Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11222
Title: บทบาทด้านสังคมประกิตของนักจัดรายการเพลงไทยสากล
Other Titles: Role of disc jockey of Thai popular music in socialization
Authors: วีระ พักตร์วัฒนการ
Advisors: จาระไน แกลโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Jaranai.G@chula.ac.th
Subjects: สังคมประกิต
นักจัดรายการวิทยุ
การจูงใจ (จิตวิทยา)
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาบทบาทด้านสังคมประกิตของนักจัดรายการเพลงไทยสากล จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 90 คน โดยศึกษาจากตัวแปรการสังคมประกิต ลักษณะประชากร รูปแบบดำเนินชีวิต แรงจูงใจ และวิธีการให้ข่าวสาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า t-test One Way ANOVA Scheffe' และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันซึ่งประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สรุปผลการวิจัยได้ดังต่อไปนี้ 1. นักจัดรายการเพลงไทยสากลที่มีเพศ อายุ การศึกษา รายได้ต่างกัน มีแรงจูงใจในการให้ข่าวสารด้านสังคมปรกิตไม่แตกต่างกัน 2. รูปแบบการดำเนินชีวิต (กิจกรรม ความสนใจ ความคิดเห็น) ของนักจัดรายการเพลงไทยสากล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแรงจูงใจในการให้ข่าวสารด้านสังคมประกิต 3. รูปแบบการดำเนินชีวิต (กิจกรรม ความสนใจ ความคิดเห็น) ของนักจัดรายการเพลงไทยสากล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประเภทของข่าวสารด้านสังคมประกิตที่ให้ผ่านรายการวิทยุ 4. นักจัดรายการเพลงไทยสากลที่มีอายุต่างกันมีวิธีการให้ข่าวสารด้านสังคมประกิตประกิตประเภทอ่านจากต้นฉบับแตกต่างกัน 5. กิจกรรมและความสนใจของนักจัดรายการเพลงไทยสากลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับวิธีการให้ข่าวสารด้านสังคมประกิต แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของนักจัดรายการเพลงไทยสากลกับวิธีการให้ข่าวสารด้านสังคมประกิต 6. พบความสัมพันธ์เชิงบวกและเชิงลบระหว่างข่าวสารด้านสังคมประกิตกับวิธีการให้ข่าวสาร
Other Abstract: The research is a survey on 90 disc jockeys of Thai popular music to examine their role on socialization among demographic variables, lifestyle, personal motive and method of speech. The data was analyzed in term of frequency, percentage, mean, t-test, One Way ANOVA, Scheffe' and Pearson Product Moment Correlation Coefficient with SPSS statistical package. The results of the research could be summed up as follows: 1. The motive terms in distribution of message that socialize people through radio music program are not found to be significant varied by sex, age, education and income. 2. Significant positive correlation is found among lifestyle (AlOs) and motives terms of DJ. in distribution of message of socialization. 3. There is significant positive correlation among lifestyle (AlOs) and some categories of message of socialization. 4. The DJ. of different age groups contributes different style of message of socialization delivery through the technique of reading from manuscript. 5. Socialization message correlates with part of AlOs characteristics namely favorite activities and interests and technique of verbal announcing but no correlation is found among opinious and verbal announcing that yields socialization message. 6. There are significant positive and negative correlations among categories of message that contributes socialization and technique of verbal announcing
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11222
ISBN: 9743323015
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Veera_Pa_front.pdf834.5 kBAdobe PDFView/Open
Veera_Pa_ch1.pdf753.02 kBAdobe PDFView/Open
Veera_Pa_ch2.pdf972.36 kBAdobe PDFView/Open
Veera_Pa_ch3.pdf756.62 kBAdobe PDFView/Open
Veera_Pa_ch4.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Veera_Pa_ch5.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Veera_Pa_back.pdf839.3 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.