลักษณะต่าง ๆของพื้นที่เมืองกับการก่อคดีอาชญากรรมของมนุษย์ โดยการศึกษาว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้น นอกจากจะมีประโยชน์เพื่อการใช้สอยแล้ว ยังมีผลกระทบในด้านอื่น ๆ เช่น ด้านสังคม จิตวิทยาและพฤติกรรมของมนุษย์อย่างไรบ้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการก่อคดีอาชญากรรม ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์ การศึกษานี้ได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ย่อยเพื่อเป็นตัวแทนการศึกษาจากลักษณะของการใช้ที่ดินภายในเขตเมือง ซึ่งใช้เขตสถานีตำรวจนครบาลบางชื่อเป็นกรณีศึกษา โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาจากระดับของการเป็นพื้นที่สาธารณะในระดับเมือง ไปจนถึงการเป็นชุมชนพักอาศัยเป็นการเฉพาะทำให้สามารถคัดเลือกพื้นที่ย่อยเพื่อทำการศึกษาได้ 7 บริเวณ แบ่งเป็นพื้นที่สาธารณะระดับเมือง 3 บริเวณ ได้แก่ สถานีขนส่งสายเหนือ สวนตลาดนัดจตุจักร ย่านการค้าสะพานควาย และพื้นที่ย่านที่พักอาศัย 4 บริเวณ คือ ชุมชนวัดไผ่ตันย่านสุทธิสาร ซอยอารีย์ และบ้านพักรถไฟกม. 11 ผลการวิจัยพบว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่สาธารณะระดับเมือง มีผลต่อการเกิดคดีอาชญากรรมทุกประเภท ทั้งในจำนวนและความถี่ของการเกิดคดี และสำหรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่พักอาศัยในชุมชนเมือง จะมีการเกิดคดีอาชญากรรมแตกต่างกันไปตามความหนาแน่น และลักษณะประชากรภายในพื้นที่ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการแสดงอาณาเขตในการครอบครองพื้นที่ และการกำหนดบริเวณพื้นที่ป้องกันตนเอง ตลอดจนการกระตุ้นให้เกิดความรู้จักและร่วมมือกัน อันเป็นคุณสมบัติของสภาพแวดล้อมทางกายภาพในการป้องกันการเกิดคดีอาชญากรรมมีความแตกต่างกันไป ตามลักษณะของการใช้ที่ดินในเมืองจึงทำให้อาชญากรรมอาศัยช่วงโอกาสในการกระทำความผิดในคดีต่าง ๆ ได้มากน้อยแตกต่างกัน |
Other Abstract: | The research is aimed at studying the relationship between different physical environment in urban area and the occurrence of crime. It is to study how physical environment that created by human and being utilized will effect. to various aspects such as social, psychological and behavioral aspects, in particular to the occurrence of crime that is considered to be one of human behaviors. Sub area, determined Bang sue Police Station as an empirical study, is choosen to be a representative of land use characteristics in urban area. The criterias are considered from the level of public space at urban level to the only residential area. From such riterias, 7 sub-areas are choosen us follow; 3 public spaces which are Northern Transport Station, Jaturajak Market Fair, Sapankwai Trade Area, and 4 residential areas which are Wat Phaitan Community, Suthisarn area, Soi Art, and trainman residential area at km11. The research is founded that the physical environment of public space at urban level has effect to the occurence of every type of crimes both in number and frequency, and for the physical environment of residential area in urban, the occurence of crime will vary to density and population characteristics within the area, resulted from occupied territory performance and defensive territory determining, including friendship pattern encouraging. All mentioned are the physical environment characteristics in the protection of crime occurence that vary to urban land use characteristics, thus the chance of making crime also varies differently. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74711 |
ISBN: | 9745766356 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jiamjit_du_front_p.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jiamjit_du_ch1_p.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jiamjit_du_ch2_p.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jiamjit_du_ch3_p.pdf | 12.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jiamjit_du_ch4_p.pdf | 8.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jiamjit_du_ch5_p.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jiamjit_du_back_p.pdf | 735.75 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.