Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9464
Title: | การศึกษาบทบาทของสื่อต่อการยอมรับโครงการสุขบัญญัติแห่งชาติของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรีและน่าน |
Other Titles: | A study of media roles towards the adoption of national health recommendation project in secondary schools in Changwat Chonburi and Nan |
Authors: | กรกฤตย กิตติสุนทรพิศาล |
Advisors: | เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Chawalert.L@chula.ac.th |
Subjects: | การสื่อสาร สุขบัญญัติ การยอมรับนวัตกรรม การเปิดรับข่าวสาร |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจระดับการยอมรับโครงการสุขบัญญัติแห่งชาติของผู้บริหารและครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดชลบุรีและน่าน (2) วิเคราะห์บทบาทของสื่อต่อการยอมรับโครงการสุขบัญญัติแห่งชาติของผู้บริหารและครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรีและน่าน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเลือกเจาะจงจากโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองและนอกเขตอำเภอเมือง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารและครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรีและน่าน มีการยอมรับโครงการสุขบัญญัติแห่งชาติอยู่ในขั้นสูงสุดคือ Refocusing ตามแนวความคิดของ Hord หรือขั้นยืนยันการใช้ ตามแนวความคิดของ Rogers สถานที่ตั้งของโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองมีการยอมรับโครงการสุขบัญญติแห่งชาติ สูงกว่าโรงเรียนนอกเขตอำเภอเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรด้าน เพศ จังหวัดที่ตั้งและขนาดของโรงเรียนไม่พบความแตกต่างกับการยอมรับโครงการสุขบัญญัติแห่งชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การยอมรับโครงการสุขบัญญัติแห่งชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การยอมรับโครงการสุขบัญญัติแห่งชาติของผู้บริหารและครูโรงเรียนพบว่า อายุ มีความสัมพันธ์กับการยอมรับโครงการสุขบัญญัติแห่งชาติ ระดับขั้นต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. หอกระจายข่าวและหนังสือพิมพ์ ด้านการพัฒนาปรับปรุง มีความสัมพันธ์กับการยอมรับโครงการสุขบัญญัติแห่งชาติในขั้นสูงสุด Refocusing หรือขั้นยืนยันการใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และบทบาทของสื่อเฉพาะกิจ สื่อมวลชนและสื่อบุคคลมีความสัมพันธ์กับการยอมรับโครงการสุขบัญญัติแห่งชาติในขั้น Collaborative, Consequence และ Management (Hord) หรือขั้นการนำไปใช้ (Rogers) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคู่มือสุขบัญญัติแห่งชาติ และการฝึกอบรมสัมมนา/ประชุมชี้แจงมีความสัมพันธ์กับระดับการยอมรับโครงการสุขบัญญัติแห่งชาติในหลายบทบาทของสื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were (1) to survey the adoption stage of National Health Recommendation Project of the secondary school administrators and teachers in Changwat Chonburi and Nan, and, (2) to analyze roles of media towards the adoption of National Health Recommendation Project of the secondary school administrators and teachers in Changwat Chonburi and Nan. Quantitative and qualitative methods were used to obtain data. The subjects were selected from large and small size schools, and within and outside Amphoe Mueng. The finding can be summarized as the followings: 1. The administrators and teachers in secondary school in Changwat Chonburi and Nan adopted National Health Recommendation Project at the highest stage, "Refocusing" according to Hord, or "Confirmation" according to Everett Rogers. Schools within Amphoe Mueng adopted the National Health Recommendation Project higher than those outside Amphoe Mueng at 0.05 level of significance. No difference was found in sex, province, and size of schools concerning the adoption of National Health Recommendation Project at 0.05 level of significance. Age was found to correlate to the adoption of National Health Recommendation Project at 0.05 level of significance. 2. Community public addressing systems and newspaper, on the role of project improvement, were found to correlate to the adoption of National Health Recommendation Project at highest stage, "Refocusing" or "Confirmation" at 0.05 level of significance. The roles of "Specific Mission Media", mass media, and personel were found to correlate to the adoption of National Health Recommendation Project at stage of "Collaborative", "Consequence", and "Management" (Hord) or "Implementation" (Rogers) at 0.05 level of significance. Handbooks of National Health Recommendation, seminar, training, and conferences were found to correlate to the adoption stage of National Health Recommendation Project on several roles at 0.05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9464 |
ISBN: | 9743313281 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Korakit_Ki_front.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Korakit_Ki_ch1.pdf | 827.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Korakit_Ki_ch2.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Korakit_Ki_ch3.pdf | 852.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Korakit_Ki_ch4.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Korakit_Ki_ch5.pdf | 768.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Korakit_Ki_back.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.