Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10507
Title: | การคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกล่าวหาในกฎหมายระหว่างประเทศ : ผลกระทบต่อประเทศไทย |
Other Titles: | Protection of the rights of the accused under international law : implications for Thailand |
Authors: | อินทนิน เนื่องเนาวรัตน์ |
Advisors: | วิทิต มันตาภรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vitit.M@chula.ac.th |
Subjects: | สิทธิผู้ต้องหา วิธีพิจารณาความอาญา สิทธิมนุษยชน กระบวนการยุติธรรมทางอาญา |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาถึงมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในกฎหมายไทย โดยศึกษาจากบทบัญญัติของกฎหมาย รวมทั้งกลไกและการบังคับเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกล่าวหา และสภาพการณ์เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในปัจจุบัน ผลจากการวิจัยพบว่า มาตรฐานการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในกฎหมายระหว่างประเทศมีประสิทธิภาพมากกว่าการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในกฎหมายไทย ในแง่ของบทบัญญัติของกฎหมายไทยนั้นมีการบัญญัติไว้ในภาพรวมดีแล้ว ยกเว้นในบางเรื่อง เช่น สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือด้านทนายความในชั้นสอบสวน และเมื่อศึกษาสภาพการณ์ในปัจจุบันแล้ว พบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากกลไกและการบังคับเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการวิจัยจึงเห็นว่าควรจะมีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายไทยในบางเรื่อง ได้แก่ สิทธิของผู้ต้องหาที่จะได้รับความช่วยเหลือด้านทนายความ สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่จะเลือกทนายความที่รัฐจัดหาให้ คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทย์ฟ้องหากมีผู้ร้องขอต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องก่อน และควรเพิ่มสิทธิการเลือกตั้งของผู้ต้องขัง ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงสิทธิของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วย รวมทั้งมีการจัดตั้งองค์กรที่มีอิสรภาพเพื่อตรวจสอบการทำงานของกลไกต่างๆ และรัฐต้องเพิ่มงบประมาณและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ให้สมดุลกับภาระงานที่เพิ่มขึ้น |
Other Abstract: | Studies the standards for protecting the rights of the accused under international law in comparison with the rights thereof under Thai laws. This research is based on provisions of laws, mechanisms, and enforcement, as well as current situation reqarding protection of the rights of the accused. It is found that the standards for protecting the rights of the accused under international law are higher than those under Thai laws. Thai laws already guarantee quite well all the rights with the exception of the right to a lawyer during the inquiry period, but there are many problems concerning inefficient mechanisms and ecforcement. It is recommended that Thai laws be amended in order to ensure the rights of the accused to access a lawyer, to choose a lawyer appointed by the Government, to request inquiries even in case where the public prosecutor is the plaintiff, and to vote during the detention period. The rights of government officials should be recognized at the same time. Besides, an independent agency should be set up to check all the mechanisms. The Government should also increase the budget and manpower to support the mission. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10507 |
ISBN: | 9741722583 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Intanin.pdf | 7.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.