Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10046
Title: ภาวะเครียด ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี
Other Titles: Stress, knowledge, attitude and practice toward the supervisory system among advisory teachers in secondary school general education department in Prachin Buri
Authors: อุดม มาสแสง
Advisors: สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sookjaroen.T@chula.ac.th
Subjects: ความเครียด (จิตวิทยา)
อาจารย์ที่ปรึกษา
บุคลิกภาพ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะความ เครียด ความรู้ เจตคติ การปฏิบัติต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ การปฏิบัติต่อภาวะความเครียดของครูที่ปรึกษา โดยศึกษาในกลุ่มครูที่ปรึกษา 425 คน ในจังหวัดปราจีนบุรีเก็บข้อมูลโดยให้ครูที่ปรึกษาตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามบุคลิกภาพ MPI แบบสอบถามความรู้ เจตคติ การปฏิบัติต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองตามกรอบบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา และแบบประเมินภาวะความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์และความแปรปรวนระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของครูที่ปรึกษากับ ภาวะเครียด และ ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยสถิติ Chi-square, ANOVA, Pearson Product moment Correlation Coefficient และ Stepwise multiple regression analysis ผลการศึกษาพบว่า ครูที่ปรึกษามีภาวะเครียดร้อยละ 39.76 ระดับความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเครียด ได้แก่ อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรสคู่ ระยะเวลาเข้ารับราชการมากกว่า 2 ปี ขึ้นไป รายได้ 10,001-20,000 บาท ไม่ทำงานพิเศษ มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิต มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิตในครอบครัว และบุคลิกภาพแบบเก็บตัว ส่วนเจตคติ และการปฏิบัติต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.01 และ p<.05 ตามลำดับ ปัจจัยการเจ็บป่วยทางจิตและบุคลิกภาพแบบเก็บตัวมีความสัมพันธ์กับความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.05 เพศหญิง อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และบุคลิกภาพแบบเก็บตัวมีความสัมพันธ์กับเจตคติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ p<.05 และ p<.01 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยระยะเวลาบรรจุเข้ารับราชการมากกว่า 21 ปีขึ้นไป เคยอบรมสัมมนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และบุคลิกภาพแบบมั่นคงในสภาวะอารมณ์มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติต่อระบบการ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.01 ส่วนปัจจัยด้านอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ระยะเวลาเข้ารับราชการมากกว่า 21 ปีขึ้นไป และมีประวัติการเจ็บป่วยทางจิตสามารถเป็นตัวพยากรณ์แนวโน้มการเกิดภาวะ เครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.01
Other Abstract: This cross sectional descriptive study aimed to explore the stress, knowledge, attitude and practices toward the supervisory system among advisory teachers in secondary school general education department in Prachinburi and their related factors. The subjects were 425 advisory teachers. Data collection was done by using self reported questionnaire. Research instruments were the questionnaires to collect demographic data, The Muadsly Personality Interventory (MPI), KAP (Knowledge/Attitude/Practice) upon supervisory system questionnaire and general health questionnaire 12(GHQ 12) to assess for stress. Data was analyzed by using SPSS software for percentage, Mean, standard deviation. Chi-square test, ANOVA and Pearson product moment correlation coefficient were performed to demonstrate the associated factors. Multivariate analysis was done to show the predictor for stress and KAP in this population. The major findings were as the following. 39.76% of subjects were under stressed. Knowledges, attitudes and practices toward the supervisory system were in moderate level. Personal factors such as age more than 40 years old, marriage duration of work experience more than 21 years, income per month between 10,001-20,000 bahts, no part time job, history of psychiatric illness, family history of psychiatric illness and the introversion trait of MPI were significantly related with stress. Attitude and practice toward the supervisory system were negatively correlated with stress at p<.01 and .05 respectively. History of psychiatric illness and the introversion trait of MPI were significantly associated with knowledges toward supervisory system (p<.05). Female advisory teachers, age more than 40 years old and the introversion trait of MPI were significantly associated with attitudes toward supervisory system (p<.05, .01 respectively). Duration of work experience more than 21 years, training experience and the stability trait of MPI were significantly associated with practices toward supervisory system (p<.01). Stepwise multiple regression analysis showed than the predictors for stress were age, duration of work experience and history of psychiatric illness. (p<.01)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10046
ISBN: 9741719272
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Udom.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.