Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9389
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิฎราธร จิรประวัติ-
dc.contributor.authorนิภาพร กุลสมบูรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-07-30T02:09:57Z-
dc.date.available2009-07-30T02:09:57Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743339558-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9389-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการใช้จุดจูงใจเชิงเหตุผลและจุดจูงใจเชิงอารมณ์ในโฆษณาที่มีเด็กเป็นผู้นำเสนอสาร โดยเปรียบเทียบในเรื่องการระลึกและจดจำได้ความเข้าใจในสาระสำคัญ ความคิดเห็นที่มีต่อโฆษณา ความรู้สึกชอบ และความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าที่โฆษณา ความรู้สึกชอบ และความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าที่โฆษณาในการวิจัยได้ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้หญิง อายุ 20-40 ปีที่มีบุตรแล้ว โดยเชิญเข้าร่วมทดลองตามความสมัครใจ เมื่อได้แล้วแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ชมเฉพาะโฆษณาที่ใช้จุดจูงใจเชิงเหตุผล กลุ่มทดลองที่ชมเฉพาะโฆษณาที่ใช้จุดจูงใจเชิงอารมณ์ และกลุ่มควบคุมที่ชมโฆษณาทั้งหมด ทั้งนี้ในแต่ละกลุ่มยังมีการแบ่งย่อยออกเป็นกลุ่มแม่บ้าน และผู้หญิงทำงานอีกด้วย จากนั้นทำการทดลองโดยให้กลุ่มตัวอย่างชมวีดีทัศน์ภาพยนตร์โฆษณาตามที่กำหนดและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ t-test ในการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่า 1. โฆษณาที่ใช้จุดจุงใจแตกต่างกัน ไม่ได้ส่งผลให้การระลึกและจดจำเกี่ยวกับประเภทสินค้า ยี่ห้อสินค้า และนักแสดงมีความแตกต่างกัน แต่ส่งผลให้ลักษณะการระลึกและจดจำเกี่ยวกับภาพและเสียงในโฆษณามีความแตกต่างกัน 2. โฆษณาที่ใช้จุดจูงใจแตกต่างกัน ไม่ได้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจในสาระสำคัญแตกต่างกัน 3. เรื่องความคิดเห็นต่อโฆษณาที่ใช้จุดจูงใจแตกต่างกันนั้น ในสินค้าประเภทแป้งเด็ก (สินค้าสำหรับเด็ก) กลุ่มตัวอย่างสามารถแยกแยะการใช้จุดจูงใจได้ชัดเจนว่าโฆษณาแต่ละเรื่องเน้นไปในเชิงใดแต่สินค้าประเภทผงซักฟอก (สินค้าสำหรับผู้ใหญ่) กลุ่มตัวอย่างไม่สามารถแยกแยะการใช้จุดจูงใจได้ 4. โฆษณาที่ใช้จุดจูงใจแตกต่างกันไม่ได้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกชอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 5. เรื่องความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าที่มีต่อโฆษณาที่ใช้จุดจูงใจแตกต่างกันนั้น ในสินค้าประเภทแป้งเด็ก กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าที่ใช้โฆษณาเชิงเหตุผลมากกว่าโฆษณาเชิงอารมณ์ แต่สำหรับสินค้าประเภทผงซักฟอกไม่พบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญen
dc.description.abstractalternativeThe study used experimental design to compare the effectiveness of rational appeal and emotional appeal in television commercials (TVCs) featuring child presenters in terms of recall, understanding main idea, opinion toward TVCs, liking and intention to buy. Subjects are 120 women aged between 20-40 years who have baby or child aged under 12. Subjects were voluntarily recruited and divided into 3 groups: two experimental groups viewed either rational commercials or emotional commercials and control group viewed both rational and emotional commercials. Each group was also divided into 2 sub-groups: housewives and working women. Then they viewed the commercials and filled in their questionnaires. Data from the experiments were analyzed by using percentage, mean scores and t-test. Results of the research are as follows: 1. While the use of different appeals did not result in the difference in recall of product category, brand name and actor, it affected the difference in visual and audio recall. 2. Teh use of different appeals did not result in the difference in understanding the main idea of TVCs. 3. When determined opinion toward commercials, samples were able to classify the use of appeal correctly for baby powder product, but not for detergent product. 4. The use of different appeals didn't significantly affect the difference in liking of TVCs. 5. When determined intention to buy, samples were likely to buy baby powder when rational was used rathen than emotional appeal. But the use of difference appeals did not result in the difference in intention to buy for detergen product.en
dc.format.extent861623 bytes-
dc.format.extent785493 bytes-
dc.format.extent1663204 bytes-
dc.format.extent813638 bytes-
dc.format.extent2057672 bytes-
dc.format.extent956720 bytes-
dc.format.extent1205672 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.316-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์en
dc.subjectโฆษณากับเด็กen
dc.subjectการจูงใจ (จิตวิทยา)en
dc.titleการเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการใช้จุดจูงใจเชิงเหตุผลกับจุดจูงใจเชิงอารมณ์ในโฆษณาที่มีเด็กเป็นผู้นำเสนอสารen
dc.title.alternativeThe comparison of effectiveness between rational appeal and emotional appeal in television commercials featuring child presentersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการโฆษณาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVittratorn.C@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.316-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipaporn_Ku_front.pdf841.43 kBAdobe PDFView/Open
Nipaporn_Ku_ch1.pdf767.08 kBAdobe PDFView/Open
Nipaporn_Ku_ch2.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Nipaporn_Ku_ch3.pdf794.57 kBAdobe PDFView/Open
Nipaporn_Ku_ch4.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Nipaporn_Ku_ch5.pdf934.3 kBAdobe PDFView/Open
Nipaporn_Ku_back.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.