Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77444
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัสสนี นุชประยูร-
dc.contributor.advisorองอาจ วิพุธศิริ-
dc.contributor.authorธรรมศักดิ์ โคจรนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-10-01T07:13:30Z-
dc.date.available2021-10-01T07:13:30Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743222876-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77444-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดหาโลหิตที่ปลอดภัยและเพียงพอของโรงพยาบาลสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยในส่วนภูมิภาคซึ่งมีจำนวน 148 แห่ง ได้ใช้วิธีการศึกษาเชิงพรรณนาชนิดสำรวจโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์เพื่อเก็บข้อมูลกระบวนจัดหาโลหิตจากหัวหน้าธนาคารเลือดของโรงพยาบาลสาขาทุกแห่ง และนำมาวิเคราะห์ร่วมกับรายงานประจำปีในการจัดหาโลหิตการใช้โลหิตและการตรวจร่องรอยโลหิตติดเชื้อของโรงพยาบาลสาขาซึ่งมีศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติเป็นศูนย์กลางรวบรวมมีข้อมูลส่งกลับร้อยละ 73.7 เมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2542 ผลการศึกษาพบว่าสาขาบริการโลหิตในส่วนภูมิภาคจัดหาโลหิตได้เพียงพอร้อยละ 86.9 มีการจัดทำแผนการจัดหาโลหิตร้อยละ 79.8 การเตรียมชุมชนก่อนการออกรับบริจาคร้อยละ 67.9 การมีแผนงานและมีการเตรียมชุมชนส่งผลต่อการจัดหาโลหิตได้เพียงพอแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่มีกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) กลุ่มเป้าหมายสำคัญได้แก่ประชาชนทั่วไปและนักเรียนนักศึกษา (ร้อยละ 53.7 และ 39.8) สำหรับการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตที่ปลอดภัยพบว่ามีการส่งเสริมให้บริจาคโลหิตประจำร้อยละ 77.1 แต่มีการให้ความรู้ร่วมกับการสร้างแรงจูงใจเพียงร้อยละ 44.4 และไม่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ปลอดภัยร้อยละ 51.5 ขั้นตอนการคัดเลือกผู้บริจาคเพื่อโลหิตที่ปลอดภัยก่อนเจาะเก็บโลหิตโดยใช้แบบสอบถามประวัติทางแพทย์ แบบประเมินตนเองเพื่องดบริจาค สัมภาษณ์พฤติกรรมเสี่ยงทุกครั้งมีเพียงร้อยละ 34.2, 20.4, 63.0 ตามลำดับและเพื่อความปลอดภัยของผู้บริจาคเองพบว่ามีการตรวจสุขภาพโดยแพทย์หรือพยาบาลและตรวจฮีโมโกลบินทุกครั้งเพียงร้อยละ 41.7 และ 59.3 การตรวจร่องรอยเชื้อที่ผ่านทางโลหิตขั้นต่ำครบ 5 ชนิด (syphilis, HBsAg, anti-HIV, HIV Ag, anti-HCV) มีเพียงร้อยละ 46.7 โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ตามขนาดของโรงพยาบาลแม้ว่าโรงพยาบาลสาขาจะระบุว่ามีการควบคุมคุณภาพการตรวจกรองโลหิตในทุกด้านกว่าร้อยละ 80 แต่จะสังเกตุได้ว่ามีโรงพยาบาลที่จัดทำ Standard operation procedure (SOP) ร้อยละ 57.0 ทำ double check และทำ positive negative control เพียงร้อยละ 4.9, 3.4 ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้ได้แสดงกิจกรรมในกระบวนการจัดหาโลหิตที่ปลอดภัยให้เพียงพอของโรงพยาบาลสาขาในส่วนภูมิภาค แสดงจุดแข็งและจุดอ่อนให้เห็นในทุกขั้นตอนและผลดีของการจัดทำแผนงานและการเตรียมชุมชนก่อนการรับบริจาคดังนั้น ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพของกระบวนการจัดหาโลหิตอย่างจริงจังทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยและเพียงพอจากการรับบริจาคโลหิตในส่วนภูมิภาค-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to determine the recruitment process of safe and adequate blood donation conducted by 148 provincial hospital branches of the National Blood Centre (NBC), Thai Red Cross Society in the regions. Descriptive studies were used. A mail-questionnaire survey was conducted to collect specific data from the head of blood banks of all hospital branches in combination with analysis of annual blood activity reports of those hospital branches sent to the NBC. At the end of February 1999, the response rate was 73.7 percents. The result of the study showed that 86.9% of the hospital branches obtained adequate blood donation for supply. Blood donation recruitment plans and community preparation were performed by those hospitals 79.8% and 67.9%, respectively. Significant differences (p<0.01) in adequate blood obtained were found between hospitals with and without those two activities. The major groups of blood donors were general population and students (53.7% and 39.8%). In seeking safe blood donors, promoting for regular donation was concerned by 77.1% of the hospitals. However, motivation together with donor education were performed only 44.4% of the hospitals. Furthermore 51.5% of the hospitals did not have target on safe donor group. Safe donor selection procedures before blood collection such as medical history taking, self-exclusion questionnaire, and risk behavior counseling were taken 34.2%, 20.4%, and 63%, respectively. Regarding donor safety, medical check-up by doctor or nurse and hemoglobin test were performed only 41.7% and 59.3%. Completeness of five blood screening for Syphilis, HBV, HCV, anti-HIV, HIV-Ag were carried out only 46.7%. Significant differences (p<0.01) of the completeness were found according to the size of the hospitals. Quality assurance in blood screening were performed higher than 80% in various aspects. However, Standard Operation Procedure (SOP), double check and positive negative control were stated 57%, 4.9% and 3.4% respectively. The results of this study indicated the inconsistency of safe blood donation recruitment processes among the hospital branches including their strengths, weaknesses and also benefits of the plans and community preparation, therefore policy and guidelines should be developed for higher quality of safe blood donation recruitment in the regions by the NBC.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1998.222-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสภากาชาดไทยen_US
dc.subjectการบริจาคโลหิตen_US
dc.subjectผู้บริจาคโลหิต-
dc.subjectDirected blood donations-
dc.subjectBlood doners-
dc.titleการศึกษากระบวนการจัดหาโลหิตปลอดภัยและเพียงพอ ของสาขาบริการโลหิตแห่งชาติในส่วนภูมิภาคen_US
dc.title.alternativeRecruitment process of safe blood adequacy of the National Blood Center branches in provincial regionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์ชุมชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorOng-arj.V@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1998.222-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thammasak_ko_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.04 MBAdobe PDFView/Open
Thammasak_ko_ch1_p.pdfบทที่ 1902.84 kBAdobe PDFView/Open
Thammasak_ko_ch2_p.pdfบทที่ 21.29 MBAdobe PDFView/Open
Thammasak_ko_ch3_p.pdfบทที่ 3720.73 kBAdobe PDFView/Open
Thammasak_ko_ch4_p.pdfบทที่ 42.02 MBAdobe PDFView/Open
Thammasak_ko_ch5_p.pdfบทที่ 51.13 MBAdobe PDFView/Open
Thammasak_ko_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.