Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10171
Title: การแยกเชื้อสเตรปโตคอคคัสสายพันธุ์ที่สร้างสารต่อต้านจุลชีพ จากน้ำนมดิบ
Other Titles: Isolation of streptococcus strains producing antimicrobial substance from raw milk
Authors: ณัฐพร อุทัยรัตน์
Advisors: ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sirirat.R@Chula.ac.th
Subjects: สารต้านจุลชีพ
น้ำนม -- จุลชีววิทยา
สเตรปโตคอคคัส
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แยก Streptococcus spp. สายพันธุ์ที่สร้างสารต่อต้านจุลชีพจากน้ำนมดิบ จากฟาร์ม 4 แห่ง ได้ 38 สายพันธุ์ สามารถจัดจำแนกได้เป็น Streptococcus uberis 15 สายพันธุ์, Streptococcus sorbrinus 13 สายพันธุ์, Streptococcus lactis 6 สายพันธุ์, Streptococcus agalactiae 4 สายพันธุ์, การทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อทดสอบ 7 ชนิด ได้แก่ Bacillus cereus, Escherichia coli, Listeria monocytogenes, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella typhi, Salmonella typhimurium และ Staphylococcus aureus พบว่าส่วนน้ำเลี้ยงเชื้อที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 5.0-5.5 Streptococcus spp. ทุกสายพันธุ์สามารถหน่วงเหนี่ยวการเจริญของเชื้อทดสอบบนอาหารแข็งได้เพียงชนิดเดียว คือ S. aureus เมื่อวัดความกว้างของบริเวณยับยั้งบนอาหารแข็งและดูผลของการเกิดเคิร์ด สามารถคัดเลือกเชื้อ Streptococcus spp. ได้ 3 สายพันธุ์ คือ St. sp. สายพันธุ์ TD 1, St.sp. สายพันธุ์ TD 3 และ St.sp. สายพันธุ์ NO2 เมื่อทดสอบความสามารถในการหน่วงเหนี่ยวการเจริญของเชื้อทดสอบโดยใช้น้ำเลี้ยงเชื้อ St.spp. ทั้ง 3 สายพันธุ์ ที่ปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 6.5 โดยวิธีการทดสอบในอาหารเหลว พบว่าเชื้อ St.sp.สายพันธุ์TD 1 และ St.sp. สายพันธุ์ TD 3 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อทดสอบทั้ง 7 ชนิด ได้ดีกว่าเชื้อ St.sp. สายพันธุ์ NO2 เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการเพิ่มจำนวนเป็น 2 เท่า (doubling time) ของเชื้อ St. sp. สายพันธุ์ TD 1 และ St.sp. สายพันธุ์ TD 3 พบว่าเชื้อ St.sp.สายพันธุ์ TD 1 เจริญได้เร็วกว่า St. sp. สายพันธุ์ TD 3 เล็กน้อย การทำสารต่อต้านจุลชีพกึ่งบริสุทธิ์ของน้ำเลี้ยงเชื้อ St.sp. สายพันธุ์TD 1 พบว่าสารต่อต้านจุลชีพที่ตกตะกอนด้วยแอมโมเนียมซัลเฟต ความเข้มข้น 70 - 80% (น้ำหนักต่อปริมาตร) สามารถหน่วงเหนี่ยวการเจริญของเชื้อทดสอบได้ดีที่สุด และเมื่อนำสารต่อต้านจุลชีพที่ได้จากการตกตะกอนด้วยแอมโมเนียมซัลเฟด 70 - 80% ไปทำให้บริสุทธิ์ โดยการทำโครมาโตกราฟิแบบต่อเนื่องด้วยคอลัมน์ ซีเอ็ม-เซลลูโลส และคอลัมน์เซฟาเด็กซ์ จี-50 พบว่าสารต่อต้านจุลชีพที่ผ่านออกมาจากคอลัมน์ ซีเอ็ม-เซลลูโลส สามารถหน่วงเหนี่ยวความเจริญของเชื้อทดสอบได้ใกล้เคียงกันทั้ง 2 ส่วน (ลำดับส่วนที่ 9 - 12 และ ลำดับส่วนที่ 62 - 64) แต่ไม่สามารถทำให้บริสุทธิ์ได้ด้วยคอลัมน์ เซฟาเด็กซ์ จี - 50 เมื่อตรวจสอบชนิดและขนาดของสารต่อต้านจุลชีพโดยวิธีอิเล็กโทรโฟริซิสด้วยโซเดียมโดเดซิลซัลเฟตโพลีอะคริลาไมด์เจล พบว่าสารต่อต้านจุลชีพของเชื้อ St.sp. สายพันธุ์ TD 1 น่าจะเป็นสารพวกไลโพโปรตีน (Lipoprotien) ที่มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 1,100 ดาลตัน
Other Abstract: Thirty eight of Streptococcus spp. strains producing antimicrobial substances, isolated from raw cow milk of four dairy farms, were tentatively identified as Streptococcus uberis 15 strains, Streptococcus sorbrinus 13 strains, Streptococcus lactis 6 strains and Streptococcus agalactiae 4 strains. Inhibition test on the growth of 7 tested microorganisms of Bacillus cereus, Escherichia coli, Listeria monocytogenes, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella typhi, Salmonella typhimurium and Staphylococcus aureus were performed and found that every culture broth of Streptococcus spp. (pH 5.0 - 5.5) could only retard S. aureus growth on agar well diffusion test. Based on inhibition zone width on agar media and curd formation, three strains of isolated st. spp. including St. sp. strain TD 1 , St. sp. strain TD 3 and St. sp. strain NO 2 were selected for subsequent experiment on the inhibition tube test. Each of the culture broth, pH adjusted to 6.5, showed inhibitory effect on all 7 tested microorganisms but the better results detected were from St. sp. strain TD 1 and St. sp. strain TD 3. When comparing the doubling time of their growth St. sp. strain TD 1 grew a little faster than St. sp. strain TD 3. Partial purification of antimicrobial substances from the culture broth of St. sp. strain TD 1 was performed and found that precipitation with (NH4)2SO4 at the concentration of 70-80% (w/v) could mostly retard the growth of tested microorganisms. After followig through chromatography procedure of CM-Cellulose column and Sephadex G - 50, both filtrate of 9 - 12 th fraction and 62 - 64 th fraction could retard the growth of tested microorganisms. Whereas this antimicrobial substance could not be purified by Sephadex G - 50. However, after following the procedure of sodium dodecyl sulfate polyacrylamide gel electrophoresis this antimicrobial substance was tentatively identified as a lipoprotein with a MW. of about 1,100 dalton.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10171
ISBN: 9746349988
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuttaporn_Ut_front.pdf801.8 kBAdobe PDFView/Open
Nuttaporn_Ut_ch1.pdf800.09 kBAdobe PDFView/Open
Nuttaporn_Ut_ch2.pdf770.64 kBAdobe PDFView/Open
Nuttaporn_Ut_ch3.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Nuttaporn_Ut_ch4.pdf719.32 kBAdobe PDFView/Open
Nuttaporn_Ut_back.pdf773.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.