Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1096
Title: กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และประสิทธิผลของโครงการอาหารปลอดภัย ของกระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: Public relations strategy and effectiveness of the food safety campaign under The Ministry of Public Health
Authors: พิริยาภรณ์ แววจินดา
Advisors: จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Jitraporn.S@chula.ac.th
Subjects: โครงการอาหารปลอดภัย--การประชาสัมพันธ์
สุขาภิบาลอาหาร
การเปิดรับข่าวสาร
การวิเคราะห์และประเมินโครงการ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่ใช้ในการรณรงค์โครงการอาหารปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข และประสิทธิผลของโครงการดังกล่าว โดยศึกษาจากการเปิดรับข่าวสารความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยของกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 421 คน โดยแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ การศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ โดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึก ส่วนที่สองคือ การศึกษาประสิทธิผลโครงการรณรงค์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ในการประมวลผล ผลการศึกษา พบว่า กลยุทธ์หลักของการประชาสัมพันธ์ในโครงการดังกล่าว คือ การใช้สื่อมวลชน ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อหนังสือพิมพ์และสื่อวิทยุ และการใช้กลยุทธ์สร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนัก เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย ในส่วนของประสิทธิผลโครงการรณรงค์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารโครงการอาหารปลอดภัยในระดับปานกลาง มีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยในระดับสูง มีความตระหนักในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยในระดับสูงมาก และมีพฤติกรรมในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า 1. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการอาหารปลอดภัย ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ของประชาชนในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย 2. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการอาหารปลอดภัย ไม่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักของประชาชนในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย 3. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการอาหารปลอดภัย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยของประชาชน 4. ความรู้ของประชาชนในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
Other Abstract: The purposes of this research were to study the public relations strategies and effectiveness in Food Safety Campaign conducted by the Ministry of Public Health. The research methodology was an integration of qualitative and quantitative approaches. The samples under study were director and officials of the Ministry of Public Health, and 421 Bangkok inhabitants. The findings were as follow : - 1. The principal public relations strategies used were mass media. They were television, newspapers, and radio respectively ; 2. The samples were very strongly aware of food safety selection. Their knowledge and behavior in food safety selection were high whereas their information exposure was moderate ; 3. There was no correlation of the information exposure and knowledge as well as the information exposure and awareness of food safety selection of the samples under study ; 4. The information exposure positively correlated with the behavior of the samples in food safety selection as hypothesized ; 5. The knowledge positively correlated with the behavior of the samples in food safety selection as hypothesized.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1096
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.29
ISBN: 9745313548
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.29
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piriyaporn.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.