Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10390
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเมตตา วิวัฒนานุกูล-
dc.contributor.authorมิ่งขวัญ สินธุวงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-24T10:36:21Z-
dc.date.available2009-08-24T10:36:21Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743349065-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10390-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractศึกษาสถานภาพการฝึกอบรมทางวัฒนธรรมของบริษัทนานาชาติในประเทศไทย ศึกษาลักษณะเนื้อหา วิธีการ และองค์ประกอบต่างๆ ในการฝึกอบรมทางวัฒนธรรม ตลอดจนข้อมูลที่สะท้อนค่านิยมไทย และแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ในการฝึกอบรม ตลอดจนสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรต่างชาติ เกี่ยวกับความสำคัญและความจำเป็นของการฝึกอบรมทางวัฒนธรรม ตลอดจนความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมดังกล่าว นอกจากนี้ยังศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อการจัดอบรมทางวัฒนธรรม รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงสำรวจที่เก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม ของบุคลากรต่างชาติจาก 76 บริษัท และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารและฝ่ายทรัพยากรบุคคลจาก 16 บริษัท ส่วนการศึกษาวิจัยจากเอกสาร เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารการฝึกอบรมทางวัฒนธรรม และเอกสารที่ทางบริษัทนานาชาติให้บุคลากรศึกษาด้วยตนเอง ผลการวิจัยพบว่า 1. การฝึกอบรมทางวัฒนธรรมเป็นรูปแบบการพัฒนาบุคลากรต่างชาติ ที่ได้รับความนิยมจากบริษัทนานาชาติในประเทศไทยมากที่สุด โดยร้อยละ 39.5 ของบริษัทที่ศึกษามีการฝึกอบรมดังกล่าว 2. เนื้อหาของการฝึกอบรมทางวัฒนธรรม มีขอบข่ายครอบคลุมทั้งแนวคิดทฤษฎีวัฒนธรรมกว้างๆ (Culture General) และเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยโดยเฉพาะ (Culture Specific) โดยผสมผสานข้อมูลที่ให้ความรู้ (Cognitive Domain) ปรับความรู้สึก (Affective Domain) และแนะแนวทางปฏิบัติ (Behavioral Domain) โดยเน้นหนักด้านการสื่อสารตามมิติวัฒนธรรมไทย วิธีการอบรมมักใช้มากกว่า 2 วิธีขึ้นไป โดยใช้วิธีบรรยายและการสนทนากลุ่มเป็นหลัก การอบรมทางวัฒนธรรมมักจัดโดยศูนย์การฝึกอบรม โดยวิทยากรผู้ฝึกอบรมส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวต่างชาติผสมกัน เช่นเดียวกับผู้รับการฝึกอบรมบริษัทนานาชาติ มักให้การอบรมทางวัฒนธรรมหลังจากที่บุคลากรต่างชาติ มีประสบการณ์การทำงานในประเทศไทยสักระยะหนึ่ง โดยส่วนใหญ่การอบรมใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ติดต่อกัน 3. ค่านิยมไทยที่นำเสนอ ให้กับบุคคลกรต่างชาติ 5 ลำดับแรกได้แก่ การเคารพอาวุโส การไม่เผชิญหน้า ความเกรงใจ การยึดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความเป็นมิตร ใจดี โดยข้อมูลมาจากชาวต่างชาติเรียบเรียงขึ้นเป็นหลัก 4. บุคลากรต่างชาติทุกราย ที่เคยได้รับการอบรมทางวัฒนธรรมระบุว่า การอบรมดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญ โดยส่วนมากมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมที่ตนได้รับ ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการฝึกอบรมทางวัฒนธรรม ระบุว่าการอบรมทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบุคลากรต่างชาติในประเทศไทย 5. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการฝึกอบรมทางวัฒนธรรมของบริษัท พบว่า มีทั้งปัจจัยระดับบุคคล ปัจจัยระดับองค์กร และปัจจัยระดับวัฒนธรรม ที่เป็นตัวกำหนดการจัดหรือไม่จัดอบรมทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ ปัจจัยมีผลมากที่สุดได้แก่ นโยบายขององค์กรen
dc.description.abstractalternativeTo explore the state of cultural training in international corporations in Thailand; to study patterns, processes and major attributes of cultural training programs; to examine Thai values and sources of information presented in the training and self-study packages; to survey foreign workers' opinions and satisfaction towards cultural training and to study influential factors in organizing cultural training programs. This study used multiple methodologies: survey and documentary research. 76 international corporations were surveyed by questionnaires and 16 in-depth interviews were conducted with the management and human resource development officers. In addition, training and self-study packages were analyzed. From the research, the results were found: 1. Among human resource development programs for expatriates in international corporations in Thailand, cultural training was most applied. It was found that 39.5% of responding organizations offered cultural training program. 2. The scope of cultural training program covered concepts about culture: "culture general" and "culture specific" (emphasizing Thai culture). Training contents also included details in cognitive, affective and behavioral domains. Most training focused on communication in Thai cultural context. Generally, more than 2 training techniques were integrated in the programs, mainly lecture and group discussion. Most cultural training was organized by training centers and trainers were Thais and foreigners as well as participants. The programs lasted 2-3 days and usually started when expatriates had some experiences working in Thailand. 3. The Thai values presented in cultural training program, mainly reflected from foreign perspectives, were seniority, non-confrontation, "Kreng-jai", relationship-oriented, and kindness, respectively. 4. Expatriates who ever participated in cultural training indicated that this type of training was important, and most of them were satisfied with the programs. Majority of expatriates who never participated in the program indicated that cultural training was necessary for foreigners working in Thailand. 5. Influential factors to cultural training in international corporations in Thailand included factors relating to individual, organizational and cultural levels. In general, the most influential factor was organizational policy.en
dc.format.extent813163 bytes-
dc.format.extent767614 bytes-
dc.format.extent977455 bytes-
dc.format.extent786692 bytes-
dc.format.extent1553780 bytes-
dc.format.extent990269 bytes-
dc.format.extent1007664 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.327-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมen
dc.subjectการฝึกอบรมทางวัฒนธรรมen
dc.subjectการศึกษาข้ามวัฒนธรรมen
dc.subjectค่านิยม -- ไทยen
dc.subjectวัฒนธรรมไทยen
dc.titleการฝึกอบรมทางวัฒนธรรมของบริษัทนานาชาติในประเทศไทยen
dc.title.alternativeCultural training of international corporations in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวาทวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.327-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mingkhwan_Sl_front.pdf794.1 kBAdobe PDFView/Open
Mingkhwan_Sl_ch1.pdf749.62 kBAdobe PDFView/Open
Mingkhwan_Sl_ch2.pdf954.55 kBAdobe PDFView/Open
Mingkhwan_Sl_ch3.pdf768.25 kBAdobe PDFView/Open
Mingkhwan_Sl_ch4.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Mingkhwan_Sl_ch5.pdf967.06 kBAdobe PDFView/Open
Mingkhwan_Sl_back.pdf984.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.