Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11143
Title: | วัฒนธรรมไทย กับการรับรู้หลักการและพฤติกรรมในการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน |
Other Titles: | Thai culture and the perception of the right of privacy principle and privacy right violation |
Authors: | พัฒน์รพี เล้าตระกูล |
Advisors: | ดวงกมล ชาติประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Duangkamol.C@chula.ac.th |
Subjects: | สิทธิส่วนบุคคล -- ไทย วัฒนธรรมไทย |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาว่า วัฒนธรรมไทยมีผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ รวมถึงศึกษาการรับรู้หลักการและพฤติกรรมในการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน โดยวิธีการ เก็บข้อมูลใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน และการวิจัย เชิงปริมาณโดยแจกแบบสอบถามแก่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่าวัฒนธรรมไทย ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่การไม่ยึดมั่นในกฎเกณฑ์และวัฒนธรรม สิทธิร่วมกัน ส่วนวัฒนธรรมบอกกล่าว ค่านิยมเคารพผู้อาวุโสและความเชื่อในพระพุทธศาสนา พบว่า ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน ในด้านการรับรู้และพฤติกรรมของ ประชาชนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล พบว่า การรับรู้หลักการในเรื่องสิทธิส่วนบุคคลไม่ส่งผลต่อ พฤติกรรมการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เนื่องจากในกรณีต่างๆที่ยกมาเป็นกรณีศึกษา ประชาชนจะรับรู้ ว่าถ้าทำพฤติกรรมเช่นนี้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่ในทางปฏิบัติประชาชนก็ยังปฏิบัติ พฤติกรรมเช่นนั้นอยู่ สำหรับสถานภาพของประชาชน พบว่า ความแตกต่างเรื่องเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนและอาชีพไม่มีผลต่อการรับรู้ในเรื่องละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่ในส่วนของพฤติกรรม พบว่า ความแตกต่างด้านอายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนและอาชีพมีผลต่อพฤติกรรมการละเมิด สิทธิส่วนบุคคลของประชาชน มีเพียงความแตกต่างในเรื่องเพศเท่านั้นที่ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน |
Other Abstract: | The purpose of this research is to study whether Thai culture has an effect on privacy right violation, including the study of the perception of the right of privacy principle. The gathering data methods that are used in this research are in-depth interview with 30 samples and quantity-based research, survey of 400 Bangkok residents. Results of the research show that Thai culture that has an effect on privacy right violation is an irresponsibility to follow rules & regulations and collectivism culture. In the area of people's perception and behavior towards privacy right violation, the research shows that the perception of the information on privacy right violation does not have an effect on people's privacy right violation behavior. For the case being studied, people knew what behaviors will violate other people's privacy right but they committed the violation. Regarding socio – economic factors, the research shows that differences of sex, age, educational degree, monthly income and occupation do not have an effect on the perception of privacy right violaion. However, Regarding people's behavior sex is the only factor that does not have an effect on people' behavior on privacy right violation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วารสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11143 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.931 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.931 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patrapee.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.