Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1124
Title: | กระบวนการสื่อสารในการรณรงค์เรื่องยาเสพติดระดับชุมชน ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี |
Other Titles: | Communication process of community campaigns for war on drugs in Bangkurat Bangbuathong Nonthaburi |
Authors: | ศุภรัชต์ ปิยวัชรพันธุ์, 2516- |
Advisors: | ปาริชาต สถาปิตานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Parichart.S@chula.ac.th |
Subjects: | ยาเสพติด -- การควบคุม การสื่อสาร |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารในการรณรงค์เรื่องยาเสพติดระดับชุมชน, กลยุทธ์การสื่อสารของแกนนำชุมชนในการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในการรณรงค์เรื่องยาเสพติดระดับชุมชนและปัจจัยที่นำไปสู่ความร่วมมือของพันธมิตรในการรณรงค์เรื่องยาเสพติดระดับชุมชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญในพื้นที่จำนวน 24 คน ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการสื่อสารในการรณรงค์เรื่องยาเสพติดระดับชุมชน แบ่งออกเป็น 3 ช่วง 1. ช่วงจุดประกายรณรงค์ในชุมชนโดยแกนนำชุมชน (2541- 2543) มีผู้ริเริ่มและแกนหลัก คือ นายวันเพ็ญ เกตุอ่ำ, นายพรพิชัย ดิสโร ร่วมกับเจ้าอาวาสวัดเต็มรักพัฒนา โดยมีพันธมิตรหลักคือ อาสาสมัครในชุมชน เป้าหมายในการสื่อสาร คือ ปกป้องถิ่นฐานบ้านเกิดจากมหันตภัยยาเสพติด วัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นชุมชนให้เกิดความตื่นตัวเรื่องวิกฤตยาเสพติดและกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการร่วมแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วย ความห่วงใยลูกหลานที่เป็นอนาคตของชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คือ ชาวชุมชนเพื่อหาพันธมิตรแนวร่วม 2. ช่วงนโยบายสงครามยาเสพติดของรัฐบาลระยะที่ 1 (2544- 2546) แกนหลักคือ นายวันเพ็ญ เกตุอ่ำ, นายพรพิชัย ดิสโรและเจ้าอาวาสวัดเต็มรักพัฒนา โดยมีพันธมิตรคือ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, ผู้นำชุมชน (กำนันผู้ใหญ่บ้าน), เจ้าหน้าที่ภาคการศึกษา และองค์กรธุรกิจ เป้าหมายในการสื่อสารคือปกป้องถิ่นฐานบ้านเกิดจากมหันตภัยยาเสพติดและเป็นแนวร่วมรัฐบาลในการทำสงครามยาเสพติด กลุ่มเป้าหมาย คือ พันธมิตรเพื่อความร่วมมือและประชาชนทั่วไป 3. ช่วงนโยบายสงครามขั้นแตกหักกับยาเสพติดของรัฐบาล (2546) แกนหลัก คือ นายวันเพ็ญ เกตุอ่ำ, นายพรพิชัย ดิสโร, นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร, เจ้าอาวาสวัดเต็มรักพัฒนา, กำนันผู้ใหญ่บ้านทั้งสิบหมู่ เป้าหมายหลักในการสื่อสาร ยังคงเหมือนช่วงที่ 2 และ การสร้างชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติดยั่งยืนถาวรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในหลวง กลุ่มเป้าหมาย คือ พันธมิตรเพื่อความร่วมมือและชาวชุมชนทั้งหมด ทั้งชาวบ้านดั้งเดิมและชาวหมู่บ้านจัดสรร โดยแกนนำชุมชนทำหน้าที่ประสานกับกลุ่มต่างๆ ในการรณรงค์โดยเน้นหนักเรื่อง การกระตุ้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้น โดยสื่อสารผ่านช่องทางการสื่อสารคือ การบูรณาการทุกสื่อที่มีอยู่ในชุมชน อาทิ สื่อบุคคล ผ่าน การสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกิจกรรม และสื่อเฉพาะกิจ อันนำไปสู่ความร่วมมือของชุมชนในการแก้ปัญหาและสร้างชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติด กลยุทธ์การสื่อสารของแกนนำชุมชนบางคูรัด เน้น 3 ด้าน คือ 1.บุคคล 2. สาร 3. ช่องทางการสื่อสารในการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร ในทั้ง 3 ช่วงของการรณรงค์ มีจุดร่วม คือ เน้นการใช้บุคคลที่มีความน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจ โดยใช้ผู้ส่งสารที่เป็นผู้นำชุมชนและ เจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมกับ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ; กลยุทธ์ด้านสารมีการใช้เนื้อหาแสดงความน่ากลัว การใช้เหตุผลในการนำเสนอข้อมูลช่วงที่ 2 เสริมใช้เนื้อหาเป็นแบบเอื้ออาทร การให้ความรัก ความเข้าใจและโอกาสในการกลับคืนเป็นคนดีของสังคมโดยไม่ซ้ำเติมกัน ช่วงที่ 3 เนื้อหาสารเข้มข้นกว่าช่วงที่ 2 ในประเด็นเดียวกันและตอกย้ำความจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์ กลยุทธด้านสื่อ ทั้งสามช่วงของการรณรงค์มีจุดร่วมคือ กลยุทธ์การบูรณาการใช้สื่อทุกสื่อที่มีอยู่ในชุมชน ประกอบด้วย สื่อบุคคล สื่อกิจกรรมชุมชน การใช้ อบต. โดยทั้งสามช่วง มีการสื่อสารแบบ Horizontal เป็นตัวขับ เน้นการรณรงค์การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม เริ่มจากการสร้างความรู้สึกร่วมกระตุ้นจิตสำนึก สู่การรวมพลังเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติด ปัจจัยที่นำไปสู่ความร่วมมือของพันธมิตรในการรณรงค์เรื่องยาเสพติดระดับชุมชนแบ่งออกเป็น1.ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยภายในระดับบุคคล ประกอบด้วย ความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน ความศรัทธาต่อบุคคลที่เป็นที่นับถือ ความเกรงใจที่มีต่อบุคคลที่เคารพโดยตำแหน่งหรือเกียรติยศและความรู้สึกห่วงและกังวลต่ออนาคตลูกหลาน ปัจจัยภายในระดับชุมชน ประกอบด้วย ความใกล้ชิดและเครือข่ายสื่อสารในชุมชน ช่องทางการสื่อสารที่เน้นการมีส่วนร่วม เจตนารมณ์และความทุ่มเทของแกนนำในการแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน ควาใกล้ตัวของปัญหายาเสพติด ความสนใจและความเป็นห่วงร่วมกันของคนในชุมชนและความตกลงร่วมกันที่จะแก้ปัญหาชุมชน 2. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายรัฐบาลและกลไกสนับสนุนจากภาครัฐทั้งด้านนโยบาย งบประมาณ บุคลากร และปัจจัยด้านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ |
Other Abstract: | The objective of this research is to study the communication process of community campaigns for war on drugs , the communication strategies of campaigns leaders to encourage the alliances of the community , the characteristic and factors leading to communitys ties , attachment , involvement and co-operation among community by means of qualitative research. In-depth interviews with 24 key informants were used to complete this study. The results of the research are as followings : The communication process of community campaigns can be described in 3 periods : Phrase 1 The Sparkling of community campaigns by insiders Mr.Wanper Ket- Am , Mr.Pompichai Dissaro and the Chief Monk of Temrak Pattana Temple along with core alliance in the community using key messages of community- based campaigns for the love of homeland , the care of local people being harmed by drugs and mobilizing people of Bangkurat to stand up and show spirits by giving hands. The interaction of Bangkurat members is two- way interpersonal communication both officially and non- officially including community activities. Phrase 2 The Governments War on Drugs Campaigns (2544- 2546) Key Players are Mr.Wanpen Ket-Am, Mr.Pornpichai Dissaro along with the Chief Monk of Temrak Pattana Temple teamed with government officials. Key messages aimed at terminating drugs crisis and promoting sustainable drug free community. Channels of communication are integrated community-based media via the existed way in the community to the public and seeked for more allies supporting community campaigns. Phrase 3 The Governments War on Drugs Campaigns (2546) Campaigns leaders are Mr.Wanpen Ket-Am, Mr.Pornpichai Dissaro, Mr.Supot Puti Kiatkajorn, Chief Monk of Temrak Pattana Temple, Village Chiefs. Key messages focus on the loyalty & contribution to the King on his birthday by building a sustainable drug-free community, the cooperation with government policy of war against drugs and the demonstration of community power to fight against drugs crisis. Integrated communicationchannels in the community have been used such as community activity, interpersonal communication, printed media and particular community media have been utilized to hit the coorperation of alliance and community members. The communication outcome : Community Campaign in Bangkurat in Phrase 1 was successfully participated by local people.However, others that are new members of the community tended to be on the same side during Phrase 2-3 due to the government policy of community empowerment. The Communication Strategies of campaigns leaders during 3 phrases of the campaigns against during 3 phrases of the campaigns against drugs have certain commonness by focusing on sender strategies using credible, realiability and trustworth ness presenter style. The messages aimed at motivating using fear & rational appeal and psychological approach. Integrated community media and participation communication have been chosen for the particular circumstances. That consists of interpersonal communication, community activity, information centre, print media and mobile community broadcast. The Factors leading to community involvement and cooperation among community alliance can be described as 1) Internal factors : Personal Level and Community Level 2) External factors : Government Policy and Government Supportive Functions and The mass medias. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1124 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.24 |
ISBN: | 9741756305 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.24 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
supparatch.pdf | 4.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.