Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74975
Title: ภาพพจน์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในหนังสือพิมพ์ไทย
Other Titles: Image of general Prem Tinsulanonda in Thai newspapers
Authors: วิรัชต์ แสงดาวฉาย
Advisors: ระวีวรรณ ประกอบผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เปรม ติณสูลานนท์, พล.อ., 2463-2562
หนังสือพิมพ์ -- ไทย
Prem Tinsulanonda
Newspapers -- Thailand
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบภาพพจน์ ลักษณะการนำเสนอและบทบาทของสื่อมวลชนที่ปรากฏในการนำเสนอภาพของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ในหน้าหนังสือพิมพ์สองแบบคือ แบบคุณภาพและแบบประชานิยม ผลการวิจัยพบว่า ภาพพจน์ของพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ มีลักษณะแตกต่างไปตามข่าวสารที่นำเสนอบทบาทที่สำคัญของนายกรัฐมนตรีห้าด้านคือ การเมือง เศรษฐกิจ การทหาร การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน และการธำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีสัดส่วนการนำเสนอต่างกัน มีลักษณะเนื้อหาที่เป็นสาระของการนำเสนอได้ให้ภาพที่แสดงถึงบทบาทของพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ในด้านต่าง ๆ ด้วยภาพที่แตกต่างกันไปในแต่ละด้าน มีลักษณะการนำเสนอบทบาทแต่ละด้านที่แตกต่างกันไปด้วย และเป็นการนำเสนอที่มีลักษณะชี้แนะด้วยข้อสรุปมากกว่าที่จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ มีการใช้คำหรือข้อความที่แสดงถึงบุคลิกภาพของพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ด้วยคำที่มีความหมายในทางที่ดีเป็นการเสริมบทบาทมากกว่าในทางตรงข้าม และเป็นการนำเสนอในบริบทที่เป็นการชื่นชมในลักษณะนิสัยเด่น ๆ อยู่บางประการ โดยเฉพาะในเรื่องของ “ความซื่อสัตย์” ได้รับการนำเสนอบ่อยที่สุด มีการใช้คำฉายาหรือสรรพนามที่ใช้เรียกแทนชื่อ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ในหน้าหนังสือพิมพ์อย่างกว้างขวางโดยมีการใช้คำฉายาหรือสรรพนามนี้อย่างมากในบริบทของการวิ[พ]ากษ์วิจารณ์ในคอลัมน์ความเห็นต่าง ๆ และมีการนำเสนอไว้ในเนื้อข่าวซึ่งปกติจะเป็นรูปแบบที่ใช้ในการรายงานข้อเท็จจริงด้วยซึ่งคำฉายาหรือสรรพนามนี้มีลักษณะที่เป็นการสะท้อนทัศนะที่เป็นข้อสรุปของสื่อมว[ล]ชนต่อบทบาทและบุคลิกภาพของพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์และสามารถทำให้ผู้อ่านมีภาพพจน์ของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ที่สื่อมวลชนต้องการจะสื่อได้อย่างชัดเจนอีกด้วย ลักษณะภาพพจน์และการนำเสนอของหนังสือพิมพ์สองแบบคือ แบบคุณภาพและแบบประชานิยมพบว่า มีการนำเสนอเนื้อหาที่แสดงถึงบทบาทของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ในด้านต่าง ๆ ด้วยภาพที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก ซึ่งรวมทั้งมีการใช้คำหรือข้อความที่แสดงถึงบุคลิกภาพและคำฉายาหรือสรรพนามที่ใช้เรียกแทนชื่อด้วยคำหรือข้อความเดียวกัน หรือมีความหมายเดียวกันและด้วยจำนวนคำที่ใกล้เคียงกัน จะต่างกันอย่างเห็นได้ชัดที่ความบ่อยครั้งของการนำเสนอข่าวสารที่เกี่ยวกับบทบาท คำหรือข้อความต่างๆ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน
Other Abstract: The objectives of this thesis are to study the image of General Prem Tinsulanonda, to examine the style of the image presentation of two types of newspapers, namely, quality newspapers and popular ones and to realize the roles of mass media in presenting General Tinsulanonda’s image on the two types of newspapers. results of the study were as follows: General Tinsulanonda’s image was differentiated in accord with the information each type of newspapers presented. This significant roles were classified into five dimensions, namely: politics, economics, military, strengthening relationship between the government and its people and supporting the royol institute. Each dimension was presented at different amout of content and style of presentation. For the role of mass media, they usually presented indicative information on General Tinsulanonda rather than inform readers and let them make their own dicision. On newspapers General Tinsulanonda was called by nicknames with positive meanings rather than negative ways and they implied appreciation for some of his outstanding characteristics, especially, the most frequently presented “honesty”. In criticism context of any column and/or regular news report it was found that the nicknames were widely used to express conclusive attitude of the mass media towards General Tinsulanonda’s roles and characteristics which made newspaper readers get the clear image of General Tinsulanonda as the mass media intented. It was found that the characteristics of the image and the style of presentation on the two types of newspapers presented General Tinsulanonda’s roles in many dimensions with some figures which were very much in common including the usage of the same names, word or phrases at the similar amout. The obvious difference of the two types of newspaper was the frequency of role words or phrases on General Tinsulanonda presentation at different amount.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74975
ISBN: 9745689408
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wirat_sa_front_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Wirat_sa_ch1_p.pdf958.49 kBAdobe PDFView/Open
Wirat_sa_ch2_p.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Wirat_sa_ch3_p.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Wirat_sa_ch4_p.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open
Wirat_sa_ch5_p.pdf976.4 kBAdobe PDFView/Open
Wirat_sa_back_p.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.