Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74755
Title: การศึกษาเอกลักษณ์ของการใช้ที่ดินย่านศูนย์กลางธุรกิจการค้าใจกลางกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเขตธุรกิจ สีลม-สุรวงศ์ และพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเขตบางรัก
Other Titles: Study on the characteristic of central business land use in Bangkok Metropolitan area : a case study of Silom-Suriwong area, Bang Rak district
Authors: จำนรรจา ชัยโชณิชย์
Advisors: เกียรติ จิวะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เมือง -- ไทย (ภาคกลาง) -- การเจริญเติบโต
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การตั้งถิ่นฐาน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ย่านการค้ากลางใจเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
สาธารณูปโภค -- ไทย
ผังเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
สีลม (กรุงเทพฯ)
สุรวงศ์ (กรุงเทพฯ)
บางรัก (กรุงเทพฯ)
Cities and towns -- Thailand, Central -- Growth
Land use -- Thailand -- Bangkok
Land settlement -- Thailand -- Bangkok
Central business districts -- Thailand -- Bangkok
City planningt -- Thailand -- Bangkok
Public utilities -- Thailand
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 Summary การศึกษาปมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิวัฒนาการการตั้งถิ่นฐานและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินย่านศูนย์กลางการค้า ย่านสีลม-สุรวงศ์ เขตบางรัก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจสาขาบริการและโครงข่ายสาธารณูปโภค และสาธารณูปการในพื้นที่ เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา และประกอบการวางแผนพัฒนาย่านธุรกิจการค้าศูนย์กลางเมืองขนาดใหญ่ ผลการวิจัยพบว่า การใช้ที่ดินของเขตบางรักมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ เริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นย่านชุมชนการค้าที่ชาวยุโรปเข้ามาตั้งถิ่นฐานแห่งแรก ปัจจุบันมีการใช้ที่ดินแบบผสมที่หนาแน่นมาก มีทั้งย่านธุรกิจการค้าบริการ ที่พักอาศัย อุตสาหกรรม คลังสินค้า และสถานที่ราชการ ย่านศูนย์กลางธุรกิจการค้าสีลม-สุรวงศ์ เขตบางรักจึงมีเอกลักษณะทางด้านการใช้ที่ดินที่หลากหลายและมีอาคารสูงก่อสร้างหนาแน่น เป็นย่านธนาคารที่มีความสำคัญในระดับชาติเนื่องจากเป็นศูนย์รวมธนาคารสำนักงานใหญ่ สถาบันการเงินต่าง ๆ มากที่สุดในกรุงเทพฯ มีความสะดวกในด้านบริการการขนส่งทางอากาศและการคมนาคมติดต่อระหว่างประเทศ ตลอดจนการติดต่อกับสถานทูต สถานกงศุลการค้าที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้เกิดการกระจุกตัวของธุรกิจการค้า และการท่องเที่ยวระดับนานาชาติในบริเวณที่แออัดการใช้ที่ดินและอาคารต่าง ๆ ที่ปลูกสร้างในย่านนี้มีเอกลักษณ์ที่เด่นกว่าที่อื่นในด้านรูปแบบอาคารขนาดใหญ่ ที่มีกิจกรรมรามแบบสรรพกิจ (Complex) และในด้านเอกลักษณ์ทางบรรยากาศที่เป็นการรวมกิจกรรมหลากหลายในพื้นที่ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เป็นที่ทำมาหากินของคนหลายระดับหลายอาชีพ ทั้งผู้ที่อยู่ภายนอกเขต การพัฒนาย่านศูนย์กลางธุรกิจการค้าใจกลางเมืองสีลม-สุรวงศ์ นี้ มีรูปแบบศูนย์ธุรกิจขนาดใหญ่อยู่บริเวณหัวถนนสีลมด้านถนนพระรามที่ 4 มีอาคารขนาดใหญ่หนาแน่นมากที่สุด รองลงมาอยู่ปลายถนนสีลมช่วยตัดถนนมเหสักข์และถนนสุรศักดิ์ แนวโน้มการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจการค้า ตามแนวถนนสีลม-สุรวงศ์มีขอบเขตที่จำกัดด้วยราคาที่ดินที่สูงมาก ที่อยู่อาศัยที่เป็นบ้านขนาดเล็กที่หนาแน่นบริเวณเบื้องหลังอาคารขนาดใหญ่ปัจจุบัน เป็นอุปสรรคต่อการรวบแปลงที่ดินและการตัดถนนเชื่อมโครงข่ายหลักคือ สีลม-สุรวงศ์กับสาธร สี่พระยา และพระรามที่ 4 รวมถึงการจราจรที่ติดขัดมากในปัจจุบัน การขยายตัวจึงคาดว่ามีน้อยในแถบตะวันออก-ตะวันตก แต่จะมีความเป็นไปได้มากกว่าในการขยายตัวตามแนว เหนือใต้ ตามแรงกดดันที่จะเชื่อมถนนต่าง ๆ ในทิศทางเหนือใต้ ตามแรงกดันที่จะเชื่อมถนนต่าง ๆ ในทิศทางเหนือใต้ เช่น ตามโครงการตัด ถนนตามแนวคลองช่องนนทรีย์ ทางด่วนสายที่ 2 บางโคล่-แจ้งวัฒนะ ซึ่งผ่านถนนสุรศักดิ์ เป็นต้น นอกจากนี้ พื้นที่ที่มีโอกาสการพัฒนารองรับการขยายตัวของศูนย์กลางธุรกิจการค้าแห่งนี้โดยสามารถเชื่อมโยงในแนวเหนือได้ ได้แก่ ที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบริเวณสามย่าน-บรรทัดทอง หรือบริเวณพื้นที่ในเขตยานนาวา ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับถนนวงแหวนรอบใน และทางด่วนทั้งสายเก่าและใหม่
Other Abstract: The purpose of this study is to overview the evolution of urban settlement and its change in Commercial land use of various business centers of Bangrak District covering an area of silom-Suriwong in the past and up to the present time. The important aspects of the study including service activities as well as Public utilities and services will be used for Problem solving and Urban Redevelopment Plans for Central business district in the study area. Findings indicate that I'rban setting in Bangrak Originate from Ratanakosin period as the first European quarter of Bangkok. At the present time the mixed use with fairly high density was Oviously appeared consisting vauious, activities, for example, service, residential, industrial, warehouse and government institution. The Continuing growth is encouraged by many influential factors as follows: 1. The fairly high cost of land causing the demolition of the old two to four storey buildings along Silom-Suriwong roads as well as encouraging new big investment to come to the said areas. 2. The identity of various dignity buildings can be found in this district, these are the headquarters of international activities such as various Air-Limes, financial institutions, for example, Banks, Trust Insurrance offices, professional offices, old fashion architectural styles hotels, historic buildings, the department stores and variety of the entertainment buildings both in the day time and at night. It can be say that Bangkok district particurly the predominant Locations of a diversified activities along Silom and Suriwong Roads which is in the study area is very Unique. It has been a center of diversified business activities particularly service activities up to the present time. The study confirms that there will be a continuation of growth in the future for Business activities in North-South diection rather than East-West direction in Banprak district. This is because of some reasons with a firm belief that implementation of the propssed Plans will be started in the new future. These plans are, the construction of North-South extension roads between Sri-Phaya and Suriwongse Portion and Sathorn Road to Middle Ring Road portion includinga connection with Tharua-Downkanong Expressways, The constuction of new roads on both sides along Chong-Nonthi canal, The construction of Bang Kho-Chanpwatana Expressway and its proxinity and connection to the development projects of Chulakongkorn University.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74755
ISBN: 9745765937
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jummnunja_ch_front_p.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Jummnunja_ch_ch1_p.pdf800.2 kBAdobe PDFView/Open
Jummnunja_ch_ch2_p.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Jummnunja_ch_ch3_p.pdf4.71 MBAdobe PDFView/Open
Jummnunja_ch_ch4_p.pdf11.17 MBAdobe PDFView/Open
Jummnunja_ch_ch5_p.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open
Jummnunja_ch_ch6_p.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open
Jummnunja_ch_ch7_p.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open
Jummnunja_ch_ch8_p.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open
Jummnunja_ch_back_p.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.