Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75087
Title: ผลของน้ำมันกานพลูและไคโตซานต่อการเกิดโรคแอนแทรคโนสและอายุการเก็บรักษาพริกชี้ฟ้า Capsicum annuum L.
Other Titles: Effects of clove oil and chitosan on anthracnose disease and storage life of chillies Capsicum annuum L.
Authors: สุประวีณ์ นาคภิบาล
Advisors: ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2548
Abstract: แอนแทรคโนล เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อผลพริกตั้งแต่ในแปลงปลูกและ ภายหลังการเก็บเกี่ยว การใช้น้ำมันกานพลูควบคุมโรคแอนแทรคโนส ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides พบ1ว่า'นำมันกานพลูทีระดับความเข้มข้น800 900 และ 1,000 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยและการงอกของสปอร์ c. gloeosporioides บนอาหาร เลี้ยงเชื้อได้ 100% เมื่อเทียบกับการเจริญของเชื้อราในชุดควบคุม และเมื่อแช่ผลพริกชี้ฟ้าใน สารละลายน้ำมันกานพลูที่-ระดับความเข้มข้น 800 ppm เป็นเวลา 5 นาที หลังจากปลูกเชื้อราบน ผลพริกชี้ฟ้า พบว่าขนาดของบาดแผลที่เกิดจากโรคแอนแทรคโนสมีขนาดเล็กกว่าชุดควบคุมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการใช้ไคโตชานในการยืดอายุการเก็บรักษาพริกชี้ฟ้า ที่ระดับความ เข้มข้น0 5 10และ20 ppm โดยแช่เป็นเวลา1 2 และ3 นาที ก่อนนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ8 องศาเซลเซียส พบว่าผลพริกชี้ฟ้าที่แช่ในสารละลายไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 5 ppm เป็น เวลา 1 นาที สามารถชะลอการสูญ เสียน้ำหนักสด และลักษณะภายนอกของผลมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด โดยสามารถคงสภาพให้เหมือนก่อนการเก็บรักษาได้นานถึง 9 วัน หลังจาก นั้นนำสารละลายน้ำมันกานพลูมา1ใช้ร่วมกับสารละลาย1ไคโตซาน พบว่า ผลพริกชี้ฟ้าที่แช่ใน สารละลายน้ำมันกานพลูที่ระดับความเข้มข้น 800 ppm ร่วมกับสารละลายไคโตซานที่ระดับความ เข้มข้น 5 ppm เป็นเวลา 5 นาที สามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกของผลได้ดีที่สุดและยังช่วยชะลอการสูญเสียน้ำหนักลดได้ โดยมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้น้อยที่สุด และมี ปริมาณวิตามินซีสูงที่สุด ส่วนผลพริกชี้ฟ้าที่แช่ในสารละลายไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 5 ppm เป็นเวลา 1 นาที มีความแน่นเนื้อมากที่สุด
Other Abstract: Anthracnose caused by C olletotrichum g loeosp orioid es (Penz.) Sacc. is one of the most important disease that causes serious economic losses and reduces marketability of chillies (Capsicum annuum L.) in Thailand. Effects of clove oil and chitosan treatments on anthracnose disease and storage life of chillies were investigated. We evaluated the potential of clove oil to inhibit mycelial growth, spore germination and anthracnose disease on chilli fruits. The results from this study showed that clove oil concentrations at 800, 900 and 1,000 ppm inhibited 100% both mycelial and conidial growth. It vivo application, 800 ppm clove oil for 5 minutes treated on chilli fruit surfaces after inoculating with conidial suspension significantly reduced the disease lesions when compared with the control. Postharvest treatment of chillies with 0, 5, 10 and 20 ppm chitosan solution for 1, 2 and 3 minutes and then stored at 8 °c was evaluated. Treatment of 5 ppm chitosan for 1 minute reduced weight loss and retained overall appearance for 9 days after harvest. Combined application of clove oil and chitosan solution and then stored at 8 °c was further tested. Combination of 800 ppm clove oil and 5 ppm chitosan solution for 5 minutes can prolong the postharvest quality of chillies indicated by reduced weight loss, retained overall appearance, maintained lowest total soluble solids and higher vitamin c content. Chillies treated with 5 ppm chitosan solution for 1 minute had the highest firmness.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75087
ISBN: 9741740743
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supravee_na_front_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Supravee_na_ch1_p.pdf739.52 kBAdobe PDFView/Open
Supravee_na_ch2_p.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Supravee_na_ch3_p.pdf895.24 kBAdobe PDFView/Open
Supravee_na_ch4_p.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open
Supravee_na_ch5_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Supravee_na_ch6_p.pdf667.16 kBAdobe PDFView/Open
Supravee_na_back_p.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.