Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1133
Title: ผลของการอ่านข่าวออนไลน์ที่มีรูปแบบการจัดเรียงสารแบบเป็นลำดับและไม่เป็นลำดับต่อความเข้าใจ ความจำ และความพึงพอใจของผู้อ่าน
Other Titles: Effect of linear and Non-linear writing styles on readers' comprehension, recall, and satisfaction of news stories
Authors: วราภรณ์ กุลสมบูรณ์, 2522-
Advisors: ดวงกมล ชาติประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.C@chula.ac.th
Subjects: หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
ความพอใจ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่า รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของข่าวออนไลน์ ซึ่งได้แก่ รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาแบบเป็นลำดับ (linear form) และไม่เป็นลำดับ (non-linear form) ส่งผลต่อความเข้าใจ ความจำ และความพึงพอใจของผู้อ่านอย่างไร การวิจัยนี้ประกอบด้วยการทดลอง 2 ครั้ง คือ การทดลองครั้งแรก ให้ผู้ร่วมทดลองอ่านข่าวออนไลน์ประเภทข่าวหนัก (hard news) และข่าวเบา (soft news) ซึ่งนำเสนอเนื้อหาด้วยรูปแบบที่แตกต่างกัน คือ นำเสนอเนื้อหาแบบเป็นลำดับและไม่เป็นลำดับ มีผู้ร่วมทดลอง 120 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 30 คน โดยกำหนดให้ผู้เข้าร่วมทดลองเลือกอ่านข่าวจากประเภทข่าวที่ตนเองสนใจก่อน แล้วจึงเลือกอ่านข่าวความสนใจของตนเองคนละ 2 ข่าว ส่วนการทดลองครั้งที่ 2 จัดให้ผู้ร่วมทดลองที่มีวัยต่างกัน คือ วัยเด็ก (อายุน้อยกว่า 18 ปี) และวัยผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 36 ปีขึ้นไป) อ่านข่าวออนไลน์ซึ่งนำเสนอเนื้อหาด้วยรูปแบบที่ต่างกัน คือ นำเสนอเนื้อหาแบบเป็นลำดับและไม่เป็นลำดับ มีผู้ร่วมทดลอง 60 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 15 คน และกำหนดให้ผู้เข้าร่วมทดลองเลือกอ่านข่าวออนไลน์ตามความสนใจของตนเองคนละ 2 ข่าวโดยไม่จำกัดประเภทข่าว ในการทดลองทั้ง 2 ครั้ง เมื่อผู้เข้าร่วมทดลองอ่านข่าวออนไลน์เสร็จ ให้ผู้ร่วมทดลองทำแบบทดสอบความเข้าใจ ความจำและแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อและความพึงพอใจการอ่านข่าวออนไลน์ ผลการทดลองพบว่า 1. รูปแบบการนำเสนอข่าวออนไลน์ที่แตกต่างกันไม่ส่งผลให้ผู้อ่านข่าวมีความเข้าใจเนื้อหาข่าวแตกต่างกันขณะเดียวกันม่พบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการนำเสนอข่าวออนไลน์กับประเภทข่าว และระหว่างรูปแบบการนำเสนอข่าวออนไลน์กับวัยของผู้อ่าน 2. รูปแบบการนำเสนอข่าวออนไลน์ที่แตกต่างกันส่งผลให้ผู้อ่านข่าวระลึกเนื้อหาข่าวได้แตกต่างกันในการทดลองครั้งที่ 1 ขณะเดียวกันไม่พบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการนำเสนอข่าวออนไลน์กับประเภทข่าว และไม่พบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการนำเสนอข่าวออนไลน์กับวัยของผู้อ่าน 3. รูปแบบการนำเสนอข่าวออนไลน์ที่แตกต่างกันส่งผลให้ผู้อ่านข่าวมีความพึงพอใจการนำเสนอเนื้อหาข่าวแตกต่างกัน ดังนี้คือ ในการทดลองครั้งที่ 1 พบว่า ผู้อ่านข่าวออนไลน์พึงพอใจการนำเสนอเนื้อหาข่าวโดยรวมของเว็บไซต์ข่าวออนไลน์แบบไม่เป็นลำดับมากกว่าข่าวออนไลน์แบบเป็นลำดับ นอกจากนั้นพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการนำเสนอข่าวออนไลน์กับประเภทข่าวซึ่งส่งผลต่อความพึงพอใจการควบคุมการเดินทางบนเว็บไซต์ของผู้อ่าน ขณะที่ในการทดลองครั้งที่ 2 พบว่า ผู้อ่านที่มีวัยแตกต่างกันจะพึงพอใจการจัดวางเนื้อหาประเภทตัวอักษรและการนำเสนอเนื้อหาประกอบข่าวอื่น ๆ ในข่าวออนไลน์แบบไม่เป็นลำดับมากกว่าข่าวออนไลน์แบบเป็นลำดับ และพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการนำเสนอข่าวออนไลน์กับการหลงทางขณะอ่านข่าวของผู้อ่านที่มีวัยแตกต่างกัน
Other Abstract: The objective of this experimental research is to study how the on-line news writing styles, namely the linear and non-linear forms, affect readers' comprehension, recall, and satisfaction. Two experiments were administered. In the first experiment, 120 subjects were asked to read hard news and soft news written in the linear and non-linear forms. The subjects were divided into 4 groups of 30, then asked to read news according to the news types that interested them and news stories which they like after that. As for the second experiment, a sample of 60 from the different age groups, which are those under 18 years old and those over 36, were asked to read on-line news written in the linear and non-linear forms. They were divided into 4 groups of 15 and asked to read on-line news stories of preference, regardless of the news types. After the subjects from both experiments finished reading, two tests, one measured comprehension and recall and the other media use behavior and satisfaction, were assigned to each of them to complete. Results show that: 1. The different on-line news writing styles do not have an effect on the readers' comprehension. In addition, no interaction is found between the writing styles and the news types as well as the writing styles and age. 2. The different on-line news writing styles cause the readers to recall the news stories differently in the first experiment. Besides, there is no interactive effect between the writing styles and age. 3. The different on-line news writing styles affect the readers' satisfaction of news stories. In the first experiment, the on-line news readers are more satisfied with the overall linear writing styles of on-line news websites than the non-linear. Moreover, there is an interaction between the writing styles and the news types which affects the readers' satisfaction in their navigation controlling ability. In the second experiment, the readers from the different age groups are more satisfied with the positioning of text and other contents relating to the news stories in the non-linear than the linear. Another interaction takes place between the writing styles and disorientation of the readers from different age groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1133
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1140
ISBN: 9745321435
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1140
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.