Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10400
Title: การเปิดรับข่าวสาร การสื่อสารในครอบครัว และการตัดสินใจในครอบครัวของคู่สามีภรรยา
Other Titles: Media exposure, family communication and family decision making of the couples
Authors: อัชณีภรณ์ นิลอรุณ
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Tanawadee.b@chula.ac.th
Subjects: สามีและภรรยา
การสื่อสารในครอบครัว
การเปิดรับข่าวสาร
การตัดสินใจ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเปิดรับข่าวสาร รูปแบบการสื่อสาร และการตัดสินใจในครอบครัวของคู่สามีภรรยา ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยเป็นสามีและภรรยากลุ่มละ 200 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล ประมวลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS นำเสนอผลวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ แสดงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการหาค่าสถิติแบบ t-test One way ANOVA และการหาค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีการของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปิดรับข่าวสารของคู่สามีภรรญาโดยรวมจากสื่อบุคคล และสื่อมวลชนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ รูปแบบการสื่อสารในครอบครัวทั้งแบบปิด แบบเปิดและแบบปล่อย โดยพบว่ามีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ กับรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวแบบปิด มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวแบบเปิด และระดับต่ำมาก กับรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวแบบปล่อย 2. การเปิดรับข่าวสารทั่วไปของคู่สามีภรรยา มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในครอบครัว โดยมีความสัมพันธ์กับสื่อบุคคลทุกประเภทในเชิงบวก และเป็นไปในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำถึงต่ำมาก ข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทวิทยุไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจ ส่วนสื่อมวลชนประเภทอื่นมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในทิศทางเดียวกัน และมีความสัมพันธ์ระดับต่ำมาก การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับครอบครัว กับการตัดสินใจในครอบครัวมีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อบุคคลทุกประเภท โดยมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของคู่สามีภรรยา เป็นไปในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำถึงต่ำมาก 3. รูปแบบการสื่อสารในครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับการตัดสินใจในครอบครัวของคู่สามีภรรยาแบบปิดในระดับต่ำมาก แบบเปิดในระดับต่ำ และแบบปล่อยในระดับต่ำมาก 4. คู่สามีภรรยาที่มีลักษณะทางประชากรต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารทั่วไป และข่าวสารเกี่ยวกับครอบครัวแตกต่างกันตามสถานภาพความเป็นสามีภรรยา ระยะเวลาในการสมรส และจำนวนคนในครอบครัว ลักษณะทางประชากร 5. คู่สามีภรรยาที่มีลักษณะทางประชากรต่างกัน มีรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวต่างกันตามสถานภาพความเป็นสามีภรรยา อายุ ระยะเวลาการสมรสและระดับการศึกษา 6. คู่สามีภรรยาที่มีลักษณะทางประชากรต่างกัน มีการตัดสินใจในครอบครัวต่างกัน ตามสถานภาพความเป็นสามีภรรยาและระดับการศึกษา
Other Abstract: To study media exposure, famila communication and family decision making of the couples in Bangkok. Questionnaire was used to collect data from 200 husbands and 200 wives (400 subjects in total) which were randomly selected. Percentage, means, t-test, Pearson's Product Moment Correlation Coefficient and One way ANOVA were used to analyze data through SPSS/PC Computer program. Findings: 1. Information exposure of the couples through both interpersonal contact and mass media was positively correlated with communication patterns in closed family system, open family system, and random family system. The correlation is small in closed family system, moderate in open system and very small in random family system. 2. Exposure to general information and family matters of the couples was positively correlated with family decision making. The correlation with all types of interpersonal media was relatively small. exposure to radio was not related to family decision making. The correlation of all types of mass media with the couple decision making was small to very small. 3. Types of family communication were positively correlated with family decision making. However, the correlation is very small in the closed family system, and random family system, and small in open family system. 4. The couples with demographic differences in marital status, duration of marriage, number of family members were different in exposure to general information and family matters. 5. The couples with demographic differences in terms of marital status, age, marriage duration, and eduction background are different in types of family communication. 6. The couples with demographic differences in terms of marital status and education background had different decision making cocerning family matters.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10400
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.349
ISBN: 9743349154
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.349
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atchaneeporn_Ni_front.pdf770.45 kBAdobe PDFView/Open
Atchaneeporn_Ni_ch1.pdf785.9 kBAdobe PDFView/Open
Atchaneeporn_Ni_ch2.pdf951.86 kBAdobe PDFView/Open
Atchaneeporn_Ni_ch3.pdf744.83 kBAdobe PDFView/Open
Atchaneeporn_Ni_ch4.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Atchaneeporn_Ni_ch5.pdf987.83 kBAdobe PDFView/Open
Atchaneeporn_Ni_back.pdf918.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.